ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกางเขนดง"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
 
แถว 30: แถว 30:
 
'''กฎหมาย''' <br>
 
'''กฎหมาย''' <br>
 
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
 +
 +
'''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br>
 +
[https://www.youtube.com/watch?v=gwFoQbbyJwM นกกางเขนดง]
 
----
 
----
 
<center>[[ไฟล์:Copsychus malabaricus02.jpg]]  [[ไฟล์:Copsychus malabaricus03.jpg]]</center>   
 
<center>[[ไฟล์:Copsychus malabaricus02.jpg]]  [[ไฟล์:Copsychus malabaricus03.jpg]]</center>   

รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 14:16, 17 กุมภาพันธ์ 2563

Copsychus malabaricus01.jpg

วงศ์ : Muscicapinae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Copsychus malabaricus (Scopli) 1788.
ชื่อสามัญ : White-rumped Shama
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : นกบินหลาดง, นกบินหลาควน, นกจิงปุ๊ย

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Copsychus malabaricus ชื่อชนิดมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือเมืองและชายฝั่ง Malabar (Kerala) ประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นสถานที่ที่ชาวยุโรปรู้จักประเทศอินเดียเป็นครั้งแรก ทั่วโลกมี 18 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ

  1. Copsychus malabaricus indicus (Stuart Baker) ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือประเทศอินเดีย ที่รัฐอัสสัม
  2. Copsychus malabaricus interpositus (Robinson and Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ inter แปลว่าระหว่าง และ posit แปลว่าสถานที่หรือตำแหน่ง ความหมายคือ “ลักษณะอยู่ระหว่างนกสองชนิดย่อย” พบครั้งแรกที่ประเทศเวียดนาม
  3. Copsychus malabaricus pellogynus (Oberholser) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ pell, -o หรือ pellos แปลว่าสีเข้มหรือสีออกดำ และ gynus แปลว่าแก้ม ความหมายคือ “บริเวณแก้มเป็นสีเข้มหรือสีออกดำ” พบครั้งแรกที่เมืองตะนาวศรี ทางตอนใต้ของประเทศพม่า

กระจายพันธุ์
ในอินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เกาะไหหลำ หมู่เกาะอันดามัน และหมู่เกาะซุนดาใหญ่

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (ตัวผู้ 28-29 ซม. ตัวเมีย 21-22 ซม.) ตัวผู้บริเวณหัว คอหอย อก และลำตัวด้านบนเป็นสีดำ ตะโพก ขนคลุมโคนขนหาง ด้านบนและขนหางคู่นอก ๆ เป็นสีขาว ลำตัวด้านล่างส่วนที่เหลือสีน้ำตาลแดงถึงสีส้ม ตัวเมียลักษณะคล้ายกับตัวผู้แต่สีทีมกว่า บริเวณที่เป็นสีดำในตัวผู้เป็นสีเทาเข้ม ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีน้ำตาลแดงถึงสีเหลือง ตัวไม่เต็มวัยลักษณะคล้ายตัวเมีย แต่บริเวณที่เป็นสีเทาเข้มในตัวเมียเป็นสีน้ำตาล ขนคลุมขนปีกและช่วงไหล่มีลายเกล็ดสีเหลืองแกมสีน้ำตาลแดง

อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ในป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ป่ารุ่น และป่าไผ่ ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล พบอยู่โดดเดี่ยว เป็นคู่ หรือเป็นครอบครัว มักเกาะตามกิ่งของต้นไม้ระดับต่ำ ไม้พุ่ม หรือโคนของกอไผ่ บางครั้งลงมายืนบนพื้นดิน เป็นนกที่ร้องได้หลายเสียงเพื่อใช้ในวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน เช่น เกี้ยวพาราสี ป้องกันอาณาเขต เรียกลูกนก เป็นต้น เป็นนกที่คนนิยมเลี้ยงเพื่อฟังเสียงร้องกันมากชนิดหนึ่ง กินแมลงและตัวหนอนเป็นอาหาร โดยมีอุปนิสัยการหาอาหารไม่แตกต่างจากนกกางเขนบ้านตัวเมียเวลาเกาะตามปกติจะยกหางขึ้นคล้ายกับนกกางเขนบ้านตัวผู้ ส่วนตัวผู้มักไม่ยกหางเนื่องจากมีขนหางยาว

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังตามโพรงไม้ที่เกิดตามธรรมชาติหรือโพรงเก่าของนกและสัตว์อื่น หรือตามซุ้มกอไผ่ โดยใช้ใบไม้ ใบหญ้า ใบไผ่ และรากฝอยมาวางซ้อนกัน ปกติรังอยู่ไม่สูงจากพื้นดินนัก ประมาณ 2-3 เมตร

ไข่
รังมีไข่ 3-5 ฟอง โดยพบ 4 ฟองบ่อยที่สุด ไข่สีเขียวแกมน้ำเงิน มีลายสีน้ำตาลทั่วฟอง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 17.2x22.0 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ โดยเริ่มฟักหลังจากออกไข่ฟองสุดท้ายของรังแล้ว ใช้เวลาฟักไข่ทั้งสิ้น 15 วัน และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาเลี้ยงลูก 20-21 วัน

สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย indicus พบทางภาคเหนือด้านตะวันตก ชนิดย่อย interpositus พบทางภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคกลาง และภาคตะวันตก และชนิดย่อย pellogynus พบทางภาคใต้

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกกางเขนดง


Copsychus malabaricus02.jpg Copsychus malabaricus03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS6E-EcWDpS_Ua2vsXngH7no8hcV2ij1G8elyfoqBpqJejVItnepA&s
https://image.freepik.com/free-photo/white-rumped-shama-copsychus-malabaricus-beautiful-male-birds-thailand_35071-428.jpg
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2018_01_02_20_35_38.jpg