ดูโค้ดสำหรับ นกกวัก
←
นกกวัก
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
[[File:Amaurornis phoenicurus01.jpg|right]] '''วงศ์''' : Rallidae <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Amaurornis phoenicurus'' (Pennant) 1769.<br> '''ชื่อสามัญ''' : White-breasted waterhen<br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ''' : -<br> นกกวักมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า ''Amaurornis phoenicurus'' ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ phoeni, -c, -co, =x หรือ phoenix หรือ phoinikos แปลว่าสีม่วง สีม่วงแกมแดง หรือสีแดง และ ur, -a, -o หรือ ouros แปลว่าหาง ความหมายคือ “นกที่มีหางสีม่วงหรือม่วงแกมแดงหรือแดง” พบครั้งแรกที่ประเทศศรีลังกา ทั่วโลกมีนกกวัก 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Amaurornis phoenicurus chinensis (Boddaert) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือประเทศจีน บริเวณเกาะฮ่องกง '''กระจายพันธุ์''' <br> ในอินเดีย จีนตอนใต้เชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน ฮ่องกง หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะนิโคบาร์ หมู่เกาะซุนดา เกาะสุลาเวซี และฟิลิปปินส์ '''ลักษณะทั่วไป''' <br> เป็นนกขนาดเล็ก-กลาง (31-33 ซม.) ปากเรียวแหลมสีเขียว คอยาวปานกลางปีกกว้าง ปลายปีกมน ขายาวปานกลาง แข้งและนิ้วสีเขียว ตัวเต็มวัยกระหม่อม ท้ายทอย คอด้านบนและลำตัวด้านบนสีเทาดำ หน้าผาก หัวด้านข้าง คอด้านล่าง อก และท้องเป็นสีขาว ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างและหางด้านล่างสีน้ำตาลแดง ตัวไม่เต็มวัยลำตัวด้านบนสีน้ำตาล ลำตัวด้านล่างสีขาวหม่น '''อุปนิสัยและอาหาร''' <br> อาศัยและหากินตามแหล่งน้ำจืดและน้ำเค็มที่มีหญ้า กก อ้อ จูด หรือพืชอื่นขึ้นแน่น เช่น บึง หนอง คลอง คู อ่างเก็บน้ำ และทะเลสาบ ทุ่งนาและทุ่งหญ้าที่มีน้ำขัง ป่าชายเลน เป็นต้น มีกิจกรรมและหากินในช่วงเช้าตรู่ เย็นค่ำ และในเวลากลางคืน ช่วงกลางวันอาจมีกิจกรรมบ้างแต่ค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่จะพบมันเดินบนพืชลอยน้ำหรือพืชที่อยู่ในน้ำ บ่อยครั้งพบเดินบนบกทั้งใกล้และไกลจากแหล่งน้ำพอสมควร ไม่ค่อยพบมันว่ายน้ำทั้งที่มันว่ายและดำน้ำได้ดี เวลาเดินมักกระดกหางขึ้นลงเป็นจังหวะคล้ายนกอัญชัน นกกวักบินได้ดีปานกลาง แต่ไม่สูงและไม่ไกลมากนัก มันเกาะกิ่งไม้ได้ดีปานกลาง แต่ก็พบไม่บ่อย นอกจากเกาะขอนหรือกิ่งไม้ในแหล่งน้ำเวลามีศัตรูหรือสิ่งรบกวนมันมักเดินหรือวิ่งเข้าพงหญ้าซึ่งทำให้ศัตรูมองเห็นมันได้ยาก ปกตินกกวักจะอาศัยอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ แต่ในช่วงฤดูผสมพันธุ์มักพบเป็นคู่ ในช่วงนี้มักได้ยินเสียงร้อง “กวัก-กวัก” เป็นประจำ มันร้องเพื่อดึงดูดเพศตรงข้าม