เหยี่ยวดำท้องขาว

จาก ระบบฐานข้อมูลชนิดนกชนิดนกในอุทยานแห่งชาติเขาสก อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
รุ่นปรับปรุงเมื่อ 21:31, 1 กุมภาพันธ์ 2563 โดย Khaosokbird (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''' : Accipitridae<br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Spizaetus...")

(ต่าง) ←รุ่นปรับปรุงก่อนหน้า | รุ่นล่าสุด (ต่าง) | รุ่นปรับปรุงถัดไป→ (ต่าง)
Spizaetus alboniger1.jpg

วงศ์ : Accipitridae
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Spizaetus alboniger Blyth, 1845.
ชื่อสามัญ : Blyth’s Hawk-eagle
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่นๆ : -

กระจายพันธุ์
ในอุษาคเนย์ เฉพาะภาคใต้ของประเทศไทย ประเทศมาเลเซีย เกาะสุมาตราและบอร์เนียวเท่านั้น

ลักษณะทั่วไป
ขนาด 50-58 เซนติเมตร ความยาวปีก 1.00 -1.15 เมตร น้ำหนักตัว ตัวผู้/ตัวเมีย 0.83 กิโลกรัม ตัวผู้ขนาดเล็กกว่าตัวเมีย แต่ชุดขนเหมือนกัน ตัวเต็มวัย ชุดขนสีขาวดำ ขณะบิน ขนคลุมใต้ปีกสีดำเป็นลายขวาง ใต้ปีก มีแถบดำเล็กสามแถบ เว้นระยะห่างจากแถบดำหนาที่ขอบปีกท้ายมากกว่าระหว่างแถบด้านใน ทั้งสาม คล้ายใต้ปีกของเหยี่ยวผึ้งตัวเต็มวัย แต่สังเกตความหนาของแถบด้านใน ใต้หางมีแถบสามแถบ ดำสลับขาว แถบขาวตรงกลางหนาที่สุด ขณะเกาะ คอขาวมีขีดกลางสีดำเด่น อกขาวมีลายขีดรูปหยดน้ำขนาดใหญ่ ท้อง สีข้าง โคนขา และขนคลุมก้นมีลายขวางสีดำ บนปีกสีดำสนิท ม่านตาสีส้ม วัยเด็ก ขณะเกาะ หงอนสีดำยาว ปลายมีจุดขาว กระหม่อม แก้มสีส้มและจางลงเป็นสีปูนแห้งที่ส่วนล่างของลำตัวและโคนขาที่ไม่มีลาย แถบหางห้าแถบ ดำสลับเทา ความหนาใกล้เคียงกัน บนปีกสีน้ำตาลมีขลิบสีขาว ม่านตาสีครีม วัยรุ่น ใต้ปีก คล้ายวัยเด็ก แต่ขนหางผลัดขนแล้วคล้ายตัวเต็มวัย ขนคลุมใต้ปีกสีเนื้อมีลายขวางสีดำมากขึ้น

อุปนิสัยและอาหาร
ล่านกและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมกินเป็นอาหารหลัก

สถานภาพ
เหยี่ยวประจำถิ่น พบในป่าดิบหรือชายป่า เช่น สวนยางหรือ สวนปาล์มที่ภาคใต้


Spizaetus alboniger2.jpg Spizaetus alboniger3.jpg

แหล่งที่มาของภาพ
https://live.staticflickr.com/8031/8067764383_b767261109_b.jpg
https://encrypted-tbn0.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSyWvD_9cOPDz85ZWK2jZ9Ju_60UthmqaHuhShmOb9fnr6I6PS2Qg&s
https://i.pinimg.com/474x/03/96/9e/03969eece095e555ccca153eb49ab565.jpg