นกเขียวคราม

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 22:34, 30 มกราคม 2563 โดย Khaosokbird (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''' : Irenidae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Irena puella'' (Latha...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)
Irena puella01.jpg

วงศ์ : Irenidae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Irena puella (Latham) 1790.
ชื่อสามัญ : Asian Fairy Bluebird
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : Blue-backed Fairy Bluebird

มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Irena puella ชื่อชนิดมาจากรากศัพท์ภาษาละตินคือ puell, =a แปลว่าผู้หญิง อาจมีความหมายว่า “นกที่มีลักษณะสวยงามหรือนกที่มีนิสัยสงบเงียบ” พบครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย ทั่วโลก มี 6 ชนิดย่อย ประเทศไทยพบ 3 ชนิดย่อย คือ

  1. Irena puela puela (Latham) ที่มาและความหมายของชื่อชนิดย่อยเช่นเดียวกับชื่อชนิด
  2. Irena puella sikkimensis Whostler and Kinnear ชื่อชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่ที่พบครั้งแรกคือ Sikkim ในรัฐเบงกอล ประเทศอินเดีย
  3. Irena puela malayensis Moore ชื่อ ชนิดย่อยดัดแปลงมาจากชื่อสถานที่คือประเทศมาเลเซีย พบครั้งแรกที่ Malacca

กระจายพันธุ์
ในอินเดีย จีนด้านตะวันตกเฉียงใต้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หมู่เกาะอันดามัน หมู่เกาะซุนดาใหญ่ และเกาะปาลาวัน

ลักษณะทั่วไป
เป็นนกขนาดเล็ก (25 ซม.) ตาสีแดง ตัวผู้มีลำตัว ปีกและหางเป็นสีดำ ลำตัวด้านบนและขนคลุมหางด้านล่างสีน้ำเงินสดใส ตัวเมียสีน้ำเงินคล้ำเกือบตลอดทั้งตัว ขนปลายปีกและขนหาง เป็นสีดำเช่นเดียวกับตัวผู้

อุปนิสัยและอาหาร
อาศัยอยู่ตามป่าเบญจพรรณ ป่าดงดิบแล้ง และป่าดงดิบเขา ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั้งความสูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล มักพบอยู่เป็นคู่หรือเป็นฝูงเล็ก ๆ ปกติอาศัยและหากินตามยอดไม้สูง แต่บางครั้งอาจลงมายังไม้พุ่มเตี้ย มักเคลื่อนที่จากกิ่งไม้หนึ่งไปยังอีกกิ่งไม้หนึ่งด้วยการกระโดดหรืออาจบินจากต้นไม้หนึ่งไปยังอีกต้นไม้หนึ่ง ระหว่างการเคลื่อนไหวหรือเคลื่อนที่มักส่งเสียงร้องไปด้วย อาหาร ได้แก่ ผลไม้เนื้ออ่อน เช่น ไทร หว้า ผลของไม้เถา บางชนิด โดยการใช้ปากเด็ดผลออกจากขั้ว แล้วกลืนทั้งผล นอกจากนี้ยังกินน้ำหวานดอกไม้ โดยเฉพาะทองหลางป่า งิ้วป่า กาฝาก และยังหากินหนอนและแมลงตามกิ่งไม้และยอดไม้ ไม่ค่อยพบลงมายังพื้นดิน

การผสมพันธุ์
ผสมพันธุ์ในช่วงฤดูร้อนตลอดถึงฤดูฝนระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนกรกฎาคม ทำรังตามกิ่งไม้ที่ค่อนข้างทึบ รังเป็นรูปถ้วยแบนกว้าง อยู่สูงจากพื้นดินประมาณ 3.0-4.0 เมตรหรือสูงกว่า รังโดยเฉลี่ยมีเส้นผ่านศูนย์กลางภายนอก 14.46 ซม. เส้นผ่านศูนย์กลางภายใน 8.57 ซม. และลึก 2.56 ซม. (ไกรรัตน์, 2,539) ประกอบด้วยกิ่งไม้เล็ก ๆ ใบไม้ เถาวัลย์ มอส ไลเคน สานเข้าด้วยกันและเชื่อมด้วยใยแมงมุม ตัวเมียตัวเดียวที่สร้างรัง ตัวผู้คอยอยู่ใกล้ ๆ พร้อมกับการส่งเสียงร้อง ซึ่งอาจเป็นการประกาศอาณาเขตไม่ให้นกคู่อื่นหรือตัวอื่นเข้ามาใกล้หรือแย่งสถานที่สร้างรัง

ไข่
รังมีไข่ 2 ฟอง หายากที่มี 3 ฟอง ไข่เป็นรูปรี สีขาวอมน้ำตาล มีรอยแต้มสีน้ำตาลเข้มหรือสีม่วง โดยจะมีมากบริเวณไข่ด้านป้าน ขนาดของไข่โดยเฉลี่ย 20.5x28.2 มม. ตัวเมียตัวเดียวที่ฟักไข่ โดยใช้เวลา 16-17 วัน ทั้งสองเพศช่วยกันเลี้ยงดูลูกอ่อน โดยใช้เวลา 15-16 วัน

สถานภาพ
เป็นนกประจำถิ่น พบบ่อยและปริมาณปานกลาง ชนิดย่อย sikkimensis พบทางภาคเหนือ ชนิดย่อย puella พบทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงใต้ ภาคตะะวันตก และภาคใต้ตอนบน และชนิดย่อย malayensis พบทางภาคใต้

กฎหมาย
กฎหมายจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง


Irena puella02.jpg Irena puella03.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcR62Htc_ZSpVIso8Zd3oqrF0BHIA5r6QQxE-y6w87H8Bf4y7Hqw5A&s
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSMzgX2ELnzR6ww-LcopLq9OiAMJvbmPwcnosu2wWjur_a8aqlnrg&s
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/db/Asian_fairy_bluebird%40_aralam_wls.jpg