ประกาศอาณาเขต และเตือนภัยเมื่อมีศัตรู อาหาร ได้แก่ พืชและสัตว์ พืชส่วนใหญ่ ได้แก่ ข้าว หญ้า และธัญพืชต่าง ๆ บางครั้งกินพืชน้ำ เช่น จอกแหน สาหร่าย เป็นต้น สัตว์ส่วนใหญ่เป็นสัตว์น้ำและแมลง เช่น ลูกปลา กุ้ง ปู หอย เขียด ตั๊กแตน แมลงปอ ตัวหนอนของแมลงหลายชนิด เป็นต้น ส่วนใหญ่นกกวักหาอาหารด้วยการเดินไปตามกอพืช บนพืชลอยน้ำ บนดินหรือลุยน้ำที่ไม่ลึกมากนัก เมื่อพบอาหารจะใช้ปากจิกกิน บางครั้งมันใช้วิธียืนตามกอพืชหรือบนพืชลอยน้ำเพื่อคอยจ้องจิกกินสัตว์ที่ผ่านไปมาในน้ำ '''การผสมพันธุ์''' <br> นกกวักผสมพันธุ์เกือบตลอดปีแต่โดยมากจะเป็นช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนตุลาคม ก่อนทำรังมันจะแยกออกจากฝูงมาหากินตัวเดียวและร้องหาคู่ หลังจากจับคู่และผสมพันธุ์แล้วทั้งคู่จะช่วยกันหาวัสดุและสร้างรัง รังเป็นแบบง่าย ๆ สร้างบนกอหญ้าหรือตามพืชลอยน้ำโดยนำใบหญ้ากอหญ้าวางซ้อนกัน แล้วทำแอ่งตรงกลางเพื่อรองรับไข่โดยเฉลี่ยรังมีเส้นผ่านศูนย์กลางขอบนอก 20-25 ซม. ลึก 6-8 ซม. และอยู่สูงจากระดับน้ำหรือพื้นดิน 0.10-2.0 เมตร '''ไข่''' <br> รังมีไข่ 4-8 ฟอง มีรูปร่างลักษณะแตกต่างกันตั้งแต่ทรงกลมจนถึงรูปไข่ ผิวเรียบ สีขาวจนถึงน้ำตาลอ่อน มีจุดสีม่วงเทาหรือน้ำตาลทั่วฟอง แต่จะมีมากทางด้านป้าน มีขนาดเฉลี่ย 29.43x38.65 มม. ทั้งสองเพศผลัดกันฟักไข่ จะเริ่มฟักหลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายของรังแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 22-25 วัน ลูกนกจะออกจากไข่เองโดยใช้ฟันเจาะ เมื่อลูกนกออกจากไข่แล้วพ่อแม่นกจะคาบเปลือกไข่ไปทิ้งให้ไกลจากรังและกินเองบางส่วน เพื่อไม่ให้ศัตรูตามกลิ่นมาทำอันตรายลูกนกและไข่ที่เหลืออยู่ได้ ลูกนกแรกเกิดลืมตาได้ มีขนอุยสีดำปกคลุมทั่วตัว หลังจากนั้น 3-4 ชั่วโมงหรือเมื่อขนแห้งดีแล้วก็สามารถเดินได้ เมื่อลูกนกออกจากไข่ครบรังพ่อแม่จะนำออกหากิน ในช่วงแรกพวกมันจะไปไกลขึ้น และทิ้งรังในที่สุด เมื่อมีภัยพ่อแม่จะส่งเสียงร้องเตือน ลูกจะวิ่งหลบซ่อนตามพงหญ้าเมื่อพ้นภัยแล้วหรือเมื่อพ่อแม่เรียก พวกมันจึงจะออกมาลูกนกจะติดตามพ่อแม่ประมาณ 2-3 เดือน จากนั้นพวกมันจึงแยกไปหากินตามลำพังหรือรวมฝูงกับครอบครัวอื่น อายุ 1 ปีจึงเป็นตัวเต็มวัย '''สถานภาพ''' <br> นกกวักเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมากทั่วทุกภาค อย่างไรก็ตามแนวโน้มที่ปริมาณจะลดลงมีค่อนข้างสูง ทั้งนี้เพาะในปัจจุบันนกกวักจำนวนมากถูกล่าเป็นอาหาร โดยทั่วไปคนล่ามักวางตาข่ายดัก แล้วเลียนเสียงนกกวัก เปิดเทปเสียงนกกวัก หรืออาจใช้นกกวักที่เลี้ยงไว้เป็นนกต่อให้นกกวักตัวอื่นมาติดตาข่าย เป็นต้น '''กฎหมาย''' <br> กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ---- [[File:Amaurornis phoenicurus02.jpg|center]] ---- '''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_1149.jpg<br> https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_1150.jpg<br>
