ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกาฝากก้นเหลือง"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''' : Dicaeidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Dicaeum chry...")
 
(ล็อก "นกกาฝากก้นเหลือง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพา...)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 19:40, 30 มกราคม 2563

Dicaeum chrysorrheum01.jpg

วงศ์ : Dicaeidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dicaeum chrysorrheum Temminck and Laugier 1829.
ชื่อสามัญ : Yellow-vented Flowerpecker
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Dicaeum chrysorrheum ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ chrys, -o, =us หรือ khrusos แปลว่าสีทอง และ rheum, =a, -i, -o หรือ orrhos แปลว่าตะโพกหรือก้น ความหมายคือ “นกที่มีกันสีทอง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยมี 2 ชนิดย่อย คือ Dicaeum chrysorrheum chrysorrheum Temminck ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด และ Dicaeum chrysorrheum chrysochlore Blyth ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ ภาษากรีกคือ chrys, -o, =us หรือ khrusos แปลว่าสีทอง และ chlor, -o หรือ khloros แปลว่าสีเขียว ความหมายคือ “นกที่มีสีเขียวและสีทอง” พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า

กระจายพันธุ์
ในอินเดียตอนเหนือ จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และหมู่เกาะซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็กมาก (10 ซม.) ตัวเต็มวัยลำตัวด้านล่างสีขาวแกมสีครีมมีลายขีดสีดำกระจายทั่วไป ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีส้มหรือเหลือง ตัวไม่เต็มวัยคล้ายตัวเต็มวัย แต่ขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลืองจาง ลำตัวด้านล่างส่วนที่เหลือสีเทามีลายขีดสีน้ำตาลแกมเทา

อุปนิสัยและอาหาร
พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบเขา ชายป่า และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,100 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดียวหรือเป็นคู่ อาจพบอยู่รวมกับนกกาฝาก และนกชนิดอื่น เป็นนกที่ค่อนข้างขยันขันแข็ง มักบินไปตามต้นไม้หรือกระโดดไปตามกิ่งไม้เกือบตลอด เวลากินเกสรและน้ำหวานดอกไม้เป็นอาหาร โดยเกาะบริเวณกิ่งที่มีดอกหรือเกาะบนกลีบดอก แล้วใช้ปากจิกกินเกสรหรือดูดกินน้ำหวาน นอกจากนี้ยังกินแมลง ตัวหนอน แมงมุม และผลไม้บางชนิดด้วยการใช้ปากจิกกินเฉพาะเนื้อในผลขณะติดกับขั้วโดยไม่ทำให้ผลหลุดจากขั้ว

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนและฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม รังเป็นรูปไข่แขวนอยู่ตามกิ่งไม้ในระดับสูงจากพื้นดินไม่เกิน 6 เมตร

ไข่
รังพบไข่ 2 ฟอง ไข่สีขาว ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 11.0x15.3 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ยังไม่ทราบระยะเวลาฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน

สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและประมาณปานกลาง ชนิดย่อย chrysochlore พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงใต้ ชนิดย่อย chrysorrheum ภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Dicaeum chrysorrheum02.jpg Dicaeum chrysorrheum03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTdqDGXrvZFWmdFAGy64YNydLBstr46EmosUngNzHnqYr5vZWRV&s
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRp3u1cm0xnBLkppNpAIUw1oEaES40rITypsuXD3V1uLDGnDGwmYQ&s
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2013_05_13_22_22_43.jpg