พริก

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Chili.png

วงศ์ : SOLANACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Capsicum frutescens L.
ชื่อสามัญ : Chilli peppers, chili, chile, chilli
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ :

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ลำต้นพริกตั้งตรง สูงประมาณ 1 - 2.5 ฟุต โดยจะมีกิ่งเจริญจากต้นเพียงกิ่งเดียว แล้วค่อยแตกออกเป็น 2 กิ่ง 4 กิ่ง 8 กิ่ง 16 กิ่งไปเรื่อย ๆ ซึ่งในระยะแรกทั้งลำต้นและกิ่งจะเป็นไม้เนื้ออ่อน แต่พอมีอายุมากขึ้น ลำต้นจะแข็งแรงมากขึ้น แต่กิ่งยังเป็นไม้เนื้ออ่อนที่เปราะหักง่ายเหมือนเดิม
ใบ : เป็นใบเลี้ยงคู่ มีลักษณะแบนราบเป็นมัน มีขนเล็กน้อย โดยจะมีรูปร่างตั้งแต่รูปไข่ไปจนถึงทรงเรียวยาว โดยพริกแต่ละชนิดก็จะมีขนาดแตกต่างกันออกไป เช่น ใบพริกหวานมีขนาดค่อนข้างใหญ่ ใบพริกขี้หนูทั่วไปมีขนาดเล็กในช่วงเป็นต้นกล้า แต่พอโตเต็มที่ก็จะมีขนาดค่อนข้างใหญ่
ดอก : เป็นดอกสมบูรณ์เพศ คือมีเกสรตัวผู้และเกสรตัวเมียอยู่ภายในดอกเดียวกัน โดยปกติมักพบเป็นดอกเดี่ยว แต่อาจจะพบหลายดอกเกิดตรงจุดเดียวกันได้ โดยส่วนประกอบของดอก ประกอบไปด้วยกลีบรองดอก 5 พู กลีบดอกสีขาว 5 กลีบ แต่บางพันธุ์อาจมีสีม่วง และอาจมีกลีบตั้งแต่ 4 - 7 กลีบ มีเกสรตัวผู้ 5 อัน ซึ่งแตกจากตรงโคนของชั้นกลีบดอก ซึ่งอับเกสรตัวผู้เป็นสีน้ำเงิน แยกตัวเป็นกระเปาะเล็ก ๆ ยาว ๆ ส่วนเกสรตัวเมียชูสูงขึ้นไป
ผล : รูปร่างและขนาดของผลเปลี่ยนแปลงไปตามพันธุ์ ส่วนมากผลมีขนาดเล็กแต่มีรสเผ็ดมาก สภาพอากาศและอุณหภูมิในแต่ละ ท้องถิ่นจะมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงความเผ็ดร้อนของพริกได้
การขยายพันธุ์ : โดยวิธีการใช้เมล็ดพริกหยอดเมล็ดโดยตรงในหลุม, เพาะเมล็ดพริกให้งอกแล้วนำไปปลูกในหลุม, เพาะเมล็ดในแปลงเพาะก่อน

สรรพคุณ

1. พริกมีวิตามินซี สูง
2. เป็นแหล่งของกรด ascorbic ซึ่งสารเหล่านี้ ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อให้ดูดซึมอาหารดีขึ้น
3. ช่วยร่างกายขับถ่าย ของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อของร่างกาย (tissue)
4. พริกขี้หนูสดและพริกชี้ฟ้าของไทย มีปริมาณวิตามิน ซี 87.0 - 90 มิลลิกรัม / 100 g นอกจากนี้พริกยังมีสารเบต้า - แคโรทีนหรือวิตามินเอ สูง (พริกขี้หนูสด 140.77 RE )
5. พริกยังมีสารสำคัญอีก 2 ชนิด ได้แก่ Capsaicin และ Oleoresinโดยเฉพาะสาร Capsaicin ที่ นำมาใช้ในอุตสาหกรรมอาหาร และผลิตภัณฑ์รักษาโรค ในอเมริกามีผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชื่อ Cayenne สำหรับฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
6. สาร Capsaicin ยังมีคุณสมบัติทำให้เกิดรสเผ็ด ลดความเจ็บปวดของกล้ามเนื้อ หัวไหล่ แขน บั้นเอว และส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย

ประโยชน์

1. พริกมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยชะลอวัย
2. ช่วยให้อารมณ์ดี ทำให้ร่างกายสร้างสาร Endorphin (สารแห่งความสุข)
3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้แข็งแรงมากยิ่งขึ้น
4. วิตามินซีที่ช่วยเสริมสร้างคอลลาเจนในร่างกาย
5. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
6. ช่วยกระตุ้นให้เจริญอาหารยิ่งขึ้น
7. สารแคปไซซินช่วยให้เกิดอาการตื่นตัวของร่างกาย
8. ช่วยในการดีท็อกซ์ของร่างกาย
9. พริกช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด ลดน้ำมูก และลดเสมหะ
10. ช่วยบรรเทาอาการไอ
11. ช่วยลดสารที่มากีดขวางระบบทางเดินหายใจอันเนื่องมาจากการเป็นไข้หวัด ไซนัส หรือโรคภูมิแพ้ต่าง ๆ
12. ช่วยรักษาโรคลักปิดลักเปิด หรือโรคเลือดออกตามไรฟัน
13. ช่วยให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
14. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และความเผ็ดของพริกมีส่วนช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้
15. ช่วยลดปริมาณสารคอเลสเตอรอลในร่างกาย ทำให้ปริมาณของไตรกลีเซอไรด์ในกระแสเลือดลดลง
16. ช่วยลดการอุดตันของเส้นเลือด เส้นเลือดสมองอุดตัน
17. ช่วยในการสลายลิ่มเลือด
18. ช่วยป้องกันการเกิดโรคหัวใจล้มเหลว
19. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของหลอดเลือดให้ดียิ่งขึ้น
20. ช่วยลดความดันโลหิต
21. ช่วยเสริมสร้างผนังหลอดเลือดให้แข็งแรง ช่วยเพิ่มการยึดตัวของผนังหลอดเลือด
22. ช่วยขยายเส้นโลหิตในลำไส้และกระเพาะอาหารเพื่อการดูดซึมอาหารที่ดีขึ้น
23. สาร Capsaicin ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียในกระเพาะอาหาร
24. ช่วยให้ร่างกายขับถ่ายของเสียและนำธาตุอาหารไปยังเนื้อเยื่อในร่างกาย
25. ช่วยบรรเทาอาการอาหารไม่ย่อย ขับแก๊สในกระเพาะ
26. มีส่วนช่วยในการขับปัสสาวะ
27. ช่วยป้องกันการติดเชื้อต่าง ๆ ในบริเวณจมูก ลำคอ ปอด เยื่อบุผนังช่องปาก
28. ช่วยไม่ให้เมือกเสีย ๆ มาจับตัวกันภายในส่วนต่าง ๆ ของร่างกายด้วย
29. ช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวดต่าง ๆ เช่น อาการปวดฟัน เจ็บคอ การอักเสบของผิวหนัง อาการปวดศีรษะ ปวดเส้นเอ็น โรคเกาต์ ข้อต่ออักเสบ เป็นต้น
30. พริกช่วยกระตุ้นให้อยากอาหารมากขึ้น
31. ใช้ในการประกอบอาหาร ปรุงแต่งอาหาร
32. นำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ชนิดต่าง ๆ เช่น พริกแห้ง พริกป่น พริกดอง ซอสพริก เครื่องแกง น้ำพริกต่าง ๆ และผลิตภัณฑ์ยารักษาโรค
33. รวมไปถึงอาวุธป้องกันตัวอย่างสเปรย์พริกไทย (ไม่ถือว่าเป็นอาวุธร้ายแรง)
34. ในด้านการแพทย์แผนจีนนำสารนี้มาใช้ประโยชน์เพื่อบำรุงพลังหยาง
35. ในด้านการแพทย์ได้มีการสกัดเอาสารแคปไซซินในพริกออกมาในรูปแบบครีมหรือเจล ใช้ทาเพื่อบรรเทาอาการเจ็บปวดที่ผิวหนัง เช่น ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก งูสวัด เป็นต้น
36. ในด้านความงามจะใช้สารสกัดจากแคปไซซินมาสกัดเป็นเจลเพื่อใช้ในการนวดลดเซลลูไลต์ สลายไขมัน

คำแนะนำ

1. การใช้ในปริมาณที่มากเกินไป อาจมีผลกระทบต่ออาการหยุดชะงักการทำงานของกล้ามเนื้อได้เช่นกัน เพื่อความปลอดภัย USFDA ได้กำหนดให้ใช้สาร ห.ห.ห.ได้ ที่ความเข้มข้น 0.75 % สำหรับเป็นยารักษาโรค
2. สารแคปไซซินในพริกมีฤทธิ์ก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อเนื้อเยื่อ ดังนั้นในคนที่กินพริกมาก (กินเผ็ดจัด) อาจเกิดการระคายเคืองตั้งแต่เนื้อเยื่อในปาก รวมไปถึงระบบทางเดินอาหารทั้งหมด ทั้งกระเพาะอาหารและลำไส้ ซึ่งอาจก่อให้เกิดอาการแสบร้อน กระตุ้นการสร้างกรดในกระเพาะอาหาร รวมไปถึงอาจทำให้ท้องเสียได้ ดังนั้นคนเป็นโรคกระเพาะอยู่แล้วไม่ควรกินพริกหรือกินรสเผ็ดมาก

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=6Qe38oteWY4

>>> พริก <<<


Chili1.png Chili2.png Chili3.png Chili4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://s3-ap-southeast-1.amazonaws.com/tescolotus-website/uploads/userfiles/images/Tesco+Lotus+-+chilli+1.png
http://kroobannok.com/news_pic/p93340861114.jpg
https://f.ptcdn.info/760/009/000/1379248090-image-o.jpg
https://live.staticflickr.com/3045/3049964558_1438ab3594.jpg
https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2018/12/chilli-2693677_1920.jpg