ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกชนหิน"
ล (ล็อก "นกชนหิน" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลร...) |
|||
แถว 27: | แถว 27: | ||
'''กฎหมาย''' <br> | '''กฎหมาย''' <br> | ||
กฎหมายจัดนกชนหินเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง Humphrey and Bain (1990) จัดเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ | กฎหมายจัดนกชนหินเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง Humphrey and Bain (1990) จัดเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์ | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br> | ||
+ | [https://www.youtube.com/watch?v=Io_SFs6ROfk นกชนหิน] | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Buceros vigil02.jpg]] [[ไฟล์:Buceros vigil03.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Buceros vigil02.jpg]] [[ไฟล์:Buceros vigil03.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:13, 18 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : Bucerotidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Buceros vigil (Forster) 1781.
ชื่อสามัญ : Helmeted Hornbill
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -
นกชนหินมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Buceros vigil บางตำราใช้ว่า Rhinoplax vigil (Forster) ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ vigil, -i แปลว่าตื่น กลัวหรือขี้ตกใจ ความหมายคือ “นกที่ค่อนข้างตื่นไม่คุ้นกับคน” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย มาเลเซีย เกาะสุมาตรา และเกาะบอร์เนียว
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดใหญ่มาก ประมาณ 125-127 ซม. รวมขนหางยาว 50-70 ซม. ขนหางคู่กลางยาวที่สุด ลำตัวส่วนใหญ่เป็นสีน้ำตาลเข้ม ท้องสีขาว หางสีขาวคาดแถบสีดำ ขอบปีกสีขาว ปากสีเหลือง โคนปากและโหนกแข็งสีแดงเข้ม ส่วนหน้าของโหนกแข็งสีเหลือง คอเป็นหนังสีแดงไม่มีขน โหนกแข็งของนกชนหินแตกต่างจากนกเงือกชนิดอื่น ตรงที่ส่วนหน้าของโหนกแข็งตัน ใช้แกะสลักเป็นเครื่องประดับได้ ส่วนโหนกแข็งของนกเงือกชนิดอื่นจะกลวง นกชนหินตัวเมียมีขนาดเล็กกว่าตัวผู้ ลักษณะอื่นเหมือนกับตัวผู้
อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้น ตั้งแต่ระดับพื้นราบจนกระทั่งความสูง 1,200 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่โดดเดี่ยวหรือเป็นคู่ มันมักเกาะตามกิ่งไม้ที่อยู่ระดับสูง และค่อนข้างตื่นคน อุปนิสัย ชนิดของอาหาร และพฤติกรรมการกินอาหาร ไม่แตกต่างจากนกเงือกชนิดอื่น
การผสมพันธุ์
นกชนหินผสมพันธุ์ในช่วงฤดูหนาวต่อฤดูร้อนระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม มันทำรังตามโพรงต้นไม้ที่เกิดตามธรรมชาติ หรือโพรงที่สัตว์อื่นทำไว้ โพรงมักอยู่สูงจากพื้นดินไม่ต่ำกว่า 15 เมตร นกชนหินมีชีววิทยาการสืบพันธุ์ไม่แตกต่างไปจากนกกก
ไข่
รังมีไข่เพียง 1 ฟอง หายากที่มี 2 ฟอง
สถานภาพ
นกชนหินเป็นนกประจำถิ่น หายาก และปริมาณน้อย พบเฉพาะทางภาคใต้ตั้งแต่คอคอดกระลงไป
กฎหมาย
กฎหมายจัดนกชนหินเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง Humphrey and Bain (1990) จัดเป็นสัตว์ที่ใกล้จะสูญพันธุ์
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกชนหิน


แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcT0frkcKAXk0uXz2QMNNva1TuYTu4_prLmvrO5-sCwPkMWZhblg&s
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTXoiLxbJ3C-NdHrQt3RNx-43cbcFrrP3hIPDexeCOcZ0txaQ3j_Q&s
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcTf9YjntreGM5KhnxpogsngH-F6x3VNsAQePMV5zUt96gECJclF&s