ดูโค้ดสำหรับ นกสีชมพูสวน
←
นกสีชมพูสวน
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
[[ไฟล์:Dicaeum cruentatum01.jpg|right]] '''วงศ์''' : Pellorneidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Dicaeum cruentatum'' (Linnaeus) 1758.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Scarlet-backed flowerpecker<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : -<br> มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Dicaeum cruentatum'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ cruentatus (cruent และ –tus) แปลว่าสีแดงหรือสีเลือด ความหมายคือ “นกที่มีหลังสีแดง” พบครั้งแรกที่รัฐเบงกอลประเทศอินเดีย ทั่วโลกมี 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ Dicaeum cruentatum siamense Boden kloss ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือ จังหวัดนครราชสีมา และ Dicaeum cruentatum ignitum (Begbie) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ ignites (ign, -e, -i) แปลว่าสีแดงเพลิง ความหมายคือ “นกที่มีหลังสีแดงเพลิง” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย '''กระจายพันธุ์''' <br> ตั้งแต่อินเดียตอนเหนือ จีนตอนใต้ เกาะไหหลำ จนถึงเกาะบอร์เนียวและเกาะสุมาตรา '''ลักษณะทั่วไป'''<br> เป็นนกขนาดเล็กมาก (9 ซม.) ตัวเต็มวัยทั้งสองเพศกลางลำตัวด้านล่างมีแถบสีขาวแกมสีเนื้อ ตัวผู้ลำตัวด้านบนสีแดง ปีก หาง หัวด้านข้าง และลำตัวเป็นสีดำ ตัวเมียแตกต่างจากนกกาฝากอื่น ๆ โดยตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีแดง ตัวไม่เต็มวัยแทบไม่แตกต่างจากนกกาฝากสีเรียบยกเว้นมีแต้มสีส้มอ่อนบริเวณตะโพกและขนคลุมโคนขนหางด้านบนที่มีสีเขียวอ่อนถึงเขียว แต่มักมองไม่เห็นเมื่อดูในธรรมชาติ '''อุปนิสัยและอาหาร''' <br> พบตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ชายป่าดงดิบ ป่ารุ่น ทุ่งโล่ง และสวนผลไม้ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่ และอาจพบอยู่รวมกับนกชนิดอื่น ๆ เป็นนกที่ไม่ค่อยหยุดนิ่ง มักกระโดดจากกิ่งไม้หรือยอดไม้สลับบินไปยังต้นไม้อื่นเสมอ ขณะเกาะและกระโดดไปตามกิ่งไม้และยอดไม้มักร้องไปด้วย กินน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร โดยเฉพาะดอกกาฝากซึ่งติดอยู่ตามต้นไม้และพุ่มไม้ และผลไม้ โดยเฉพาะผลตะขบบ้าน โดยใช้ปากจิกกินเนื้อในผลแก่ แต่ยังไม่สุกงอมโดยไม่ทำให้ผลหลุดจากขั้ว นอกจากนี้ยังจิกกินแมลงและตัวหนอนตามกิ่งไม้และยอดไม้ โดยเฉพาะแมลงที่มาตอมดอกไม้ '''การผสมพันธุ์''' <br> ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนถึงฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนสิงหาคม ทำรังเป็นรูปกระเปาะห้อยตามกิ่งไม้ มีทางเข้าออกทางด้านข้างด้วยการนำดอกหญ้า ใบไม้ ใบหญ้า เส้นใยมะพร้าว และใยแมงมุมมาสานกันหรือเชื่อมให้ติดกันด้วยใยแมงมุมทั้งสองเพศช่วยกันหาวัสดุและสร้างรัง โดยทั่วไปรังกว้างประมาณ 6-7 ซม. ยาว 8-10 ซม. ปากทางเข้าออกกว้าง 3.0-3.5 ซม. หรือกว้างพอที่ตัวนกเข้าออกได้เท่านั้น รังอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 3-6 เมตร ปกติจะสร้างรังตามกิ่งไม้ที่มีใบแน่นทึบ ซึ่งบางครั้งทำให้มองเห็นได้ยาก '''ไข่''' <br> รังมีไข่ 3 ฟอง สีขาวนวล ไม่มีจุดหรือลาย ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 12.0x16.1 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่ ใช้เวลาฟักไข่ 12-13 วัน ลูกนกที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ มีรูปร่างเทอะทะ ยังไม่ลืมตา ไม่มีขนคลุมลำตัว ขาและนิ้วยังไม่แข็งแรงพอจะยืนหรือเดินได้ ทั้งสองเพศจะช่วยกันกกลูกให้ความอบอุ่น และหาอาหารมาป้อน ในระยะแรกการป้อนอาหารจะบ่อยมาก ประมาณ 5-10 นาทีต่อครั้ง ขณะที่ตัวหนึ่งไปหาอาหารมาป้อนลูก อีกตัวหนึ่งจะอยู่ภายในรังหรือเกาะอยู่ภายนอกรังคอยระวังไม่ให้ศัตรูมาทำร้ายได้ แต่บางครั้งก็ออกไปหาอาหารพร้อมกัน อาหารที่นำมาป้อนลูกนกส่วนใหญ่ได้แก่ ตัวหนอนและแมลง บางครั้งเป็นผลไม้ขนาดเล็ก เมื่อป้อนเสร็จแล้วจะรอรับของเสียลักษณะเป็นก้อนกลมที่ลูกนกถ่ายออกมา โดยลูกนกจะหันก้นไปทางปากรังแล้วถ่ายออกมา แล้วพ่อแม่นกจะคาบออกไปทิ้งนอกรัง ลูกนกอายุประมาณ 20 วัน จะมีขนคลุมเต็มตัวและบินออกจากรังได้ '''สถานภาพ''' <br> เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย