ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกินแมลงอกเหลือง"

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
แถว 10: แถว 10:
 
#Macronous gularis saraburiensis Deignan ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือจังหวัดสระบุรี
 
#Macronous gularis saraburiensis Deignan ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือจังหวัดสระบุรี
 
#Macronous gularis connectens (Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ con แปลว่าด้วย ด้วยกัน และ nect แปลว่าขอบเขตหรือเชื่อมต่อ ความหมายคือ “พบบริเวณรอยต่อ (ระหว่างภาคหรือระหว่างประเทศ)” พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคใต้
 
#Macronous gularis connectens (Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ con แปลว่าด้วย ด้วยกัน และ nect แปลว่าขอบเขตหรือเชื่อมต่อ ความหมายคือ “พบบริเวณรอยต่อ (ระหว่างภาคหรือระหว่างประเทศ)” พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคใต้
#Macronous gularis inveteratus (Oberholser) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ in แปลว่าไม่หรือปราศจาก vetera แปลว่าเก่าแก่ และ -tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “พบนานแล้วแต่ยังไม่ได้รับการจัดจำแนก” พบครั้งแรกที่จังหวัดตราด และ
+
#Macronous gularis inveteratus (Oberholser) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ in แปลว่าไม่หรือปราศจาก vetera แปลว่าเก่าแก่ และ -tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “พบนานแล้วแต่ยังไม่ได้รับการจัดจำแนก” พบครั้งแรกที่จังหวัดตราด  
 
#Macronous gularis chersonesophilus (Oberholser) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ chers, -o หรือ khersos แปลว่าแห้งแล้ง nes, -o, =us แปลว่าเกาะ และ phil, -a, -i, -o หรือ philos แปลว่าชอบ ความหมายคือ “นกที่อาศัยอยู่บนเกาะที่ค่อนข้างแห้งแล้ง” พบครั้งแรกที่จังหวัดตรัง
 
#Macronous gularis chersonesophilus (Oberholser) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ chers, -o หรือ khersos แปลว่าแห้งแล้ง nes, -o, =us แปลว่าเกาะ และ phil, -a, -i, -o หรือ philos แปลว่าชอบ ความหมายคือ “นกที่อาศัยอยู่บนเกาะที่ค่อนข้างแห้งแล้ง” พบครั้งแรกที่จังหวัดตรัง
  

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 21:12, 30 มกราคม 2563

Macronous gularis01.jpg

วงศ์ : Timaliidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Macronous gularis (Hirsfield) 1822.
ชื่อสามัญ : Striped Tit Babbler
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Striped Babbler

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Macronous gularis ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินสมัยใหม่คือ gularis (gul, =a) แปลว่าคอหอย ความหมายคือ “มีคอหอยเด่น” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 25 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 6 ชนิดย่อย คือ

  1. Macronous gularis lutescens (DelaCour) ชื่อชนิดย่อยมาจากคำในภาษาละตินสมัยใหม่คือ Iutescens แปลว่าสีออกเหลือง (รากศัพท์ภาษาละตินคือ Iut, -e, -i หรือ luteus แปลว่าสีโคลนหรือสีออกเหลือง และ -escens เป็นคำลงท้าย) ความหมายคือ “อกสีเหลือง” พบครั้งแรกทางตอนเหนือของประเทศลาว
  2. Macronous gularis sulphureus (Rippon) ชื่อชนิดย่อยมาจากคำในภาษาละตินคือ sulphureus แปลว่าสีออกเหลือง (รากศัพท์ภาษาละตินคือ sulph, -o แปลว่ากำมะถันหรือสีออกเหลือง) ความหมายคือ “อกสีเหลือง” พบครั้งแรกที่รัฐฉาน ทางตอนเหนือของประเทศพม่า
  3. Macronous gularis saraburiensis Deignan ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือจังหวัดสระบุรี
  4. Macronous gularis connectens (Boden Kloss) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ con แปลว่าด้วย ด้วยกัน และ nect แปลว่าขอบเขตหรือเชื่อมต่อ ความหมายคือ “พบบริเวณรอยต่อ (ระหว่างภาคหรือระหว่างประเทศ)” พบครั้งแรกที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งเป็นรอยต่อระหว่างภาคกลางและภาคใต้
  5. Macronous gularis inveteratus (Oberholser) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ in แปลว่าไม่หรือปราศจาก vetera แปลว่าเก่าแก่ และ -tus เป็นคำลงท้าย ความหมายคือ “พบนานแล้วแต่ยังไม่ได้รับการจัดจำแนก” พบครั้งแรกที่จังหวัดตราด
  6. Macronous gularis chersonesophilus (Oberholser) ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ chers, -o หรือ khersos แปลว่าแห้งแล้ง nes, -o, =us แปลว่าเกาะ และ phil, -a, -i, -o หรือ philos แปลว่าชอบ ความหมายคือ “นกที่อาศัยอยู่บนเกาะที่ค่อนข้างแห้งแล้ง” พบครั้งแรกที่จังหวัดตรัง

