บุก

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Umbrella-arum.png

วงศ์ : ARACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Amorphophallus konjac K.Koch
ชื่อสามัญ : Devil’s tongue, Shade palm, Umbrella arum
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : หมอ ยวี จวี๋ ยั่ว, หมอยื่อ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : จัดเป็นพรรณไม้ล้มลุกที่มีอายุหลาย ลำต้นแทงขึ้นมาจากหัวใต้ดิน มีความสูงของต้นประมาณ 50 - 150 เซนติเมตร หัวที่อยู่ใต้ดินนั้นมีขนาดใหญ่ ลักษณะของหัวเป็นรูปค่อนข้างกลมแบนเล็กน้อย หรือกลมแป้น มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25 เซนติเมตร ผิวเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือสีดำ ลำต้นและกิ่งก้านมีลักษณะกลมใหญ่ เปลือกลำต้นเป็นสีเขียวมีลายแต้มสีขาวปะปนอยู่
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก มีใบย่อยเรียงสลับ ลักษณะของใบเป็นรูปไข่กลมรี ปลายใบแหลม ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดยาวประมาณ 15 - 20 เซนติเมตร
ดอก : ออกดอกเป็นดอกเดี่ยว ลักษณะของดอกเป็นรูปทรงทรงกระบอกกลมแบน มีกลิ่นเหม็น สีม่วงแดงอมเขียว มีกาบใบยาวประมาณ 30 เซนติเมตร สีม่วงอมเหลือง โผล่ขึ้นพ้นจากกลีบเลี้ยงที่มีสีม่วง
ผล : ลักษณะของผลเป็นรูปกลมแบน เมื่อสุกจะเป็นสีส้ม
การขยายพันธุ์ : ปลูกโดยการเพาะเมล็ด, การแตกหน่อจากหัวเดิม, การใช้เหง้า, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ

สรรพคุณ

1. หัวบุกมีรสเผ็ด เป็นยาร้อน มีพิษ ออกฤทธิ์ต่อม้าม ตับ และระบบทางเดินอาหาร มีสรรพคุณช่วยลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด (หัว)
2. ใช้เป็นอาหารสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานและผู้ป่วยโรคไขมันในเลือดสูง ด้วยการแยกแป้งจากส่วนที่เป็นเนื้อทราย แล้วชงกับน้ำดื่ม โดยให้ใช้แป้ง 1 ช้อนชา ต่อน้ำ 1 แก้ว นำมาชงกับน้ำดื่มก่อนอาหารครึ่งชั่วโมงวันละ 2 - 3 มื้อ
3. หัวใช้เป็นยารักษาโรคมะเร็ง (หัว)
4. ใช้เป็นยาแก้ไข้จับสั่น (หัว)
5. ช่วยแก้อาการไอ (หัว)
6. หัวใช้เป็นยากัดเสมหะ ละลายเสมหะ ช่วยกระจายเสมหะที่อุดตันบริเวณหลอดลม (หัว)
7. หัวบุกมีรสเบื่อคัน ใช้เป็นยากัดเสมหะเถาดาน และเลือดจับกันเป็นก้อน (หัว)
8. หัวนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้โรคท้องมาน (หัว)
9. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร (ราก)
10. ช่วยแก้ประจำเดือนไม่มาของสตรี (หัว) ช่วยขับระดูของสตรี (ราก)
11. หัวนำมาต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้โรคตับ (หัว)
12. ใช้แก้พิษงู (หัว)
13. ใช้เป็นยาแก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก (หัว)
14. หัวใช้หุงเป็นน้ำมัน ใช้ใส่บาดแผล กัดฝ้าและกัดหนองได้ดี (หัว) บางข้อมูลระบุว่ารากใช้เป็นยาพอกฝีได้ (ราก)
15. ใช้แก้ฝีหนองบวมอักเสบ (หัว)
16. หัวใช้เป็นยาแก้ปวดบวม แก้ฟกช้ำดำเขียว (หัว)
17. บุกเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณยิ่งกว่าไวอากร้า หรือเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศ โดยคุณนิล ปักษา (บ้านหนองพลวง ต.โคกกลาง อ.ลำปลายมาศ จ.บุรีรัมย์) แนะนำให้ลองพิสูจน์ ด้วยการเอาไม้พาดปากหม้อแล้วนำสมุนไพรบุกคางคก เอาพวงเมล็ดนำมาย่างไฟให้หอมก่อน แล้วใช้ผูกกับไม้ห้อยจุ่มลงไปในหม้อต้มใส่น้ำพอท่วมเมล็ดบุก ต้มจนเมล็ดบุกร่วงลงหม้อ ตัวยาก็จะไหลลงมาด้วย เมื่อเดือดแล้วก็ให้เติมน้ำตาลทรายแดงพอประมาณลงไปต้มให้พอหวาน หลังจากนั้นลองชิมดู ถ้ายังมีอาการคันคออยู่ก็ให้เติมน้ำตาลเพิ่มแล้วค่อยชิมใหม่ ถ้าไม่มีอาการคันคอก็แสลงว่าใช้ได้ และให้นำสมุนไพรโด่ไม่รู้ล้มใส่เข้าไปด้วยประมาณ 1 กำมือ แล้วต้มให้เดือด ปล่อยให้เย็นและเก็บไว้ในตู้เย็น ใช้ดื่ม 1 เป็ก ประมาณ 30 นาที จะปวดปัสสาวะโดยธรรมชาติ หลังจากอาวุธนั้นจะพร้อมสู้ทันที (ผล)