กลับไป
นกกวัก
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
นกกก
นกกระจิบคอดำ
นกกระจิบธรรมดา
นกกระจิบหญ้าสีข้างแดง
นกกระติ๊ดเขียว
นกกระติ๊ดตะโพกขาว
นกกระเต็นลาย
นกกระเต็นหัวดำ
นกกระเต็นใหญ่ธรรมดา
นกกระเต็นอกขาว
นกกระปูดใหญ่
นกกวัก
นกกางเขนดง
นกกางเขนน้ำหลังแดง
นกกางเขนบ้าน
นกกาฝากก้นเหลือง
นกกาฝากท้องสีส้ม
นกกาฝากอกสีเลือดหมู
นกกาฝากอกเหลือง
นกกินปลีแก้มสีทับทิม
นกกินปลีคอแดง
นกกินปลีคอสีน้ำตาล
นกกินปลีคอสีน้ำตาลแดง
นกกินปลีคอสีม่วง
นกกินปลีท้ายทอยน้ำเงิน
นกกินปลีสีเรียบ
นกกินปลีอกเหลือง
นกกินแมลงคอดำ
นกกินแมลงคอลาย
นกกินแมลงป่าฝน
นกกินแมลงป่าสีน้ำตาลแดง
นกกินแมลงป่าอกสีน้ำตาล
นกกินแมลงปีกแดง
นกกินแมลงหัวสีน้ำตาล
นกกินแมลงอกเหลือง
นกขมิ้นท้ายทอยดำ
นกขมิ้นน้อยธรรมดา
นกขมิ้นน้อยปีกสีเรียบ
นกขมิ้นน้อยสีเขียว
นกขุนแผนอกสีส้ม
นกเขนน้อยไซบีเรีย
นกเขนน้อยปีกแถบขาว
นกเขาเขียว
นกเขาเปล้าธรรมดา
นกเขียวก้านตองปีกสีฟ้า
นกเขียวก้านตองเล็ก
นกเขียวก้านตองใหญ่
นกเขียวคราม
นกเขียวปากงุ้ม
นกคัคคูหงอน
นกเค้าเหยี่ยว
นกเงือกกรามช้าง
นกเงือกปากดำ
นกเงือกหัวหงอก
นกจอกป่าหัวโต
นกจับแมลงคอแดง
นกจับแมลงจุกดำ
นกจับแมลงปีกน้ำตาลแดง
นกจับแมลงสีคล้ำ
นกจับแมลงสีน้ำตาล
นกจาบคาคอสีฟ้า
นกจาบคาหัวเขียว
นกจาบคาหัวสีส้ม
นกจาบดินหัวดำ
นกจาบดินอกลาย
นกชนหิน
นกแซงแซวเล็กเหลือบ
นกแซงแซวหางปลา
นกแซวสวรรค์
นกเด้าลมดง
นกเดินดงหัวสีส้ม
นกตะขาบดง
นกแต้วแล้วธรรมดา
นกแต้วแล้วลาย
นกแต้วแล้วอกเขียว
นกนางแอ่นแปซิฟิค
นกบั้งรอกเขียวอกแดง
นกบั้งรอกแดง
นกบั้งรอกปากแดง
นกบั้งรอกใหญ่
นกปรอดคอลาย
นกปรอดทอง
นกปรอดท้องสีเทา
นกปรอดสวน
นกปรอดสีน้ำตาลตาขาว
นกปรอดสีน้ำตาลตาแดง
นกปรอดหงอนตาขาว
นกปรอดหน้านวล
นกปรอดหลังเขียวอกลาย
นกปรอดหลังฟู
นกปรอดเหลืองหัวจุก
นกปรอดอกลายเกล็ด
นกปรอดโอ่งท้องสีน้ำตาล
นกปรอดโอ่งเมืองเหนือ
นกปรอดโอ่งไร้หงอน
นกปลีกล้วยท้องเทา
นกปลีกล้วยปากหนา
นกปลีกล้วยเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองเล็ก
นกปลีกล้วยหูเหลืองใหญ่
นกพญาปากกว้างท้องแดง
นกพญาปากกว้างลายเหลือง
นกพญาปากกว้างเล็ก
นกพญาปากกว้างสีดำ
นกพญาไฟสีเทา
นกโพระดกคางแดง
นกโพระดกเคราเหลือง
นกโพระดกหน้าผากดำ
นกมุ่นรกสีน้ำตาล
นกยางกรอกพันธุ์จีน
นกยางกรอกพันธุ์ชวา
นกยางเขียว
นกสีชมพูสวน
นกหกเล็กปากแดง
นกหัวขวานจิ๋วคิ้วขาว
นกหัวขวานจิ๋วอกแดง
นกหัวขวานด่างแคระ
นกหัวขวานแดง
นกหัวขวานป่าไผ่
นกหัวขวานลายตะโพกเหลือง
นกอีเสือลายเสือ
นกอีเสือสีน้ำตาล
นกเอี้ยงถ้ำ
นกแอ่นตาล
นกแอ่นบ้าน
เหยี่ยวดำท้องขาว
เหยี่ยวท้องแดง
เหยี่ยวปลาเล็กหัวเทา
เหยี่ยวผึ้ง
เหยี่ยวรุ้ง
ปรับปรุงล่าสุด
สุ่มหน้า
วิธีใช้
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า