ตำลึง
วงศ์ : CUCURBITACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Coccinia grandis (L.) Voigt
ชื่อสามัญ : Ivy gourd
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ตำลึง, สี่บาท, ผักแคบ, ผักตำนิน, แคเด๊าะ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ต้นตำลึงจัดเป็นไม้เลื้อย
ใบ : มีใบเป็นใบเดี่ยว มีมือเกาะ ใบตำลึงจะแผ่เว้าเป็น 5 แฉก ขนาดใบตำลึงมีความกว้างประมาณ 5 - 8 เซนติเมตร โคนใบเป็นรูปหัวใจ ปลายใบแหลมมน ผิวใบเกลี้ยง ก้านใบยาว 3 - 6 เซนติเมตร
ดอก : ดอกตำลึงมีสีขาว เป็นดอกเดี่ยว แยกเพศ ดอกตำลึงเพศผู้จะมีขนาด 4 - 6 เซนติเมตร 1 ดอก มีอยู่ 5 กลีบ เกสรตัวผู้ 3 อัน ส่วนดอกตำลึงเพศเมีย เกสรจะแยกเป็น 3 - 5 แฉก ส่วนกลีบดอกเหมือนดอกตำลึงเพศผู้
ผล : ผลตำลึงมีรูปทรงป้อม ขอบขนาน ขนาดผลกว้างประมาณ 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 5 เซนติเมตร ถ้าผลตำลึงอ่อนจะมีสีเขียว ผลตำลึงแก่จะมีสีส้มออกแดง ข้างในผลตำลึงจะมีเมล็ดลักษณะแบนรี ขนาดประมาณ 2 - 3 มิลลิเมตร จำนวนมาก
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด และการปลูกด้วยเถา การเพาะเมล็ดนั้นก็กระทำเช่นเดียวกับการเพาะเมล็ดพืชทั่ว ๆ ไปแต่วิธีนี้ค่อนข้างจะใช้เวลานานกว่าวิธีปลูกด้วยเถา เพราะวิธีที่สองนี้เพียงแต่เอาเถาตำลึงที่แก่มาตัดออกเป็นท่อน ๆ ให้ยาวประมาณ 6 - 8 นิ้วแล้วนำไปชำไว้ในกระบะเพาะชำ หรือจะนำไปปลูกเลยก็ได้ ถ้าจะให้ดีควรปลูกในหน้าฝน ต้นตำลึงจะงอกงามเร็วกว่าปลูกในช่วงอื่นประมาณเดือนเดียวหลังจากปลูกเท่านั้น ก็จะสามารถเก็บยอดตำลึง รับประทานได้และก็จะเก็บได้ตลอดไป ยิ่งเก็บมากเท่าไรยอดใหม่ก็จะยิ่งแตกออก มามากจนเก็บไม่ทัน
สรรพคุณ
- 1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันความเสื่อมความเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
- 2. ช่วยบำรุงผิวพรรณ ช่วยซ่อมแซมและสร้างเนื้อเยื่อในร่างกาย
- 3. ช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
- 4. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งในกระเพาะอาหาร
- 5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้เถาแก่ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำหรือจะใช้น้ำคั้นจากผลดิบ นำมาดื่มวันละ 2 รอบ เช้า,เย็น จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด เพิ่มระดับอินซูลิน
- 6. ช่วยป้องกันการเกิดโรคโลหิตจาง (ใบ, น้ำคั้นตำลึง)
- 7. ช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด จึงช่วยป้องกันการเกิดอัมพาตด้วย
- 8. ช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง (แคลเซียม)
- 9. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (วิตามินเอ)
- 10. ช่วยบำรุงเลือด (ใบ)
- 11. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิต (ใบ)
- 12. ช่วยป้องกันและรักษาโรคหลอดเลือดแข็ง ตีบตัน และแตกได้
- 13. ช่วยบำรุงน้ำนมแม่ (ใบ)
- 14. ช่วยป้องกันการเกิดโรคเลือดออกตามไรฟัน (วิตามินซี)
- 15. ใช้ดับพิษร้อน แก้ไข้ตัวร้อน (ใบ)
- 16. ช่วยลดไข้ (ราก)
- 17. ช่วยแก้อาเจียน (ราก)
- 18. แก้อาการวิงเวียนศีรษะ ด้วยการใช้เถาตำลึงชงกับน้ำดื่ม (เถา)
- 19. ใช้แก้อาการตาแดง เจ็บตา (ใบ)
- 20. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคจอประสาทตาเสื่อม และยังช่วยป้องกันการเสื่อมของศูนย์จอตาได้อีกด้วย เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องนั่งอยู่หน้าคอมพ์นาน ๆ และมีอาการสายตาอ่อนล้า
- 21. แก้อาการตาแดง ตาฟาง ตาช้ำ ตาแฉะ พิษอักเสบในตา ด้วยการใช้เถาตำลึง นำน้ำต้มจากเถามาหยอดตา (เถา)