ประโยชน์

1. คนไทยเรานิยมนำหัวบุกไปทำเป็นอาหารทั้งคาวและหวานเช่นเดียวกับเผือก เช่น แกงบวชมันบุก แกงอีสาน นำไปทอดหรือใส่ในแกงกะหรี่ หรือจะนำมาฝานเป็นแผ่นแล้วนำมานึ่งหรือย่างกินเป็นขนมบุก ส่วนต้นอ่อนที่ปอกเปลือกออกแล้ว ใบอ่อน และก้านใบอ่อนก็สามารถนำมาทำอาหารคล้าย ๆ กับบอนได้ เช่น แกงส้ม แกงเลียง ห่อหมก หรือนำมาต้มลวกจิ้มกับน้ำพริกรับประทานได้ (ก่อนนำมาปรุงเป็นอาหารต้องเอาไปต้มก่อน โดยใส่ลงไปตอนที่น้ำกำลังเดือดเพื่อให้พิษหมดไป) แต่ในปัจจุบันไม่เป็นที่นิยมรับประทานกันแล้ว เนื่องจากขั้นตอนก่อนนำมาปรุงเป็นอาหารนั้นยุ่งยากเกินไปนั่นเอง
2. สำหรับในผู้ป่วยโรคเบาหวาน บุกสามารถช่วยควบคุมหรือลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ (เนื่องจากไปช่วยลดการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคสในระบบทางเดินอาหาร) และบุกยังเป็นอาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้ป่วยระหว่างพักฟื้น เป็นอาหารที่ช่วยดูดสารพิษ ขจัดไขมันในเลือด และปรุงเป็นอาหารรักษาสุขภาพ
3. ในประเทศญี่ปุ่นนิยมใช้หัวบุกมาทำเป็นอาหารลดความอ้วน เพราะการรับประทานหัวบุกเป็นประจำจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ช่วยลดน้ำหนัก และช่วยควบคุมน้ำหนักตัวได้ เพราะสารกลูโคแมนแนนที่พองตัวจะไปห่อหุ้มอาหารที่เรารับประทานเข้าไป ไม่ให้สัมผัสกับน้ำย่อย จึงใช้ในการควบคุมน้ำหนักตัวได้ นอกจากนี้ยังช่วยดูดซับไขมันและกรดน้ำดี และขับถ่ายออกนอกร่างกาย จึงช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ได้
4. ช่วยในการขับถ่ายและระบาย เนื่องจากการพองตัวของกลูโคแมนแนนในทางเดินอาหาร จะไปกระตุ้นทางเดินอาหารส่วนล่าง โดยเฉพาะลำไส้ใหญ่ให้เกิดการบีบตัวขับกากอาหารที่คั่งค้างอยู่ออกมา จึงช่วยป้องกันการเกิดมะเร็งในลำไส้ใหญ่ได้
5. ช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคกระเพาะอาหารเป็นแผลจากกรดหรือน้ำย่อย
6. ปัจจุบันได้มีการนำหัวบุกหรือแป้งบุกมาใช้ทำเป็นผลิตภัณฑ์อาหารผงบุก (เช่น วุ้นเส้นบุก, เส้นหมี่แป้งหัวบุก, วุ้นบุกก้อน, ขนมบุก) เครื่องดื่มรูปแบบต่าง ๆ (เช่น เครื่องดื่มบุกผง) ใช้ในอุตสาหกรรมยาและเครื่องสำอาง รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก ลดความอ้วน และลดไขมันในเลือดกันอย่างแพร่หลาย (เช่น ผงบุก หรือ แคปซูลผงบุก) ซึ่งก็สามารถลดน้ำหนักได้ในระดับหนึ่ง มีความปลอดภัยต่อร่างกาย เพราะเมื่อกินแล้วทำให้อิ่มง่าย ระบบขับถ่ายทำงานดีขึ้น ช่วยระบายท้อง และไม่ทำให้อ้วน
7. มีข้อมูลว่าในต่างประเทศนั้นได้ใช้ต้นบุกเป็นอาหารสัตว์สำหรับการเลี้ยงหมูมานานแล้ว
8. กากจากหัวบุกอาจนำมาใช้ผสมดินทำเป็นแนวกันพังในพื้นที่เชิงเขาได้
9. นอกจากนี้ยังมีรายงานว่ามีการใช้น้ำจากหัวบุกต้มผสมกับยางน่อง สำหรับไว้ใช้ยิงสัตว์ด้วย
10. นอกจากประโยชน์ตามที่กล่าวมาแล้ว ต้นบุกยังใช้ปลูกเป็นไม้ประดับสวยงามได้ด้วย โดยนักจัดสวนจะนิยมนำมาปลูกประดับตามใต้ร่มเงาของไม้ยืนต้น ปลูกใส่กระถางเป็นไม้ประดับทั่วไป หรือปลูกไว้ขาบเพื่อเพิ่มรายได้สำหรับเกษตรกร โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุกชนิดที่มีหัวเล็กใบกว้าง ที่มีชื่อว่า "บุกเงินบุกทอง" ซึ่งเป็นที่นิยมของนักเล่นว่านมีทั้งต้นเขียวและต้นแดง และมีราสูงอยู่พอสมควร

