ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกเขียวปากงุ้ม"
ล (ล็อก "นกเขียวปากงุ้ม" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผ...) |
|||
แถว 27: | แถว 27: | ||
'''กฎหมาย''' <br> | '''กฎหมาย''' <br> | ||
ยังไม่ได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เนื่องจากกฎหมายระบุเพียง “นกพญาปากกว้างทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง” นกเขียวปากอุ้มแม้จะเป็นนกพญาปากกว้างชนิดหนึ่ง แต่ไม่มีชื่อระบุไว้โดยเฉพาะ จึงยังไม่ได้รับการคุ้มครองแต่อย่างใด จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพราะโดยเจตนาแล้ว กฎหมายต้องการคุ้มครองนกทุกชนิดในวงศ์นี้ ซึ่งรวมถึงนกเขียวปากงุ้มด้วย | ยังไม่ได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เนื่องจากกฎหมายระบุเพียง “นกพญาปากกว้างทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง” นกเขียวปากอุ้มแม้จะเป็นนกพญาปากกว้างชนิดหนึ่ง แต่ไม่มีชื่อระบุไว้โดยเฉพาะ จึงยังไม่ได้รับการคุ้มครองแต่อย่างใด จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพราะโดยเจตนาแล้ว กฎหมายต้องการคุ้มครองนกทุกชนิดในวงศ์นี้ ซึ่งรวมถึงนกเขียวปากงุ้มด้วย | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br> | ||
+ | [https://www.youtube.com/watch?v=lEEYifB-Vu0 นกเขียวปากงุ้ม] | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Calyptomena viridis02.jpg]] [[ไฟล์:Calyptomena viridis03.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Calyptomena viridis02.jpg]] [[ไฟล์:Calyptomena viridis03.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 21:43, 18 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : Eurylaindae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Calyptomena viridis Raffles, 1822.
ชื่อสามัญ : Green Broadbill Raffles
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Lesser Green Broadbill
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Calyptomena viridis ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ virid, -esc หรือ viridis แปลว่าสีเขียว ความหมายคือ “นกที่มีสีส่วนใหญ่เป็นสีเขียว” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมีนก 3 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 2 ชนิดย่อย คือ Calyptomena viridis viridis Raf. fles ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด และ Calyptomena viridis continentis Robinson and Kloss ชื่อชนิดย่อยมาจากคำในภาษาอังกฤษคือ continent แปลว่าทวีป ความหมายคือ “บอที่พบบนแผ่นดินใหญ่” พบครั้งแรกที่จังหวัดชุมพร
กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (17-18 ซม.) ลำตัวเป็นสีเขียว โดยมีลายแถบสีดำบริเวณปีกและบริเวณหู ตัวเมียสีเขียวจางกว่าตัวผู้ไม่มีลายแถบสีดำที่ปีกและบริเวณหู หางค่อนข้างสั้น ขากรรไกรบนสีดำขากรรไกรล่างสีเขียว มีขนคลุมเกือบถึงปลายปาก
อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูงไม่เกิน 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล เป็นนกที่ค่อนข้างสงบเงียบ เมื่อประกอบกับสีสันที่กลมกลืนกับสีใบไม้ จึงทำให้มองเห็นตัวได้ยาก มักพบเกาะตามกิ่งไม้หรือยอดไม้ แต่ก็เป็นนกที่บินได้ดี อาหาร ได้แก่ แมลงและตัวหนอน โดยการจิกกินตามกิ่งไม้หรือยอดไม้ และอาจบินโฉบจับกลางอากาศเหนือยอดไม้ใกล้กับที่เกาะ นอกจากนี้ยังพบว่ากินผลไม้บางชนิดด้วย
การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม รังเป็นรูปบวบ มีทางเข้าออกอยู่ทางด้านข้าง แขวนอยู่ตามกิ่งไม้ในระดับสูงปานกลาง วัสดุที่ใช้ทำรังประกอบด้วย ใบหญ้า ใบไผ่ ใบไม้ ฯลฯ มีการสานสอดวัสดุเล็กน้อย แล้วเชื่อมให้ติดกันด้วยใยแมงมุม
ไข่
รังมีไข่ 2-3 ฟอง ไข่สีขาวครีม มีลายแต้มสีน้ำตาลอ่อนเล็กน้อย ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 17.0x23.0 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ฟักไข่ และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ประมาณ 12-13 วัน ยังไม่ทราบระยะเวลาที่ใช้เลี้ยงลูก
สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย continentis พบในบางแห่งของภาคตะวันตกและภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์จนถึงจังหวัดตรัง ชนิดย่อย viridis พบทางภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดตรังลงไป
กฎหมาย
ยังไม่ได้รับการจัดให้เป็นสัตว์ป่าสงวนหรือสัตว์ป่าคุ้มครอง เนื่องจากกฎหมายระบุเพียง “นกพญาปากกว้างทุกชนิดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง” นกเขียวปากอุ้มแม้จะเป็นนกพญาปากกว้างชนิดหนึ่ง แต่ไม่มีชื่อระบุไว้โดยเฉพาะ จึงยังไม่ได้รับการคุ้มครองแต่อย่างใด จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขเพราะโดยเจตนาแล้ว กฎหมายต้องการคุ้มครองนกทุกชนิดในวงศ์นี้ ซึ่งรวมถึงนกเขียวปากงุ้มด้วย
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกเขียวปากงุ้ม


แหล่งที่มาของภาพ
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/green_broadbill_m01obi.jpg
https://live.staticflickr.com/8525/8595928263_b61ce9daa4_b.jpg
https://live.staticflickr.com/8511/8566659753_05f25f79fe_c.jpg