ข้าวกล้อง

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Rice.png

วงศ์ : POACEAE หรือ GRAMINEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Oryza sativa L.
ชื่อสามัญ : Rice
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ต้นข้าวสามารถโตได้ถึง 1 - 1.8 เมตร ขึ้นอยู่กับพันธุ์และความอุดมสมบูรณ์ของดินเป็นหลัก
ใบ : มีใบเรียว ยาว 50 - 100 เซนติเมตร และกว้าง 2 - 2.5 เซนติเมตร
ดอก : ช่อดอกห้อยยาว 30 - 50 เซนติเมตร
ผล : เมล็ดกินได้เป็นผลธัญพืชยาว 5 - 12 มิลลิเมตร และหนา 2 - 3 มิลลิเมตร
การขยายพันธุ์ : การปลูกข้าวในดินแห้ง การหยอดเมล็ด ใช้ในการปลูกข้าวไร่โดยหยอดเมล็ดลงแปลงปลูกโดยตรง การหว่านข้าวแห้ง เป็นการหว่านเมล็ดข้าวแห้งลงในแปลง ปลูกภายหลังจากมีการคราดพื้นที่ ก่อนที่จะมีการขังน้ำในนาในระดับสูง การปลูกข้าวในดินที่มีน้ำขัง การปักดำ เป็นการปลูกต้นข้าวในแปลงเพาะกล้าแล้วย้ายกล้าไปปักดำในแปลงปลูก ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้ในนาน้ำฝนและนาชลประทาน การหว่านน้ำตม เป็นการแช่เมล็ดข้าวเปลือกในน้ำให้เริ่มงอก ก่อนนำไปหว่านในนาที่เตรียมพื้นที่ในสภาพมีน้ำท่วมขังเล็กน้อย เมื่อต้นข้าวงอกและเจริญเติบโตจึงค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำที่ท่วมขังในนาข้าว

สรรพคุณ

1. ช่วยบำรุงร่างกาย เพิ่มพลังงานให้กับร่างกาย ฟื้นฟูกำลัง ป้องกันอาการอ่อนเพลีย (วิตามินบี 2)
2. ช่วยเสริมสร้างการเจริญโตของร่างกาย
3. ข้าวกล้องมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอความแก่ชรา (ข้าวกล้องงอก)
4. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่งสดใส (วิตามินอี)
5. ข้าวกล้องมีวิตามินบี 3 ซึ่งบำรุงสุขภาพผิวหนังและลิ้นได้
6. ช่วยเสริมสร้างการทำงานของระบบประสาท (โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวกล้อง)
7. ข้าวกล้องงอกช่วยป้องกันและลดโอกาสการเกิดโรคความจำเสื่อมหรือโรคอัลไซเมอร์
8. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหารได้ (วิตามินบี 2)
9. ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ฟอสฟอรัส)
10. ช่วยป้องกันและเสริมสร้างการสึกหรอของร่างกาย (โปรตีน)
11. ลูทีนในข้าวช่วยบำรุงและรักษาสายตา ป้องกันโรคต้อกระจก จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่ทำงานในออฟฟิศหรือต้องใช้สายตาอย่างหนักในการนั่งหน้าคอมพ์นาน ๆ (ลูทีน, เบตาแคโรทีน)
12. ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง (ธาตุเหล็ก, ธาตุทองแดง)
13. ช่วยลดการจับตัวของลิ่มเลือด ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและโรคหลอดเลือด (เบตาแคโรทีน, วิตามินอี)
14. ช่วยเสริมสร้างเม็ดเลือดแดง ส่งออกซิเจนในเลือดไปสู่อวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย (ธาตุเหล็ก)
15. ประโยชน์ของข้าวหอมมะลิ ใยอาหารของข้าวหอมมะลิกล้องจะช่วยดูดซับของเสียและสารพิษต่าง ๆ ออกจากร่างกายได้ (ข้าวหอมมะลิกล้อง)
16. เส้นใยอาหารของข้าวหอมนิลมีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (ข้าวหอมนิล)
17. ช่วยแก้ร้อนใน กระหายน้ำ (น้ำข้าว)
18. ช่วยรักษาอหิวาตกโรค (น้ำข้าว)
19. ช่วยแก้อาเจียนเป็นเลือด (น้ำข้าว)
20. ช่วยป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน (ข้าวหอมมะลิกล้อง)
21. ข้าวหอมมะลิแดงช่วยป้องกันโรคคอหอยพอก (ไอโอดีน)
22. ช่วยแก้ตาแดง (น้ำข้าว)
23. ช่วยแก้เลือดกำเดา (น้ำข้าว)
24. ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก (แผลที่มุมปาก) และริมฝีปากบวม (วิตามินบี 2)
25. ช่วยเสริมการทำงานของกระเพาะอาหารและลำไส้ (โดยเฉพาะข้าวกล้อง)
26. ช่วยแก้อาการอาหารไม่ย่อย (น้ำข้าว)
27. การรับประทานข้าวกล้องจะได้กากอาหารมากเป็นพิเศษ ซึ่งจะช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูกและมะเร็งลำไส้ได้เป็นอย่างดี
28. ช่วยรักษาโรคท้องร่วง (ข้าวผัวไม่ลืม)
29. ข้าวประโยชน์ช่วยแก้พิษต่าง ๆ (น้ำข้าว)
30. ช่วยลดการเกิดหรือลดอาการของการเป็นตะคริวได้ (แคลเซียม)
31. ช่วยป้องกันโรคเหน็บชาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าวกล้อง ข้าวซ้อมมือ ข้าวนึ่งก่อนสี เพราะจะมีวิตามินบี 1 สูง
32. ประโยชน์ข้าวกล้องงอกช่วยให้ผ่อนคลายและหลับสบายมากยิ่งขึ้น (ข้าวกล้องงอก)
33. ข้าวกล้องช่วยลดอาการผิดปกติต่าง ๆ ของหญิงวัยทอง (ข้าวกล้องงอก)
34. ช่วยรักษาอาการตกเลือดหลังคลอดได้ (ข้าวผัวไม่ลืม)