siamense พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตก ชนิดย่อย ignitum พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป '''กฎหมาย''' <br> ยังไม่จัดเป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เนื่องจากกฎหมายระบุการเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองว่า “นกกาฝากทุกชนิดในวงศ์ (Family) Dicaeidae” โดยไม่กล่าวถึงนกสีชมพูสวนแต่อย่างใดทั้งที่เป็นนกในสกุลเดียวกัน ---- <center>[[ไฟล์:Dicaeum cruentatum02.jpg]] [[ไฟล์:Dicaeum cruentatum03.jpg]]</center> ---- '''แหล่งที่มาของภาพ'''<br> http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-202214-1.jpg<br> http://oknation.nationtv.tv/blog/home/user_data/album_data/201312/07/53173/images/476182.jpg<br> http://oknation.nationtv.tv/blog/home/blog_data/238/8238/images/Birds_Watching/DSC_10086.jpg<br>
กลับไป
นกสีชมพูสวน
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกก
นกกระจิบคอดำ
นกกระจิบธรรมดา
นกกระจิบหญ้าสีข้างแดง
นกกระติ๊ดเขียว
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระเต็นลาย
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกระปูดใหญ่
นกกวัก
นกกางเขนดง
นกกางเขนน้ำหลังแดง
นกกางเขนบ้าน
นกกาฝากก้นเหลือง
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาฝากอกสีเลือดหมู
นกกาฝากอกเหลือง
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอแดง
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีคอสีม่วง
นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน
นกกินปลีสีเรียบ
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินแมลงคอดำ
นกกินแมลงคอลาย
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าสีน้ำตาลแดง
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกกินแมลงปีกแดง
นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล
นกกินแมลงอกเหลือง
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยปีกสีเรียบ
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกขุนแผนอกสีส้ม
นกเขนน้อยไซบีเรีย
นกเขนน้อยปีกแถบขาว
นกเขาเขียว
นกเขาเปล้าธรรมดา
นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า
นกเขียวก้านตองเล็ก
นกเขียวก้านตองใหญ่
นกเขียวคราม
นกเขียวปากงุ้ม
นกคัคคูหงอน
นกเค้าเหยี่ยว
นกเงือกกรามช้าง
นกเงือกปากดำ
นกเงือกหัวหงอก
นกจอกป่าหัวโต
นกจับแมลงคอแดง
นกจับแมลงจุกดำ
นกจับแมลงปีกน้ำตาลแดง
นกจับแมลงสีคล้ำ
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาคอสีฟ้า
นกจาบคาหัวเขียว
นกจาบคาหัวสีส้ม
นกจาบดินหัวดำ
นกจาบดินอกลาย
นกชนหิน
นกแซงแซวเล็กเหลือบ
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกเด้าลมดง
นกเดินดงหัวสีส้ม
นกตะขาบดง
นกแต้วแล้วธรรมดา
นกแต้วแล้วลาย
นกแต้วแล้วอกเขียว
นกนางแอ่นแปซิฟิค
นกบั้งรอกเขียวอกแดง
นกบั้งรอกแดง
นกบั้งรอกปากแดง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดทอง
นกปรอดท้องสีเทา
นกปรอดสวน
นกปรอดสีน้ำตาลตาขาว
นกปรอดสีน้ำตาลตาแดง
นกปรอดหงอนตาขาว
นกปรอดหน้านวล
นกปรอดหลังเขียวอกลาย
นกปรอดหลังฟู
นกปรอดเหลืองหัวจุก
นกปรอดอกลายเกล็ด
นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล
นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ
นกปรอดโอ่งไร้หงอน
นกปลีกล้วยท้องเทา
นกปลีกล้วยปากหนา
นกปลีกล้วยเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่
นกพญาปากกว้างท้องแดง
นกพญาปากกว้างลายเหลือง
นกพญาปากกว้างเล็ก
นกพญาปากกว้างสีดำ
นกพญาไฟสีเทา
นกโพระดกคางแดง
นกโพระดกเคราเหลือง
นกโพระดกหน้าผากดำ
นกมุ่นรกสีน้ำตาล
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกสีชมพูสวน
นกหกเล็กปากแดง
นกหัวขวานจิ๋วคิ้วขาว
นกหัวขวานจิ๋วอกแดง
นกหัวขวานด่างแคระ
นกหัวขวานแดง
นกหัวขวานป่าไผ่
นกหัวขวานลายตะโพกเหลือง
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงถ้ำ
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เหยี่ยวดำท้องขาว
เหยี่ยวท้องแดง
เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา
เหยี่ยวผึ้ง
เหยี่ยวรุ้ง
ปรับปรุงล่าสุด
สุ่มหน้า
วิธีใช้
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า