ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกกินแมลงคอลาย"
ล (ล็อก "นกกินแมลงคอลาย" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผ...) |
|||
แถว 30: | แถว 30: | ||
'''กฎหมาย''' <br> | '''กฎหมาย''' <br> | ||
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br> | ||
+ | [https://www.youtube.com/watch?v=D3G61lxU1d8 นกกินแมลงคอลาย] | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Stachyris striolata02.jpg]] [[ไฟล์:Stachyris striolata03.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Stachyris striolata02.jpg]] [[ไฟล์:Stachyris striolata03.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:38, 17 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : Timaliidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stachyris striolata (Müller) 1835.
ชื่อสามัญ : Spot-necked Babbler
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Spot-necked Tree Babbler
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Stachyris striolata ชื่อชนิดมาจากคำในภาษาละตินสมัยใหม่คือ striolatus แปลว่าลายขีด (รากศัพท์ภาษาละตินคือ striol, =a แปลว่าลายขีดเล็ก ๆ และ ta เป็นคำลงท้าย) ความหมายคือ “นกที่มีคอเป็นลายขีดเล็ก ๆ” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 7 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ
- Stachyris striolata helenae Delacour and Greenway ชื่อชนิดย่อยมาจากชื่อบุคคล พบครั้งแรกที่ประเทศลาว
- Stachyris striolata guttata (Blyth) ชื่อชนิดย่อยมาจากคำในภาษาละตินคือ gutatus แปลว่าลายจุด (รากศัพท์ภาษาละตินคือ gutt, =a แปลว่าจุด และ -ta เป็นคำลงท้าย) ความหมายคือ “คอเป็นลายจุด” พบครั้งแรกที่ประเทศพม่า
- Stachyris Striolata nigrescentior Deig nan ชื่อชนิดย่อยมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ nig, -el, =er, -ra, -resc, -ri, -ro หรือ nigrescere แปลว่าสีดำหรือสีเข้ม และ -escentior เป็นคำลงท้าย แปลว่าเป็นของ ความหมายคือ “นกที่มีสีเข้ม” พบครั้งแรกที่จังหวัดตรัง
กระจายพันธุ์
ตั้งแต่ประเทศจีนตอนใต้ เกาะไหหลํา พม่า ไทย ลาว เวียดนาม และเกาะสุมาตรา
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (18 ซม.) แตกต่างจากนกกินแมลงหูขาวและนกกินแมลงคอดำ โดยคอด้านข้างมีลายจุดสีขาวหนาแน่นกว่า คอหอยสีขาว ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแดง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลแดงปนเขียว ชนิดย่อย nigrescentior อกและท้องสีน้ำตาลแดงเข้มกว่าชนิดย่อยอื่น
อุปนิสัยและอาหาร
พบตามป่าดงดิบแล้งและป่าดงดิบเขาในระดับเชิงเขาจนกระทั่งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นฝูงเล็ก ๆ อุปนิสัยอื่นไม่แตกต่างจากนกกินแมลงในสกุลเดียวกัน
การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในฤดูหนาวถึงฤดูฝนระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนมิถุนายน รังเป็นรูปโดมหรือรูปถ้วย มีทางเข้าออกขนาดใหญ่อยู่ทางด้านข้าง รังอยู่ตามกอหวายหรือพืชคลุม ยังไม่ทราบชีววิทยาการสืบพันธุ์ด้านอื่น
ไข่
รังมีไข่ 3-4 ฟอง ไข่สีขาวเป็นมัน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 16.5x22.3 มม.
สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบไม่บ่อยและปริมาณไม่มากนัก ชนิดย่อย helenae พบทางภาคเหนือ ชนิดย่อย guttata พบทางภาคตะวันตก และชนิดย่อย nigrescentior พบทางภาคใต้
กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกกินแมลงคอลาย


แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcQ8pLFKwM3YOx_zVVX_2UOuFcqqyw8Ltk3kVlyAOBpDYFVRNl7x3Q&s
http://www.lowernorthernbird.com/bird_picture/large/2014_02_16_18_09_56.jpg
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR_zuMn-376h17_LrBsYbKNgqXZ0KmuYqfM26qjZfc8CVCTvuZ3&s