คำแนะนำ

1. ในเนื้อหัวบุกป่าจะมีผลึกของแคลเซียมออกซาเลท (Calcium oxalate) เป็นจำนวนมาก ที่ทำให้เกิดอาการคัน ส่วนเหง้าและก้านใบถ้าปรุงไม่ดีแล้วรับประทานเข้าไปจะทำให้ลิ้นพองและคันปากได้
2. ก่อนนำมารับประทานจะต้องกำจัดพิษออกก่อน และไม่รับประทานกากยาหรือยาสด
3. กรรมวิธีการกำจัดพิษจากหัวบุก ให้นำหัวบุกมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ตำพอแหลก คั้นเอาน้ำออกพักไว้ นำกากที่ได้ไปต้มน้ำ แล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปผสมกับน้ำที่คั้นครั้งแรก แล้วนำไปต้มกับน้ำปูนใสเพื่อให้พิษหมดไป เมื่อเดือดก็พักไว้ให้เย็น จะจับตัวกันเป็นก้อน จึงสามารถใช้ก้อนดังกล่าวในการปรุงอาหารหรือนำไปตากแห้งเพื่อใช้เป็นยาได้
4. ถ้าเกิดอาการเป็นพิษจากการรับประทานบุก ให้รับประทานน้ำส้มสายชูหรือชาแก่ แล้วตามด้วยไข่ขาวสด แล้วให้รีบไปพบแพทย์
5. เนื่องจากวุ้นบุกสามารถขยายตัวได้มาก (ไม่ต่ำกว่า 20 เท่าของเนื้อวุ้นแห้ง) จึงไม่ควรบริโภควุ้นบกภายหลังการรับประทาน แต่ให้รับประทานก่อนอาหารไม่น้อยกว่าครึ่งชั่วโมงถึงหนึ่งชั่วโมง ส่วนการบริโภคอาหารที่ผลิตจากวุ้น เช่น วุ้นก้อนและเส้นวุ้น สามารถบริโภคพร้อมอาหารหรือหลังอาหารได้ เพราะวุ้นดังกล่าวได้ผ่านกรรมวิธีและได้ขยายตัวมาก่อนแล้ว และการการที่จะขยายตัวหรือพองตัวได้อีกนั้นจึงเป็นไปได้ยาก ส่วนในเรื่องของคุณค่าทางโภชนาการนั้นพบว่าวุ้นบุกไม่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เนื่องจากไม่มีการย่อยสลายเป็นน้ำตาลในร่างกาย และไม่มีวิตามินและแร่ธาตุ หรือสารอาหารใด ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายเลย
6. กลูโคแมนแนนมีผลทำให้การดูดซึมของวิตามินที่ละลายในไขมันลดลง (ได้แก่ วิตามินเอ วิตามินดี วิตามินอี และวิตามินเค) ซึ่งจะไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพโดยรวมได้ แต่จะไม่มีผลต่อการดูดซึมของวิตามินที่ละลายในน้ำ (เช่น วิตามินบีรวม วิตามินซี)
7. การกินผงวุ้นบุกในปริมาณมาก อาจทำให้มีอาการท้องเดินหรือท้องอืด มีอาการหิวน้ำมากกว่าเดิม บางคนอาจมีอาการอ่อนเพลียเพราะระดับน้ำตาลในเลือดลดลงได้

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=K4c8wZyiQek

>>> บุก <<<


Umbrella-arum1.png Umbrella-arum2.png Umbrella-arum3.png Umbrella-arum4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2014/08/บุก.jpg
https://medthai.com/images/2014/08/ต้นบุก.jpg
https://medthai.com/images/2014/08/ใบบุก.jpg
http://2.bp.blogspot.com/-EYUaRCgLZAY/TXsqIRoD2PI/AAAAAAAAAGE/ygSN4NJkNmQ/s1600/Konjac%2B%2B3.jpg
http://oknation.nationtv.tv/blog/home/album_data/917/30917/album/44395/images/399817.jpg