ชะพลู
วงศ์ : PIPERACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Piper sarmentosum Roxb.
ชื่อสามัญ : Wildbetal leafbush
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ผักพลูนก, พลูลิง, ปูลิง, ปูลิงนก, ผักปูนา, ผักแค, ผักอีเลิด, ผักนางเลิด, ช้าพลู, นมวา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ลำต้นมีลักษณะตั่งตรง สูงประมาณ 30 - 50 ซม. สีเขียวเข้ม มีข้อเป็นปม แตกกอออกเป็นพุ่ม เติบโตได้ดีในพื้นที่ดินชุ่ม
ใบ : ใบมีสีเขียวสดถึงเขียวแก่ ก้านใบยาว 1 - 3 ซม. ลักษณะใบเป็นใบเดี่ยว คล้ายรูปหัวใจ ใบกว้าง 5 - 10 เซนติเมตร ยาว 7 - 15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบเว้า ผิวมันออกมัน แทงใบออก 2 ใบตรงข้ามกัน มีเส้นใบประมาณ 7 เส้น แทงออกจากฐานใบ
ดอก : ดอกเป็นช่อ ทรงกระบอก ชูตั้งขึ้น ดอกอ่อนมีสีขาว เมื่อแก่จะออกสีเขียว รูปทรงกระบอก แทงดอกบริเวณปลายยอด และช่อใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 1.5 ซม. ดอกเป็นดอกแยกเพศ
ผล : ผลเจริญบนช่อดอก มีลักษณะเป็นผลสีเขียว ผิวมัน มีลักษณะกลมเล็กฝังตัวในช่อดอกหลายเมล็ด มักออกดอกมากในฤดูฝน
การขยายพันธุ์ : ชะพลูเป็นพืชที่เติบโตได้ดีในทุกสภาพดิน ชอบดินร่วนซุย มีอินทรียวัตถุมาก และมีความชุ่มชื้น ชอบแสงรำไร จึงมักพบชะพลูโตดีในพื้นที่ชื้น มีร่มเงา โดยเฉพาะบริเวณใต้ร่มไม้ ชะพลูสามารถขยายพันธุ์ด้วยการแยกเหง้าหรือหน่อออกปลูก เหง้าที่แยกอาจเป็นต้นอ่อนหรือต้นแก่เพียง 2 - 3 ต้น ก็สามารถแตกกอใหญ่ได้
การให้น้ำ ควรให้น้ำสม่ำเสมอ โดยเฉพาะในฤดูแล้งที่มักขาดแคลนน้ำ ส่วนในฤดูฝนต้นชะพลูสามารถเติบโตได้ดีเพียงอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ
สรรพคุณ
- 1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระต่าง ๆ (ใบ)
- 2. ใบชะพลูมีรสเผ็ดร้อน ช่วยทำให้เจริญอาหารมากยิ่งขึ้น (ใบ)
- 3. ใบชะพลูมีเบต้าแคโรทีนในปริมาณมากซึ่งช่วยบำรุงและรักษาสายตา ช่วยในการมองเห็น ป้องกันโรคตาบอดตอนกลางคืน แก้โรคตาฟาง เป็นต้น (ใบ)
- 4. ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ใบ)
- 5. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ด้วยการใช้ชะพลูสดทั้งต้นประมาณ 7 ต้น นำมาล้างน้ำให้สะอาด ใส่น้ำพอท่วมแล้วต้มให้เดือดสักพัก แล้วนำมาดื่มเป็นชา (ทั้งต้น)
- 6. ช่วยบำรุงธาตุ แก้ธาตุพิการ (ราก)
- 7. ช่วยบำรุงกระดูกและฟัน และช่วยป้องกันการเกิดโรคกระดูกพรุน (ใบ)
- 8. ช่วยทำให้เสมหะงวดและแห้ง (ดอก, ราก)
- 9. ช่วยในการขับเสมหะบริเวณทรวงอก ลำคอ (ใบ, ราก, ต้น)
- 10. ช่วยในการขับเสมหะทางอุจจาระ (ราก)
- 11. ช่วยในการขับถ่าย เนื่องจากมีเส้นใยในปริมาณมาก (ใบ)
