ดูโค้ดสำหรับ นกกระปูดใหญ่
←
นกกระปูดใหญ่
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
[[ไฟล์:Centropus_sinensis01.jpg|right]] '''วงศ์''' : Cuculidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Centropus sinensis'' (Stephens) 1815.<br> '''ชื่อสามัญ''' : Greater coucal<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : นกกะปูดใหญ่ , Common coucal , Common crow pheasant , Large crow pheasant<br> นกกะปูดใหญ่มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Centropus sinensis'' ชื่อชนิดมาจากภาษาละตินสมัยใหม่คือ sinens แปลว่าแห่งประเทศจีน ซึ่งเป็นสถานที่ที่พบครั้งแรกทั่วโลกมีนกกะปูดใหญ่ 8 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อยคือ Centropus sinensis intermedius (Hume) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ inter แปลว่าระหว่าง และ medi, -a, -o แปลว่ากลางความหมายคือ “นกที่มีขนาดกลางหรือนกที่มีลักษณะระหว่างนก 2 ชนิดหรือ 2 ชนิดย่อย” พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า และ Centropus sinensis eurycercus Blyth ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ eury หรือ eurus แปลว่ากว้าง และ cerc, -o, =us หรือ kerkos แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางแผ่กว้าง” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย '''กระจายพันธุ์''' <br> ในอินเดีย จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และฟิลิปปินส์ '''ลักษณะทั่วไป''' <br> เป็นนกขนาดกลาง (50-53 ซม.) ปากหนาและโค้งเล็กน้อย คอสั้น ปีกแหลมยาวประมาณ 18 ซม. หางยาว ขาและนิ้วแข็งแรง ขาอยู่กึ่งกลางลำตัว ซึ่งแตกต่างจากนกชนิดอื่นที่มีขาอยู่ค่อนไปทางด้านท้ายของลำตัว เล็บของนิ้วหลังยาวกว่า 1.9 ซม. ปากสีดำ ตาสีแดง หัวและคอสีดำเหลือบน้ำเงิน หลังและปีกสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างและหางสีดำเหลือบน้ำเงิน ขาและนิ้วสีดำ ทั้งสองเพศมีลักษณะเหมือนกัน ตัวไม่เต็มวัยมีลักษณะคล้ายกับตัวเต็มวัย แต่บริเวณที่เป็นสีน้ำตาลแดงจะมีลายขีดสีดำและบริเวณที่เป็นสีดำจะมีลายขีดสีเทา ตาสีเทา ปากสีออกเหลืองหรือเทา '''อุปนิสัยและอาหาร''' <br> อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า ป่าละเมาะ บริเวณชายป่าที่ใกล้กับแหล่งน้ำ ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล นอกจากนี้ยังพบที่อยู่เป็นฝูง มีกิจกรรมในเวลากลางวัน ปกติมันหลบซ่อนตามกอหญ้าหรือพุ่มไม้เตี้ยที่แน่นทึบ ไม่ค่อยพบเกาะตามกิ่งของต้นไม้ใหญ่ในระดับสูง นกกะปูดใหญ่สามารถบินได้ดีปานกลางแต่มักบินในระดับต่ำระหว่างพุ่มไม้หรือพุ่มหญ้า ส่วนใหญ่มันกระโดดไปตามพื้นดินหรือกิ่งไม้พุ่มเตี้ยมากกว่า นกกะปูดใหญ่ร้อง “ปูด-ปูด-ปูด” 2-3 ครั้งต่อวินาที ติดต่อกันหลายวินาที มันร้องตลอดทั้งวันแต่ช่วงเช้าและเย็นจะร้องบ่อยกว่า เมื่อตัวใดตัวหนึ่งร้องอีกตัวหนึ่งจะร้องตอบ มันร้องเพื่อประกาศอาณาเขตดึงดูดเพศตรงกันข้าม หรือเพื่อให้เหยื่อออกจากที่ซ่อนเวลาต่อสู้กันนกกะปูดใหญ่จะกระโดดและพองขนคอตีกันคล้ายไก่ นกกะปูดใหญ่กินแมลงและสัตว์ขนาดเล็ก เช่น กบ เขียด งู ปลา กิ้งก่า เป็นต้น ส่วนใหญ่มันหากินใกล้แหล่งน้ำ เช่น แอ่งน้ำ บึง หนอง คลอง ห้วย โดยกระโดดไปตามพื้นดินหรือพุ่มไม้เตี้ย เมื่อพบเหยื่อก็ใช้ปากจิกกิน หากเหยื่อมีขนาดใหญ่ มันจะใช้<br> กรงเล็บช่วยจับเหยื่อ จากนั้นจึงใช้ปากฉีกเหยื่อออกเป็นชิ้น แล้วกลืนกินคล้ายพวกเหยี่ยว มันอาจออกหากินในที่โล่งแจ้งบ้างเป็นครั้งคราว '''การผสมพันธุ์'''<br> นกกะปูดใหญ่ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคมในช่วงนี้นกกะปูดใหญ่จะอยู่กันเป็นคู่และร้องเป็นประจำเมื่อจับคู่ผสมพันธุ์กันแล้ว ทั้งสองเพศจะช่วยกันหาวัสดุมาสร้างรัง นกกะปูดใหญ่ทำรังตามพงหญ้า กอไผ่และตามพุ่มไม้ โดยทั่วไปรังอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 1.5-3.5 เมตร เป็นรูปทรงกลม มีทางเข้าออกขนาดใหญ่ทางด้านข้าง วัสดุที่ใช้ทำรังส่วนใหญ่เป็นพวกต้นหญ้า อาจมีใบหญ้าและดอกหญ้าปะปน มันสร้างรังด้วยการโค้งและสานต้นหญ้าเป็นรูปทรงกลม ยึดกับต้นพงแขม หญ้า หรือกิ่งไผ่ บริเวณพื้นรังอาจมีใบไม้และวัสดุอื่นรองอีกชั้นหนึ่ง '''ไข่''' <br> รังมีไข่ 2-3 ฟอง มีลักษณะค่อนข้างกลม ผิวเรียบ สีขาว ไม่มีจุดหรือลาย มีขนาดเฉลี่ย 28.0x35.9 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันฟักไข่หลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ 23-24 วัน ลูกนกแรกเกิดมีผิวหนังสีดำ มีขนอุยสีขาวปกคลุมลำตัว ลืมตาได้ แต่ยังช่วยเหลือตนเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องช่วยกันกกให้ความอุ่นโดยให้ซุกใต้ปีกหรือใต้ท้อง และต้องช่วยกันหาอาหารมาป้อน เมื่อลูกนกเจริญเติบโตแข็งแรง และบินได้ดีแล้ว มันจะแยกจากพ่อแม่ไปหากินตามลำพัง ซึ่งใช้เวลาประมาณ 25-30 วันหรือมากกว่าเล็กน้อย '''สถานภาพ''' <br> นกกะปูดใหญ่เป็นนกประจำถิ่นพบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย intermedius พบทั่วทุกภาค ยกเว้นภาคใต้ตอนใต้ที่ติดต่อกับประเทศมาเลเซีย ส่วนชนิดย่อย eurycercus พบเฉพาะทางภาคใต้ตอนใต้ <br> ในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส '''กฎหมาย''' <br> กฎหมายจัดนกกะปูดใหญ่ทุกชนิดย่อยเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ---- <center>[[ไฟล์:Centropus_sinensis02.jpg]] [[ไฟล์:Centropus_sinensis03.jpg]]</center> ---- '''แหล่งที่มาของภาพ'''<br> https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/4/42/Greater_Coucal_(Centropus_sinensis)_in_Kolkata_I_IMG_3240.jpg<br> https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/65/Greater_Coucal_(Centropus_sinensis)_in_Hyderabad_W_IMG_8963.jpg<br> https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/6/66/Greater_Coucal_(Centropus_sinensis)_in_Hyderabad_W_IMG_8957.jpg<br>
กลับไป
นกกระปูดใหญ่
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกก
นกกระจิบคอดำ
นกกระจิบธรรมดา
นกกระจิบหญ้าสีข้างแดง
นกกระติ๊ดเขียว
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระเต็นลาย