กระจายพันธุ์
ตั้งแต่อินเดียด้านตะวันออกจนถึง จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และเกาะปาลาวัน

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็กมาก (13 ซม.) กระหม่อมสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านล่างสีเหลืองซีดมีลายขีดสีดำ ซึ่งมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับแต่ละชนิดย่อย หัวด้านข้างมีลายแต้มสีเหลือง ลำตัวด้านบนมีตั้งแต่สีเขียวแกมน้ำตาลอ่อนจนถึงสีเขียวแกมน้ำตาลแดง ตา สีครีมหรือสีเหลืองอ่อน บางครั้งเป็นสีน้ำตาล

อุปนิสัยและอาหาร
พบตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง ป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบเขา ป่ารุ่น หรือทุ่งโล่ง ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ช่วงฤดูผสมพันธุ์พบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ ช่วงฤดูอื่นพบเป็นฝูง และอาจพบอยู่รวมกับนกกินแมลงอื่น ๆ หากินตามกิ่งหรือตามใบไม้ ภายในเรือนยอดหรือตามกอไผ่ มักกระโดดไปตามกิ่งไม้และไม้เสมอ บางครั้งลงมายังพื้นดิน อาหาร ได้แก่ แมลง มักส่งเสียงร้องเกือบตลอดเวลา ในช่วงกลางวันที่อากาศร้อนจัดมักซ่อนตัวในที่รกทึบ

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนเมษายนถึงเดือนมิถุนายน รังเป็นรูปทรงกลมมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 10-20 ซม. ประกอบด้วยใบไผ่และใบหญ้า แล้วรองพื้นรังด้วยหญ้าที่ฉีกละเอียดและรากฝอย รังอยู่ตามพุ่มไม้หรือกอไผ่ที่ไม่สูงจากพื้นดินมากนัก มองดูคล้ายเป็นกองใบหญ้าหรือใบไผ่ที่ถูกลมพัดมาสุมกัน

ไข่
รังมีไข่ 3-4ฟอง บางรังมี 5 ฟอง ไข่สีขาว มีลายจุดและลายขีดเล็ก ๆ สีน้ำตาลแกมแดง โดยเฉพาะบริเวณไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่ โดยเฉลี่ย 12.6x16.6 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 12-13 วัน ลูกนกที่ออกจากไข่ใหม่ ๆ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ พ่อแม่ต้องหาอาหารมาป้อนจนอายุ 12-13 วัน จึงมีขนเต็มตัว บินได้ และทิ้งรังไปในที่สุด

สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณมาก ชนิดย่อย lutescens พบทางภาคเหนือตอนบนสุดและภาคตะวันออกเฉียงเหนือบริเวณลุ่มแม่น้ำโขงตั้งแต่จังหวัดเลยจนถึงอุบลราชธานี ชนิดย่อย Sulphureus พบทางภาคเหนือส่วนที่เหลือและภาคตะวันตก ชนิดย่อย saraburiensis พบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงใต้ (จังหวัดนครนายกและปราจีนบุรี) ชนิดย่อย connectens พบทางภาคตะวันตกตอนใต้ และภาคใต้ (จังหวัดราชบุรีจนถึงคอคอดกระ) ชนิดย่อย inveteratus พบตามหมู่เกาะทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ และชนิดย่อย chersonesophilus พบทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Macronous gularis02.jpg Macronous gularis03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTGvmwox7XWheCVTWo_ZnwZyfFctAqlF8CSkRDUiLN-8MQUc3Si&s
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/pin_striped_tit_babbler_copy2.jpg
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSAGSVzKNKsHqItYJjJ1c6pn9ZoM9f-zZM6Mu_nJG3kyNdNeX-HGw&s