ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกนางแอ่นแปซิฟิค"
ล (ล็อก "นกนางแอ่นแปซิฟิค" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพา...) |
|||
แถว 27: | แถว 27: | ||
'''กฎหมาย''' <br> | '''กฎหมาย''' <br> | ||
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br> | ||
+ | [https://www.youtube.com/watch?v=KhRrBfcOMH8 นกนางแอ่นแปซิฟิค] | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Hirundo tahitica02.jpg]] [[ไฟล์:Hirundo tahitica03.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Hirundo tahitica02.jpg]] [[ไฟล์:Hirundo tahitica03.jpg]]</center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 22:26, 18 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : Hirundininae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hirundo tahitica Gmelin 1789.
ชื่อสามัญ : Pacific Swallow
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Eastern Swallow, Small House Swallow
มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hirundo tahitica ชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรก คือประเทศตาฮิติ ทั่วโลกมี 11 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อย คือ Hirundo tahitica javanica Sparrman บางตํารายกฐานะเป็นชนิดโดยใช้ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hirundo javanica Sparrman ชื่อชนิดย่อยหรือชื่อชนิดดัดแปลงจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือเกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย
กระจายพันธุ์
ในอินเดียตอนใต้ ไต้หวัน พม่า ไทย กัมพูชา เวียดนาม หมู่เกาะอันดามัน มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี และตาฮิติ
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็กมาก (13 ซม.) ตัวเต็มวัยลักษณะคล้ายนกนางแอ่นบ้าน แต่บริเวณหน้าผากออกเป็นสีน้ำตาลแดงมากกว่า คอหอยและอกตอนบนสีน้ำตาลเหลือง ไม่มีลายแถบที่อก ลำตัวด้านล่างส่วนที่เหลือสีเทาแกมน้ำตาล ขนปีกด้านล่างเกือบเป็นสีเดียวกันคือน้ำตาลแกมเทา หางสั้นกว่า ขนหางคู่นอกยาวออกไปเพียงเล็กน้อย ตัวไม่เต็มวัยคอหอย และอกตอนบนสีน้ำตาลแดงจาง ลำตัวด้านบนมีลายแต้มสีน้ำตาลและบริเวณหน้าผากมีสีน้ำตาลแกมแดงเล็กน้อย
อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลที่โล่ง ในเมือง และหมู่บ้าน มักพบบินฉวัดเฉวียนในอากาศเป็นฝูง โดยเฉพาะช่วงเช้าและเย็น อาจพบเกาะตามโขดหิน ชายคาบ้าน ราวสะพาน กิ่งไม้แห้ง ฯลฯ โดยเฉพาะในช่วงกลางวันเพื่อพักผ่อนและไช้ขน อาหาร ได้แก่ แมลง โดยการโฉบจับกลางอากาศ
การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนต่อฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม ทำรังด้วยดินโคลนเป็นรูปทรงกระบอกติดอยู่กับผนังหรือเพดาน ถ้ำหรือสิ่งก่อสร้าง ปกติจะใช้รังเดิมทุกปีโดยเสริมรังให้ใหญ่และยาวขึ้นเรื่อย ๆ
ไข่
รังมีไข่ 2-4 ฟอง ไข่สีขาว มีลายจุดและลายขีดสีน้ำตาลแดงเล็กน้อย ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 12.7x17.5 มม. ทั้งสองเพศช่วยกันทำรัง เสริมสร้างรัง ฟักไข่ และเลี้ยงดูลูกอ่อน ใช้เวลาฟักไข่ 14-15 วัน ใช้เวลาเลี้ยงลูก 15-13 วัน
สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง พบทางภาคตะวันออกเฉียงใต้และภาคใต้
กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกนางแอ่นแปซิฟิค


แหล่งที่มาของภาพ
https://farm8.staticflickr.com/7281/8738685418_e28bc627b7_b.jpg
https://live.staticflickr.com/6030/6188958952_e21fdd79e6_b.jpg
https://live.staticflickr.com/6030/6188958952_e21fdd79e6_b.jpg