ประโยชน์

1. เมล็ดข้าว สามารถนำมาทำเป็นเครื่องประดับได้
2. รำข้าวสามารถนำมาใช้ทำเป็น น้ำมันรำข้าว ใช้เป็นอาหารสัตว์ได้ ทำลิปสติก ทำยาหม่อง ทำแวกซ์ หรือทำเป็นโลชันบำรุงผิว ฯลฯ
3. ฟางข้าวสามารถใช้ทำเป็นปุ๋ย ปลูกเห็ด ทำเป็นของเล่น กระดาษ ทำเป็นแกลบหรือขี้เถ้า ผสมทำเครื่องปั้นดินเผา ถ่านกัมมันต์หรือถ่านดูดกลิ่น ใช้เป็นส่วนผสมของยาขัดรถ ฯลฯ
4. ประโยชน์ข้าวนอกจากจะใช้บริโภคเป็นอาหารหลักแล้วยังใช้ทำเป็นของหวานชนิดต่าง ๆ อีกด้วย ไม่ว่าจะเป็น ขนมไทย เช่น ลอดช่อง ขนมตาล ขนมกล้วย ฝอยทอง ทองหยิบ ทองหยอด ขนมหม้อแกง ปลากริมไข่เต่า ทำเป็นแป้งข้าวเจ้า แป้งข้าวเหนียว ฯลฯ

คำแนะนำ

1. ข้าวที่สีเพียงครั้งเดียว โดนกะเทาะเอาเปลือกนอกออกเท่านั้น จะไม่มีการขัดสีเอาเส้นใยที่อยู่รอบ ๆ เมล็ดออก โดยหลักการเลือกซื้อข้าวกล้องให้ได้ประโยชน์สูงสุด
2. เมล็ดข้าวจะต้องสมบูรณ์ ไม่แตกหักหรือแหว่งตรงปลายเมล็ด เพราะถ้าเมล็ดแหว่งหรือแตกหักก็แสดงว่าจมูกข้าวหายไปแล้ว ซึ่งตรงนี้แหละสำคัญมาก ๆ เพราะจมูกข้าวเป็นแหล่งรวมสารอาหารที่มากที่สุดในเมล็ดข้าว
3. สีของเมล็ดต้องขาวขุ่น หรือมีสีน้ำตาลปนบ้างเล็กน้อยขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ บางครั้งอาจจะมีสีเขียวอ่อน ๆ ติดอยู่ นั่นแสดงว่าเป็นข้าวที่เพิ่งเก็บเกี่ยวใหม่ ๆ เยื่อหุ้มจึงยังติดอยู่
4. เมล็ดข้าวต้องแห้งสนิท ไม่มีความชื้น ไม่มีราขึ้น บรรจุอยู่ในถุงที่ปิดสนิท และมีแหล่งที่ผลิตชัดเจน
5. การซื้อแต่ละครั้งควรซื้ออย่างพอเหมาะกับสมาชิกในครอบครัวที่รับประทานได้ 1 - 2 อาทิตย์ เพื่อความสดใหม่

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=4eMuQTETwhA

>>> ข้าวกล้อง <<<


Rice1.png Rice2.png Rice3.png Rice4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://prayod.com/wp-content/uploads/2019/10/ข้าวกล้อง.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/blog_data/100/14100/images/rice.jpg
http://www.ricethailand.go.th/rkb3/rice_blb_ooze_05_009.JPG
https://data.photo-ac.com/data/thumbnails/d9/d93a379b74a283c5b52a9072dff89bf4_t.jpeg
https://favy-inbound-singapore.s3.amazonaws.com/uploads/topic_item/image/70810/retina_Rice_plant.jpg