ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกจับแมลงปีกน้ำตาลแดง"
ล (ล็อก "นกจับแมลงปีกน้ำตาลแดง" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญา...) |
|||
แถว 24: | แถว 24: | ||
'''กฎหมาย'''<br> | '''กฎหมาย'''<br> | ||
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br> | ||
+ | [https://www.youtube.com/watch?v=rWq_PtkRY-A นกจับแมลงปีกน้ำตาลแดง] | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Philentoma pyrhapterum02.jpg]] [[ไฟล์:Philentoma pyrhapterum03.jpg]] </center> | <center>[[ไฟล์:Philentoma pyrhapterum02.jpg]] [[ไฟล์:Philentoma pyrhapterum03.jpg]] </center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:00, 18 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : Tephrodornithidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Philentoma pyrhapterum (Temminck) 1836.
ชื่อสามัญ : Rufous-winged Philentoma
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : : Rufous-winged Flycatcher, Chestnutwinged Flycatcher, Chestnut-winged Monarch-Flycatcher
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Philentoma pyrhapterum (หรือ pyrrhopterum) ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ pyrrh, -o หรือ purrhos แปลว่าสีแดง หรือสีออกแดง และ pter, -o, =um หรือ pteros แปลว่าปีก ความหมายคือ “บริเวณปีกมีสีออกแดง” พบครั้งแรกที่เกาะบอร์เนียว ประเทศอินโดนีเซีย ทั่วโลกมี 2 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Philentoma pyrhopterum pyrhopterum (Temminck) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด
กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (18 ซม.) ตัวผู้มีภาวะรูปร่างสองแบบ ลักษณะที่พบบ่อยคือบริเวณ หัว อก และหลังสีน้ำเงินคล้ำ ท้องสีขาว ปีกและหางสีน้ำตาลแดง อีกลักษณะหนึ่งคือส่วนที่เป็นสีน้ำตาลแดง เป็นสีน้ำเงินคล้ำเช่นเดียวกับหัว ทำให้คล้ายกับตัวเมียของนกจับแมลงอกแดง แต่มีขนาดเล็กกว่า (ปีกปกติยาวน้อยกว่า 86 มม.) คอหอยไม่มีสีเข้ม ท้องตอนล่างและขนคลุมโคนขนหางด้านล่างสีออกเทามีลายขีดสีขาว ปกติมีสีน้ำตาลแดงแซมบริเวณหลังตอนท้าย และตะโพก ตัวเมียลักษณะเดียวกัน ปีกและหางสีน้ำตาลแดง หัวสีเทาแกมน้ำตาล ลำตัวด้านบนสีเนื้อ
อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 800 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยไม่แตกต่างจากนกจับแมลงอกแดง
การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์วางไข่ในฤดูร้อนถึงฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกันยายน ชีววิทยาการสืบพันธุ์ไม่แตกต่างจากนกจับแมลงจุกดำ
สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกจับแมลงปีกน้ำตาลแดง


แหล่งที่มาของภาพ
https://dktnfe.com/web59/wp-content/uploads/2014/09/b2a_rufouswingedphilentoma1_sdw.jpg
https://www.hbw.com/sites/default/files/styles/large/public/ibc/p/bf6e5033_rufous-winged_philentoma.jpg?itok=lsue1r97
https://c1.staticflickr.com/9/8382/8479163084_fc8485e7a1_b.jpg