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกระปูดใหญ่
นกกวัก
นกกางเขนดง
นกกางเขนน้ำหลังแดง
นกกางเขนบ้าน
นกกาฝากก้นเหลือง
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาฝากอกสีเลือดหมู
นกกาฝากอกเหลือง
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอแดง
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีคอสีม่วง
นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน
นกกินปลีสีเรียบ
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินแมลงคอดำ
นกกินแมลงคอลาย
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าสีน้ำตาลแดง
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกกินแมลงปีกแดง
นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล
นกกินแมลงอกเหลือง
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยปีกสีเรียบ
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกขุนแผนอกสีส้ม
นกเขนน้อยไซบีเรีย
นกเขนน้อยปีกแถบขาว
นกเขาเขียว
นกเขาเปล้าธรรมดา
นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า
นกเขียวก้านตองเล็ก
นกเขียวก้านตองใหญ่
นกเขียวคราม
นกเขียวปากงุ้ม
นกคัคคูหงอน
นกเค้าเหยี่ยว
นกเงือกกรามช้าง
นกเงือกปากดำ
นกเงือกหัวหงอก
นกจอกป่าหัวโต
นกจับแมลงคอแดง
นกจับแมลงจุกดำ
นกจับแมลงปีกน้ำตาลแดง
นกจับแมลงสีคล้ำ
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาคอสีฟ้า
นกจาบคาหัวเขียว
นกจาบคาหัวสีส้ม
นกจาบดินหัวดำ
นกจาบดินอกลาย
นกชนหิน
นกแซงแซวเล็กเหลือบ
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกเด้าลมดง
นกเดินดงหัวสีส้ม
นกตะขาบดง
นกแต้วแล้วธรรมดา
นกแต้วแล้วลาย
นกแต้วแล้วอกเขียว
นกนางแอ่นแปซิฟิค
นกบั้งรอกเขียวอกแดง
นกบั้งรอกแดง
นกบั้งรอกปากแดง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดทอง
นกปรอดท้องสีเทา
นกปรอดสวน
นกปรอดสีน้ำตาลตาขาว
นกปรอดสีน้ำตาลตาแดง
นกปรอดหงอนตาขาว
นกปรอดหน้านวล
นกปรอดหลังเขียวอกลาย
นกปรอดหลังฟู
นกปรอดเหลืองหัวจุก
นกปรอดอกลายเกล็ด
นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล
นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ
นกปรอดโอ่งไร้หงอน
นกปลีกล้วยท้องเทา
นกปลีกล้วยปากหนา
นกปลีกล้วยเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่
นกพญาปากกว้างท้องแดง
นกพญาปากกว้างลายเหลือง
นกพญาปากกว้างเล็ก
นกพญาปากกว้างสีดำ
นกพญาไฟสีเทา
นกโพระดกคางแดง
นกโพระดกเคราเหลือง
นกโพระดกหน้าผากดำ
นกมุ่นรกสีน้ำตาล
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกสีชมพูสวน
นกหกเล็กปากแดง
นกหัวขวานจิ๋วคิ้วขาว
นกหัวขวานจิ๋วอกแดง
นกหัวขวานด่างแคระ
นกหัวขวานแดง
นกหัวขวานป่าไผ่
นกหัวขวานลายตะโพกเหลือง
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงถ้ำ
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เหยี่ยวดำท้องขาว
เหยี่ยวท้องแดง
เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา
เหยี่ยวผึ้ง
เหยี่ยวรุ้ง
ปรับปรุงล่าสุด
สุ่มหน้า
วิธีใช้
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า