ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกปรอดหลังฟู"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(ล็อก "นกปรอดหลังฟู" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้...)
แถว 27: แถว 27:
 
'''กฎหมาย''' <br>
 
'''กฎหมาย''' <br>
 
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
 +
'''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br>
 +
[https://www.youtube.com/watch?v=80RCep7uSUk นกปรอดหลังฟู]
 
----
 
----
 
<center>[[ไฟล์:Tricholestes criniger02.jpg]]  [[ไฟล์:Tricholestes criniger03.jpg]]</center>   
 
<center>[[ไฟล์:Tricholestes criniger02.jpg]]  [[ไฟล์:Tricholestes criniger03.jpg]]</center>   

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 23:15, 18 กุมภาพันธ์ 2563

Tricholestes criniger01.jpg

วงศ์ : Pycnonotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Tricholestes criniger (Blyth) 1845.
ชื่อสามัญ : Hairy-backed Bulbul
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tricholestes criniger ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ criniger แปลว่าขนยาว ความหมายคือ “นกที่มีขนยาวคล้ายขนสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม” พบครั้งแรกที่ประเทศมาเลเซีย ทั่วโลกมี 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Tricholestes criniger criniger (Blyth) ที่มาและความหมายของชื่อย่อยเช่นเดียวกับชนิด

กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (12 ซม.) บริเวณท้ายทอยมักมีขนเป็นก้านยาวมากกว่า 15 มม. แต่ในธรรมชาติมักมองไม่เห็น ด้านข้างของหัวสีเหลืองอ่อน วงรอบเบ้าตาสีขาวแกมเหลือง คอหอยสีขาว ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลถึงสีไพลหรือเขียวแกมเหลือง หางสีน้ำตาลเข้ม อกสีเหลืองแกมสีไพลและสีเทาท้อง และขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีเหลือง

อุปนิสัยและอาหาร
พบตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ อาศัยและหากินตามพุ่มไม้ในระดับที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนักหรือภายในเรือนยอด ทำให้มองไม่ค่อยเห็นตัวนอกจากได้ยินเสียงร้อง อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ผลไม้ นอกจากนี้ยังกินตัวหนอนและแมลง พฤติกรรมการกินอาหารไม่แตกต่างจากนกปรอดทั่วไป

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน ทำรังเป็นรูปถ้วยด้วยใบไม้ แล้วใช้วัสดุที่อ่อนนุ่ม เช่น มอส รอง ภายในรัง และตกแต่งภายนอกรังให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อม รังอยู่ตามง่ามไม้ โดยเฉพาะตามปลายกิ่งที่มีขนาดเล็ก หรือกิ่งที่ยื่นออกไปเหนือลำธาร ยังไม่ทราบระยะเวลาฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน

ไข่
วางไข่ครั้งละ 3-4 ฟอง ไข่สีขาวขุ่น มีจุดประสีชมพูแกมน้ำตาลกระจายทั่วฟอง

สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกปรอดหลังฟู


Tricholestes criniger02.jpg Tricholestes criniger03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQZZvZzQjAXD531prB5JHXj2L_Zb3zdilwb0Bfspok8MYKgdgi5&s
https://live.staticflickr.com/7801/32314503817_8be4c8c189_b.jpg
https://live.staticflickr.com/848/41880257840_e4958fe99c_b.jpgbr>