ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกินปลีคอสีม่วง"
ล (ล็อก "นกกินปลีคอสีม่วง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพา...) |
|||
แถว 27: | แถว 27: | ||
'''กฎหมาย'''<br> | '''กฎหมาย'''<br> | ||
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br> | ||
+ | [https://www.youtube.com/watch?v=Z6RSU2I01RE นกกินปลีคอสีม่วง] | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์: Nectarinia_sperata02.jpg]] [[ไฟล์: Nectarinia_sperata03.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์: Nectarinia_sperata02.jpg]] [[ไฟล์: Nectarinia_sperata03.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 14:59, 17 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : Nectarinidae
ชื่อวิทยาศาสตร์: Nectarinia sperata (linnaeus) 1766.
ชื่อสามัญ : Purple-throated Sunbird
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Van Hasselt's Sunbird
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Nectarinia sperata ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ sperare แปลว่า ความหวังหรือความปรารถนา อาจมีความหมายว่า “นกที่มีสีสวยงาม” ทั่วโลกมี 12 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Nectarinia sperata brazillianus (หรือ brasilianus) (Gmelin) ชื่อชนิดย่อย มาจากคำว่า brazil หรือ brasil ซึ่งเป็นต้นไม้ชนิดหนึ่งที่มีขนาดสูงใหญ่ อาจหมายถึงการอาศัยและหากินของนกชนิดย่อยนี้ พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
กระจายพันธุ์
กระจายพันธุ์ในรัฐอัสสัม อินเดีย บังกลาเทศ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะซุนดา ฟิลิปปินส์ และ เกาะสุลาเวซี
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็กมาก (9 ซม.) ตัวผู้เมื่อดูในธรรมชาติจะเห็นเป็นสีดำทั้งตัว แตกต่างจากนกกินปลีม่วงตัวผู้โดยคอหอยมีสีม่วงเป็นมัน อกและท้องตอนบนสีแดงเข้ม มีขนาดเล็กกว่านกกินปลีคอสีทองแดงตัวผู้มากและไม่มีขนสีฉูดฉาดที่อก ตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้เล็กน้อย ลำตัวด้านล่างสีเขียว อ่อนแกมเหลือง ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่าง สีเหลืองแกมเขียว ปลายขนหางสีเทา (มักมองไม่เห็น เมื่อดูในธรรมชาติและบางครั้งก็ไม่มี) แตกต่างจากตัวเมียของนกกินปลีส่วนใหญ่โดยลำตัวด้านบนสีเขียวเข้มกว่า หัวด้านข้างสีเข้มตัดกับคอหอยที่มีสีจางกว่าหาง สีดำและสั้นกว่า 35 มม. ท้องและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างเป็นสีออกเหลืองกว่า
อุปนิสัยและอาหาร
พบตามชายป่าดงดิบชื้น ป่าดงดิบแล้ง ป่าพรุ และป่ารุ่นที่ค่อนข้างชิ้น ในระดับต่ำจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล บางครั้งอาจพบในป่าชายเลนและสวนผลไม้ อุปนิสัยไม่แตกต่างจากนกกินปลีอกเหลือง
การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ช่วงฤดูหนาวถึงต้นฤดูฝนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม ทำรังเป็นรูปกระเปาะห้อยลงจากกิ่งไม้หรือใบไม้ สูงจากพื้น 1.5-6 เมตร ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น
ไข่
รังมีไข่ 2 ฟอง ไข่สีน้ำตาลเป็นมัน มีจุดเล็ก ๆ สีน้ำตาลเข้ม ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 99.0% 13.0-14.0 มม.
สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก พบทางภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ และภาคใต้
กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกกินปลีคอสีม่วง


แหล่งที่มาของภาพ
https://live.staticflickr.com/3162/2884510579_9f589c07e8_z.jpg
https://www.birdsofthailand.org/sites/default/files/photo/image_96.jpeg
http://1.bp.blogspot.com/-wzrmn86u1fU/TnTt-jMzSfI/AAAAAAAAACc/JETnbXSwux4/s1600/IMG_9726.1.jpg