ผลต่างระหว่างรุ่นของ "นกบั้งรอกเขียวอกแดง"
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''' : Cuculidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Phaen...") |
|||
แถว 24: | แถว 24: | ||
'''กฎหมาย''' <br> | '''กฎหมาย''' <br> | ||
กฎหมายจัดนกบั้งรอกเขียวอกแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | กฎหมายจัดนกบั้งรอกเขียวอกแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง | ||
+ | |||
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม''' <br> | ||
+ | [https://www.youtube.com/watch?v=JS4uiWcMjO0 นกบั้งรอกเขียวอกแดง] | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:Phaenicophaeus curvirostris02.jpg]] [[ไฟล์:Phaenicophaeus curvirostris03.jpg]]</center> | <center>[[ไฟล์:Phaenicophaeus curvirostris02.jpg]] [[ไฟล์:Phaenicophaeus curvirostris03.jpg]]</center> |
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 22:28, 18 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : Cuculidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Phaenicophaeus curvirostris (Shaw) 1810.
ชื่อสามัญ : Red-billed Malkoha
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -
นกบั้งรอกเขียวอกแดงมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Phaenicophaeus curvirostris ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ curv, -i หรือ curvus แปลว่าโค้ง และ rostr, =um หรือ rostris แปลว่าปาก ความหมายคือ “นกที่มีปากโค้ง” พบครั้งแรกที่เกาะชวา ประเทศอินโดนีเซีย Howard and Moore (1980) จัดนกบั้งรอกเขียวอกแดงไว้ต่างสกุลจากนกบั้งรอกอื่นคือ Rhamphococcyx ชื่อสกุลมาจากรากศัพท์ภาษากรีกคือ rhamph, id, =is, -o แปลว่าปากโค้ง และ coccy, -g, =x, -z หรือ kokkux แปลว่านกคัดคู ความหมายคือ “นกคัดคูที่มีปากโค้ง” ซึ่งคล้ายกับนก Toucan สกุล Ramphastos ทั่วโลกมีนกบั้งรอกเขียวอกแดง 6 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 1 ชนิดย่อยคือ Phaenicophaeus Curvirostris singularis (Parrot) ชื่อชนิดย่อยเป็นคำในภาษาละตินคือ singularis (singul, -ar) แปลว่าโดดเดียว แบบฉบับหรือเครื่องหมาย ความหมายคือ “เป็นนกที่มักพบโดดเดี่ยวหรือมีสีสันเป็นแบบฉบับของตนเอง” พบครั้งแรกที่เกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย
กระจายพันธุ์
ในพม่า ไทย มาเลเซีย หมู่เกาะซุนดา และเกาะปาลาวัน
ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดกลาง (45-46 ซม.) เฉพาะหางยาวประมาณ 25 ซม. ปากสีเขียว หนังรอบตาสีแดง ลำตัวด้านบนสีเขียวเข้มเป็นมัน ลำตัวด้านล่างสีน้ำตาลแดงเข้ม ปลายขนหางด้านบนสีน้ำตาลแดง ไม่เป็นสีขาวอย่างนกบั้งรอกอื่น
อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามชายป่าดงดิบชื้นและป่ารุ่นในระดับต่ำ หรือในระดับความสูงไม่เกิน 900 เมตรจากระดับน้ำทะเล อุปนิสัยต่าง ๆ ไม่แตกต่างไปจากนกบั้งรอกชนิดอื่น เช่น มักเตามกิ่งไม้ที่ใบแน่นทึบ กระโดดไปตามกิ่งไม้ บินในระยะสั้น ๆ เป็นต้น อาหารส่วนใหญ่ ได้แก่ ตัวหนอนและแมลง
การผสมพันธุ์
การผสมพันธุ์ชีววิทยาการสืบพันธุ์ไม่แตกต่างจากนกบั้งรอกอื่น
สถานภาพ
นกบั้งรอกเขียวอกแดงเป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลางทางภาคตะวันตกบางแห่งและภาคใต้
กฎหมาย
กฎหมายจัดนกบั้งรอกเขียวอกแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
นกบั้งรอกเขียวอกแดง


แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcThozsDgIcenD4kXxTNPy2626Nkk4HgkvIKUY9x-7aTyei82sfQFw&s
https://live.staticflickr.com/7914/46485260532_cbae09d850_b.jpg
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSnDS0UXWSVD7v4oBUZ1TfF4X3DrwNHuMBAp-LtxpWQrEy7Kz5Mfg&s