ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกจับแมลงจุกดำ"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ล็อก "นกจับแมลงจุกดำ" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผ...)
 
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน)
แถว 11: แถว 11:
  
 
'''กระจายพันธุ์'''<br>
 
'''กระจายพันธุ์'''<br>
ในอินเดีย จีนตอนใต้ เอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว
+
ในอินเดีย จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว
 
 
 
'''ลักษณะทั่วไป'''<br>
 
'''ลักษณะทั่วไป'''<br>
แถว 30: แถว 30:
 
'''กฎหมาย'''<br>
 
'''กฎหมาย'''<br>
 
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
 +
'''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br>
 +
[https://www.youtube.com/watch?v=PbuuEV_lfvo นกจับแมลงจุกดำ]
 
----
 
----
 
<center>[[ไฟล์:Hypothymis azurea02.jpg]]  [[ไฟล์:Hypothymis azurea03.jpg]] </center>   
 
<center>[[ไฟล์:Hypothymis azurea02.jpg]]  [[ไฟล์:Hypothymis azurea03.jpg]] </center>   

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 21:56, 18 กุมภาพันธ์ 2563

Hypothymis azurea01.jpg

วงศ์ : Monarchidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hypothymis azurea (Boddaert), 1783.
ชื่อสามัญ : Black-naped Monarch
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Black-naped Monarch-Flycatcher, Black-naped Blue Monarch

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hypothymis azurea ชื่อชนิดเป็นคำในภาษาละตินสมัยกลางคือ azureus แปลว่าสีฟ้าสด ความหมายคือ “นกที่มีสีฟ้าสด” พบครั้งแรกที่ประเทศฟิลิปปินส์ทั่วโลกมี 19 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ

  1. Hypoythymis azurea montana Riley ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ montanus (mont, -an, -ri) แปลว่าภูเขา ความหมายคือ “นกที่พบบริเวณที่สูง” พบครั้งแรกที่จังหวัดเชียงใหม่
  2. Hypothymis azurea galerita (Deignan) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ galer แปล ว่ากระหม่อม และ -ta เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “บริเวณกระหม่อมมีลักษณะเด่น” พบครั้งแรกที่จังหวัดตราด
  3. Hypothymis azurea prophata Oberholser ไม่ทราบที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อย พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย

กระจายพันธุ์
ในอินเดีย จีนตอนใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ ไต้หวัน เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (17 ซม.) หางยาวเรียว รูปร่างโดยทั่วไปคล้ายคลึงกับพวกนกอีแพรด ตัวผู้ลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีน้ำเงิน มีจุดกลมสีดำบริเวณใกล้ท้ายทอย อกมีลายพาดแคบ ๆ สีดำ ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีขาว ตัวเมียลักษณะคล้ายตัวผู้ แต่ไม่มีจุดสีดำบริเวณใกล้ท้อยทอยและสีดำที่เป็นลายพาดที่คอ อกสีออกเทา ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแกมเทา

อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบ และป่ารุ่น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล ช่วงฤดูอพยพอาจพบได้ในสวนผลไม้และป่าชายเลน มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ และอาจพบอยู่รวมกับนกขนาดเล็กอีกหลายชนิด อาศัยและหากินตามกิ่งไม้ในระดับสูงเมื่อเทียบกับนกจับแมลงอื่น ๆ แต่อาจพบได้ตามพุ่มไม้และไม้พื้นล่าง เป็นนกที่ไม่ค่อยหยุดนิ่งกับที่มักเคลื่อนไหวไปตามกิ่งไม้ด้วยการกระโดดหรือบิน ขณะเกาะตามปกติจะยกหางขึ้นเล็กน้อย และแผ่ขนหางออกบางส่วนคล้ายพวกนกอีแพรด อาหาร ได้แก่ แมลง โดยการโฉบจับกลางอากาศใกล้ที่เกาะ หรือจิกกินตามกิ่งและลำต้นของต้นไม้ บางครั้งลงมาจิกกินบนพื้นดิน

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนและต้นฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนกรกฎาคม รังเป็นรูปถ้วยหรือรูปกรวยหงาย บางรังบริเวณก้นรังแหลมคล้ายหางยืนยาว ประกอบด้วยหญ้า เปลือกไม้ วัสดุ เส้นใย มอส อัดและเชื่อมกันด้วยใยแมงมุม และอาจมีพวกมอสมาเสริมขอบนอกของรังทำให้รังหนาขึ้น รองพื้นด้วยใบหญ้าละเอียด รังอยู่ตามกิ่งของไม้ต้นหรือไม้พุ่ม โดยเชื่อมรั้งติดกับกิ่งไม้ด้วยวิธีเดียวกับการสร้างรัง ความกว้างปากรังด้านนอก 77.62 มม. ปากรังด้านใน 58.32 มม. และความลึกของรังภายใน 39.24 มม. ปกติรังอยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 3-4 เมตร แต่อาจพบได้ในความสูงเพียง 60 ซม. หรือสูงเกินกว่า 9 เมตร

ไข่
รังมีไข่ 3-4 ฟอง ไข่มีรูปร่างกลมรีสีขาวแกมสีครีม มีลายดอกดวง และลายจุดสีน้ำตาล โดยเฉพาะไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 13.3x17.6 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ โดยใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 12 วัน และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกนกจับแมลงจุกดำเป็นลูกอ่อนเดินไม่ได้ จะอยู่ในรังประมาณ 7-10 วัน (ศศิธร, 2539) จากนั้นจะทิ้งรังไป

สถานภาพ
เป็นทั้งนกประจำถิ่นและนกอพยพมาช่วงนอกฤดูผสมพันธุ์ พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย montana พบทางภาคเหนือ ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลางตอนเหนือ ชนิดย่อย galerita พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลางตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน และชนิดย่อย prophata พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกจับแมลงจุกดำ


Hypothymis azurea02.jpg Hypothymis azurea03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://download.ams.birds.cornell.edu/api/v1/asset/133723771/1800
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRXOfNM8xl8rMrvl89sq3Bqil6lp-jMnlOZUEurDC8Jjb0I1wzggw&s
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTprwyyuiqsrxvWDZcYNRETfHQVAf7xui4n7RyVLdpdIYH6smw-AQ&s