ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเงือกหัวหงอก"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ล็อก "นกเงือกหัวหงอก" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผ...)
 
แถว 24: แถว 24:
 
'''กฎหมาย''' <br>
 
'''กฎหมาย''' <br>
 
กฎหมายจัดนกเงือกหัวหงอกเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง Humphrey and Bain (1990) จัดนกเงือกหัวหงอกเป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มจะสูญพันธุ์
 
กฎหมายจัดนกเงือกหัวหงอกเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง Humphrey and Bain (1990) จัดนกเงือกหัวหงอกเป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มจะสูญพันธุ์
 +
 +
'''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br>
 +
[https://www.youtube.com/watch?v=J0LLRUFwKwk  นกเงือกหัวหงอก]
 
----
 
----
 
<center>[[ไฟล์:Aceros comatus2.jpg]]  [[ไฟล์:Aceros comatus3.jpg]]</center>   
 
<center>[[ไฟล์:Aceros comatus2.jpg]]  [[ไฟล์:Aceros comatus3.jpg]]</center>   

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 21:52, 18 กุมภาพันธ์ 2563

Aceros comatus1.jpg

วงศ์ : Bucerotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aceros comatus (Raffles) 1822.
ชื่อสามัญ : White-crowned Hornbill
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : White-crested Hornbill, Long-crested Hornbill

นกเงือกหัวหงอกมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Aceros comatus บางตำราใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Berenicornis commatus (Raffles) 1822. ชื่อชนิดมาจากราก ศัพท์ภาษาละตินคือ =coma, -to แปลว่าขน (hair) รากศัพท์ภาษากรีกคือ kome ก็แปลว่าขนเช่นเดียวกัน ความหมายของชื่อชนิดคือ “นกที่มีขนบนหัวคล้ายขนของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย เวียดนาม มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดใหญ่ (90 ซม.) ตัวเต็มวัยหัวมีหงอนขนสีขาว ปากสีดำ โหนกแข็งมีขนาดเล็ก ลำตัวสีดำ หางยาวสีขาวขณะกางปีกหรือบินจะเห็นขอบปลายปีกมีแถบสีขาว ตัวผู้บริเวณใบหน้าคอ และลำตัวด้านล่างมีสีขาว ตัวเมียบริเวณคอและด้านล่างมีสีดำ ตัวไม่เต็มวัยลักษณะคล้ายตัวเมียแต่ลำตัวเป็นสีน้ำตาล หางสีดำ ปลายปีกมีแถบกว้างสี ขาว ปลายขนคลุมขนปีกสีขาว

อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสง 600 เมตรระดับน้ำทะเลหรือสูงกว่า ในช่วงนอกฤดูผสมพันธ์จะพบอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ มันบินเงียบจนเกือบไม่มีเสียง เนื่องจากกระพือปีกค่อนข้างเร็ว ขณะบินนกเงือกหัว หงอกมักร้องเป็นเสียงเบา ๆ ดัง “ฮู-ฮู” และจะร้องซ้ำกันประมาณ 10-12 ครั้ง นกเงือกหัวหงอกกินผลไม้ โดยเฉพาะลูกไทร ลูกหว้า และลูกตาเสือ ด้วยการเกาะกิ่งที่มีผลไม้ ใช้ปลายปากปลิดผลจากขั้วอ้าปากให้ผลหล่นลงคอ หรืออาจโยนผลไม้ขึ้นไปในอากาศพร้อมกับอ้าปากรับแล้วกลืนกินทั้งผล บางครั้งมันก็ลงพื้นดินเพื่อกินสัตว์ โดยเฉพาะกิ้งก่า หอย และนกขนาดเล็ก

การผสมพันธุ์
นกเงือกหัวหงอกผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม ในช่วงนี้มันจะแยกจากฝูงมาอยู่เป็นคู่ มันทำรังตามโพรงต้นไม้ที่เกิดตามธรรมชาติ มักใช้รังหรือโพรงเดิมเป็นประจำทุกปีหากไม่มีสัตว์หรือนกคู่อื่น มาแย่งใช้โพรงก่อน หากมีสัตว์อื่นมาแย่งใช้มันจะขับไล่สัตว์นั้นออกไป ถ้าไม่สำเร็จมันก็จะต้องหาโพรงใหม่ เมื่อตัวเมียเข้าไปวางไข่และฟักไข่ในโพรงแล้ว ตัวผู้จะคอยหาอาหารมาป้อนตัวเมีย ปกติวันละประมาณ 3-4 ครั้ง นกเงือกหัวหงอกตื่นตกใจค่อนข้างง่าย หากมีสิ่งรบกวนมาใกล้รัง มันจะไม่มาป้อนอาหารให้ตัวเมีย ลูกนกแรกเกิดไม่มีขนปกคลุมร่างกายและยังต้องอยู่ในโพรงอีกระยะเวลาหนึ่ง ในช่วงนี้ตัวผู้จะต้องทำหน้าที่อย่างหนักในการหาอาหารมาป้อนทั้งตัวเมียและลูกนก โดยอาจต้องมาป้อนวันละไม่น้อยกว่า 10 ครั้ง เมื่อลูกนกโตพอประมาณและมีขนปกคลุมเต็มตัวแล้ว ตัวผู้จะเปิดปากโพรงให้ตัวเมียและลูกนกออกจากโพรง หลังจากนี้ไม่นานพวกมันจะทิ้งรังไป

สถานภาพ
นกเงือกหัวหงอกเป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก พบเฉพาะทางภาคใต้และบางแห่งของภาคตะวันตก เช่น อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี เป็นต้น

กฎหมาย
กฎหมายจัดนกเงือกหัวหงอกเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง Humphrey and Bain (1990) จัดนกเงือกหัวหงอกเป็นสัตว์ที่มีแนวโน้มจะสูญพันธุ์

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกเงือกหัวหงอก


Aceros comatus2.jpg Aceros comatus3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/8/80/White-crowned_Hornbill_%28Aceros_comatus%29_-pair-6a.jpg
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQkAdWhCGHEK1fbfsK6TxCTAXw1rm4fF6aFu7imJs9JX2Zwn0O40A&s
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn%3AANd9GcQXbnaxDL5pJu3shCVchWpscTIyvrIIIhWhH19AoJPMbXzJWwaF