- 22. ช่วยแก้อาการตาช้ำแดง ด้วยการตัดเถาเป็นท่อนยาว 2 นิ้วนำมาคลึงพอช้ำแล้วเป่า จะเกิดฟองใช้หยอดตา (เถา)
- 23. แก้อาการตาฝ้า (ราก)
- 24. แก้อาการผิดสำแดงเพราะกินของแสลง โดยใช้เถาตำลึงตัดเป็นท่อนยาว 1 คืบ (จำนวน 3 - 4 ท่อน) นำไปใส่ในหม้อดินสุมไฟด้วยฟางจนไหม้เป็นขี้เถ้า นำมาบดให้ละเอียดแล้วผสมกับน้ำซาวข้าวดื่มครั้งละ 1 ถ้วยชา (เถา)
- 25. ช่วยลดอาการท้องอืดท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการรับประทานใบตำลึงสด ๆ (ใบ)
- 26. ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ช่วยระบายท้อง (เปลือกราก, หัว)
- 27. ช่วยขับสารพิษในลำไส้ (ใบ)
- 28. ช่วยป้องกันอาการท้องผูก (ใบ)
- 29. ช่วยแก้ผดผื่นคัน ด้วยการใช้ใบตำลึงนำมาตำแล้วทาบริเวณที่คัน (ใบ, ดอก)
- 30. ช่วยลดอาการคันและการอักเสบเนื่องจากพืชมีพิษหรือถูกแมลงสัตว์กัดต่อย เช่น หมามุ่ย ถูกตัวบุ้ง ยุงกัด ใบตำแย แพ้ละอองข้าว พิษคูน พิษกาฬ เป็นต้น ด้วยการใช้ใบสด 1 กำ นำมาตำให้ละเอียดผสมกับน้ำ แล้วคั้นเอาน้ำมาทาบริเวณดังกล่าวจนกว่าจะหายดี (ใบ)
- 31. ช่วยแก้ฝีแดง (ใบ)
- 32. ช่วยดับพิษฝี (ใบ)
- 33. แก้อักเสบ ด้วยการใช้น้ำจากเถาทาบริเวณที่เป็น (เถา)
- 34. ช่วยดับพิษต่าง ๆ (เถา, ราก)
- 35. ใช้รักษาแผลอักเสบ ด้วยการใช้ใบสดหรือรากสด นำมาตำแล้วพอกบริเวณแผล (ใบ, ราก)
- 36. ช่วยบรรเทาอาการปวดแสบปวดร้อน (ใบ)
- 37. ช่วยแก้หิด ด้วยการใช้เมล็ดตำผสมน้ำมันมะพร้าวแล้วนำมาทาบริเวณที่เป็น (เมล็ด)
- 38. แก้งูสวัด เริม ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 2 กำมือ (ล้างให้สะอาด) นำมาผสมกับพิมเสนหรือดินสอพอง 1 ใน 4 ส่วน แล้วนำมาพอกบริเวณที่เป็น (ใบ)
- 39. ช่วยป้องกันการเป็นตะคริว (ใบ)
ประโยชน์
- 1. ช่วยกำจัดกลิ่นตัว กลิ่นเต่า ด้วยการใช้ต้นตำลึง (ทั้งเถาและใบ) นำมาตำผสมกับปูนแดงแล้วทาบริเวณรักแร้
- 2. ใช้ทำทรีตเม้นต์ทำให้ผิวหน้าเต่งตึง ด้วยการใช้ยอดตำลึงครึ่งถ้วยและน้ำผึ้งแท้ครึ่งถ้วย นำมาผสมกันแล้วปั่นในโถให้ละเอียด แล้วนำมาพอกหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีแล้วล้างออก (ยอดตำลึง)
- 3. ใช้เป็นยารักษาตาไก่ (ไก่ที่ถูกยุงกัดจนตาบวม เป็นพยาธิ มีหนองขาวและแข็งภายในของเปลือกตา) อย่างแรกให้พลิกเอาหนองขาวแข็งออกจากตาไก่ก่อน แล้วใช้เถาตำลึงแก่ ๆ (ขนาดเท่านิ้วก้อย) มาตัดเป็นท่อน ๆ (ตัดข้อทิ้ง) แล้วใช้ปากเป่าด้านหนึ่งจนเกิดฟอง หลังจากนั้นให้เอามือเปิดเปลือกตาไก่ออกแล้วเอาฟองที่ได้หยอดตาไก่วันละครั้งจนหายดี (เถา)
- 4. ประโยชน์ของผักตำลึง นิยมใช้ยอดและใบกินเป็นผักสด อาจจะลวกหรือต้มจิ้มกินกับน้ำพริก และใช้ในการประกอบอาหารได้หลายอย่าง เมนูตำลึง เช่น แกงจืด ต้มเลือดหมู แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยว ผัดไฟแดง ไข่เจียว เป็นต้น (ยอด, ใบ)
- 5. ผลอ่อนของตำลึงนำมากินกับน้ำพริก หรือจะนำมาดองกิน ส่วนผลสุกมีรสอมหวาน กินได้เช่นกัน (ผล)
คำแนะนำ
- 1. ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
- 1. ตำลึงมีฤทธิ์เป็นยาเย็น เมื่อทาน้ำตำลึงที่ผิวหนังแล้วไม่รู้สึกเย็นแปลว่าไม่ถูกโรค ให้หยุดใช้ทันที การทาน้ำตำลึงไม่ควรถูแรงจนเกินไปในบริเวณที่เป็นผิวบอบบาง เพราะจะทำให้เกิดอาการอักเสบเพิ่มมากขึ้น
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> ตำลึง <<<
แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/07/Ivy-Gourd-1.jpg
https://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/294816.jpg
https://www.baanlaesuan.com/app/uploads/2017/05/00-1.jpg
https://upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/3/37/Coccinia_grandis.jpg
http://www.the-than.com/samonpai/w51.jpg