- 12. ช่วยแก้อาการบิด ด้วยการใช้รากประมาณครึ่งกำมือ ใช้ผลประมาณ 3 หยิบมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 1 ถ้วยแก้ว แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก)
- 13. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ราก, ทั้งต้น)
- 14. ช่วยขับลมในลำไส้ ด้วยการใช้รากประมาณ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำ 2 ถ้วยแก้ว เคี่ยวจนเหลือ 3 ใน 4 ถ้วยแก้วแล้วรับประทานครั้งละ 1 ส่วน 4 ถ้วยแก้ว (ดอก,ราก)
- 15. รากชะพลูเป็นหนึ่งในส่วนผสมของตำรับสมุนไพรพิกัดยาตรีสาร ซึ่งช่วยบำรุงธาตุ บำรุงโลหิต แก้คูถเสมหะ
- 16. เมนูใบชะพลู ได้แก่ แกงคั่วไก่ใบชะพลู แกงคั่วหอยขมใบชะพลู หมูห่อใบชะพลู ไข่น้ำใบชะพลู ยำตะไคร้ใบชะพลู เมี่ยงปลาเผาใบชะพลู ผัดป่าใบชะพลู แกงอ่อมใบชะพลู ยำปลาทูใบชะพลู เป็นต้น
ประโยชน์
- 1. ใบชะพลูมีรสหวาน เย็น และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ จึงนิยมนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู อาทิ เมี่ยงคำ แกงอ่อม หรือเป็นผักเคียงทานกับข้าวยำ และน้ำพริกต่างๆ ในภาคอีสานนิยมนำมาทำแกงอ่อม นำมาทำเป็นผักกินกับลาบอีสาน ซึ่งจะให้รสชาติออกเผ็ด เย็นเล็กน้อย
- 1. ใบชะพลูมีรสหวาน เย็น และกลิ่นหอมที่เป็นเอกลักษณ์ จึงนิยมนำมาปรุงอาหารได้หลากหลายเมนู อาทิ เมี่ยงคำ แกงอ่อม หรือเป็นผักเคียงทานกับข้าวยำ และน้ำพริกต่างๆ ในภาคอีสานนิยมนำมาทำแกงอ่อม นำมาทำเป็นผักกินกับลาบอีสาน ซึ่งจะให้รสชาติออกเผ็ด เย็นเล็กน้อย
คำแนะนำ
- 1. ถึงแม้ว่าใบชะพลูจะมีประโยชน์มากมายต่อสุขภาพ แต่ทั้งนี้ก็ไม่ควรที่จะบริโภคใบชะพลูติดต่อกันเป็นเวลานาน เพราะใบชะพลูมีแคลเซียมออกซาเลต (calcium oxalate) ปริมาณสูง ซึ่งแคลเซียมออกซาเลตนั้นเป็นสาเหตุสำคัญที่จะทำให้เกิดโรคนิ่วในไต ดังนั้น ควรดื่มน้ำเปล่ามากๆ เพื่อช่วยเจือจางออกซาเลตในร่างกายให้ลดลง
- 2. ไม่ควรรับประทานใบชะพลูมากเกินไป เพราะจะทำให้เกิดอาการเวียนศรีษะ และทำให้มีการสะสมของสารออกซาเลท (Oxalate) ในร่างกายสูง ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคนิ่วในไต เวลารับประทานควรปรุงร่วมกับอาหารประเภทเนื้อสัตว์ จะช่วยให้ย่อยง่ายขึ้นในการใช้รักษาโรคเบาหวานจะต้องคอยตรวจน้ำตาลในปัสสาวะก่อนและหลังดื่มน้ำทุกครั้ง เพราะยานี้ทำให้น้ำตาลลดลงเร็วมาก และในการต้มจะต้องเปลี่ยนต้นชะพลูใหม่ทุกวัน
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> ชะพลู <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/07/Wildbetal-Leafbush-1.jpg
https://dy.lnwfile.com/_/dy/_raw/ha/rn/iy.jpg
https://de.lnwfile.com/_/de/_raw/rr/jw/dq.jpg
http://plant.opat.ac.th/wp-content/uploads/2012/07/043-4-ดอก1.jpg
https://www.bloggang.com/data/jekyll-and-hyde/picture/1145272185.jpg