ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกแต้วแล้วลาย"
ล (ล็อก "นกแต้วแล้วลาย" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู...) |
|||
แถว 27: | แถว 27: | ||
'''กฎหมาย''' <br> | '''กฎหมาย''' <br> | ||
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br> | ||
+ | [https://www.youtube.com/watch?v=_XkwH2qfvd0 นกแต้วแล้วลาย] | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Pitta guajana02.jpg]] [[ไฟล์:Pitta guajan0a3.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Pitta guajana02.jpg]] [[ไฟล์:Pitta guajan0a3.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:24, 18 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : Pittidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Pitta guajana (Müller) 1776.
ชื่อสามัญ : Banded Pitta
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Blue-tailed Pitta
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pitta guajana ชื่อชนิดดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่คือ Guianas ในเขตร้อนของอเมริกา ซึ่งเป็นการเข้าใจผิดเพราะนกชนิดนี้มีกระจายพันธุ์เฉพาะในทวีปเอเชียตอนใต้เท่านั้น ทั่วโลกมี 6 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Pitta guajana ripleyi Deignan ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อของบุคคล พบครั้งแรกที่จังหวัดตรัง
กระจายพันธุ์
ในไทย มาเลเซีย และหมู่เกาะซุนดาใหญ่
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (22-23 ซม.) ตัวผู้บริเวณหัวเป็นสีดำ มีลายพาดขนาดใหญ่สีเหลือง ลากจากเหนือตาไปจนถึงท้ายทอย แต่ตรงท้ายทอยจะกลายเป็นสีส้มแดง ลำตัวด้านบนสีน้ำตาลหรือน้ำตาลเหลือง โดยบริเวณหางและขนคลุมโคนขนหางด้านบนสีน้ำเงิน มีลายพาดขนาดใหญ่สีขาวที่ขนคลุมขนปีก คอหอยสีขาวจนถึงสีเหลืองซีด ลำตัวด้านล่างสีน้ำเงินเข้ม อาจมองเห็นเป็นสีดำ มีลายพาดขวางสีส้มทางด้านข้างเด่นชัด ตัวเมียลักษณะคล้ายตัวผู้ แต่สีเหลืองและส้มแดงเหนือตาและท้ายทอยจางกว่า ลำตัวด้านล่างสีขาวมีลายขวางสีน้ำตาลแกมสีเนื้อและสีดำ อกจะมีสีส้มจาง ๆ ตัวไม่เต็มวัยเป็นสีน้ำตาล หัวมีคิ้วและท้ายทอยสีเหลือง กระหม่อมสีดำมีลายจุดสีเหลือง ปีกมีลายขีดสีขาวเช่นเดียวกับตัวเต็มวัย หางสีน้ำเงิน คอหอยสีขาว อกมีลายจุดสีเหลือง และมีลายขีดสีเหลืองบริเวณท้อง
อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามป่าดงดิบชื้นตั้ง แต่พื้นราบจนกระทั่งความสูง 600 เมตรจากระดับน้ำทะเล ส่วนใหญ่หากินตามพื้นดิน อาหาร ได้แก่ ไส้เดือน มด ปลวก และสัตว์ขนาดเล็ก มักเกาะตามกิ่งไม้เตี้ย ๆ หรือกิ่งของพุ่มไม้มากกว่านกแต้วแร้วชนิดอื่น ค่อนข้างจะปราดเปรียว เมื่อตกใจหรือเมื่อมีศัตรูจะกระโดดหนีไปหลบซ่อนค่อนข้างเร็ว ทำให้มองเห็นตัวได้ค่อนข้างยาก ยกเว้นช่วงทำรังวางไข่และเลี้ยงดูลูกอ่อน
การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูฝนระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม ทำรังตามโคนของไม้พุ่ม หรือบนพืชที่มีหนาม โดยเฉพาะกอหวายและระกำ รังเป็นรูปทรงกลม มีทางเข้าออกทางด้านหน้า รังมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 20 ซม. วัสดุที่ใช้ที่รังประกอบด้วยกิ่งไม้และใบไม้แห้ง
ไข่
รังมีไข่ 3-4 ฟอง ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 22.0x26.0 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง ช่วยกันฟักไข่โดยใช้เวลา 14-15 วัน และช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน ลูกอ่อนจะอยู่ในรังประมาณ 10-14 วัน จากนั้นจะติดตามพ่อแม่ไปหาอาหาร และไม่กลับมารังอีก
สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบเฉพาะทางภาคใต้
กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกแต้วแล้วลาย


แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSkRSyNj53Z2uzowmA-sT2BnOf00BxfDyTWooZcrj7qipBQUgObLg&s
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcS7WZRAxcL6IP_nlP3VaHAY0hfgAn8X7BFr9l5620jMhO8Kb9Vr&s
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcRIu0k1_YtreRM8NSh9QVpsNVhS0EtjdvOrn7PGGOgD9Cw5ViOa&s