มะรุม
วงศ์ : MORINGACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Moringa oleifera Lam.
ชื่อสามัญ : Moringa
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : บะค้อนก้อม, ผักอีฮุม, บักฮุ้ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ไม้ยืนต้นขนาดกลาง สูงประมาณ 15 - 20 เมตร ลำต้นเป็นพุ่มโปร่ง เนื้อไม้อ่อน เปลือกแตกร่อน สีน้ำตาลอ่อนปนเทา กิ่งอ่อนมีขน กิ่งก้านหักง่าย ผิวค่อนข้างเรียบ
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก 3 ชั้น ออกเรียงสลับ ยาวราว 45 เซนติเมตร โคนก้านใบประกอบป่องออก ใบย่อยรูปไข่หรือรูปรี กว้าง 0.7 - 2 เซนติเมตร ยาว 1 - 3 เซนติเมตร ปลายใบมน โคนใบสอบ ขอบใบเรียบ เนื้อใบนิ่มอ่อนบาง หลังใบและท้องใบเรียบ ใบที่อยู่ปลายสุดจะมีขนาดใหญ่กว่าใบอื่น
ดอก : ออกเป็นช่อ ออกตามซอกใบ ดอกย่อยเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกย่อยกลีบดอกสีขาวแกมเหลืองจำนวนมาก กลีบดอกมี 5 กลีบ รูปไข่กลับ ปลายมน แต่ละกลีบมีขนาดไม่เท่ากัน ขนาดดอกโตเต็มที่ประมาณ 1 นิ้ว กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันเป็นรูปถ้วย ปลายแยกเป็น 5 กลีบ ไม่เท่ากัน คล้ายกลีบดอก เกสรเพศผู้มี 5 อัน เรียงสลับกับเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันอีก 5 - 7 อัน รังไข่มี 1 ห้อง
ผล : เป็นฝักทรงกระบอกกลม ยาว 40 - 50 เซนติเมตร ฝักมีรอยคอด ตามแนวเมล็ด และมีสันตามยาว 9 สัน เปลือกฝักหนา ปลายฝักแหลม ฝักแห้งแตกออกเป็น 3 ซีก เมล็ดกลม มีปีก 3 ปีก มีเมล็ดจำนวนมาก
การขยายพันธุ์ : คัดเลือกเมล็ดที่สมบูรณ์ และแก่เต็มที่ หากหาพันธุ์อินเดียจะยิ่งดี เพาะเมล็ดที่เตรียมไว้ลงในถุงเพาะชำ สีดำ มีวัสดุปลูกที่ร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี หลังเมล็ดงอกประมาณ 2 เดือน ต้นกล้าจะเลื้อยและทอดยอดสูง หรือยาวประมาณ 25 เซนติเมตร ให้ใช้มีดคมและสะอาดตัดต้นให้เตี้ยลง เหลือเพียง 12 เซนติเมตร ผูกกับหลักไม้ขนาดพอเหมาะ ให้ต้นตั้งตรง อีกไม่นานต้นกล้าจะแตกยอดใหม่ออกมาด้านข้างใต้รอยตัดลงมาเล็กน้อย
สรรพคุณ
- 1. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้ชุ่มชื้น อ่อนนุ่ม ไม่ให้หยาบกร้าน
- 2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระช่วยในการชะลอวัย (น้ำมันมะรุม)
- 3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
- 4. ช่วยรักษาโรคขาดสารอาหารในเด็กแรกเกิดถึงอายุ 10 ขวบ
- 5. ช่วยลดไขมันและคอเลสเตอรอลในร่างกาย (ฝัก)
- 6. มีส่วนช่วยป้องกันโรคมะเร็ง (ใบ, ดอก, ฝัก, เมล็ด, เปลือกของลำต้น)
- 7. ช่วยรักษาโรคมะเร็งในกระดูก
- 8. ผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาด้วยรังสี การดื่มน้ำมะรุมจะช่วยให้อาการแพ้รังสีฟื้นตัวเร็วขึ้น
- 9. ช่วยเพิ่มการไหลเวียนของโลหิตในร่างกาย
- 10. ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
- 11. มะรุมลดความดัน รักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบ, ฝัก)
- 12. ใช้รักษาโรคหัวใจ (ราก)
- 13. มะรุมลดน้ำตาล ช่วยรักษาโรคเบาหวานโดยรักษาความสมดุลของระดับน้ำตาล
- 14. ใช้รักษาโรคหอบหืด (Asthma) (ยาง)
- 15. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้
- 16. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคที่ต่ำลงของผู้ป่วยเอดส์
- 17. ใช้เป็นยาบำรุงร่างกาย (ดอก)
- 18. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ราก)
- 19. ช่วยคุมธาตุอ่อน ๆ (เปลือกของลำต้น)
- 20. แก้ลมอัมพาต (เปลือกของลำต้น)
- 21. ใช้ขับน้ำตา (ดอก)
- 22. ใช้บำรุงสุขภาพและรักษาดวงตาให้สมบูรณ์
- 23. ช่วยรักษาโรคตาได้เกือบทุกโรค อย่างเช่น โรคตาต้อ ตามืดมัว เป็นต้น
- 24. ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ โรคโพรงจมูกอักเสบ
- 25. น้ำมันมะรุมใช้นวดศีรษะ ฆ่าเชื้อราบนหนังศีรษะ แก้อาการคันหนังศีรษะ ลดผมร่วง (น้ำมันมะรุม)
- 26. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ (ใบ, น้ำมันมะรุม)
- 27. ใช้แก้ไข้และถอนพิษไข้ (ใบ, ยอดอ่อน, ฝัก, เมล็ด)
- 28. ใช้แก้อาการไข้หัวลมหรืออาการไข้เปลี่ยนฤดู (ดอก)
- 29. ช่วยบรรเทาและรักษาอาการหวัด (เมล็ดมะรุม)
- 30. ช่วยบรรเทาอาการไอเรื้อรังให้ดีขึ้น (เมล็ดมะรุม)
- 31. ช่วยบรรเทาอาการและลดสิวบนใบหน้า (น้ำมันมะรุม)
- 32. ช่วยลดจุดด่างดำจากแสงแดด (น้ำมันมะรุม)
- 33. ใช้รักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ใบ)
- 34. ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ยาง)
- 35. ช่วยแก้อาการปวดหู (Earache) (ยาง)
- 36. น้ำมันมะรุมใช้หยอดหูเพื่อป้องกันและฆ่าพยาธิในหู รักษาโรคหูน้ำหนวก เยื่อบุหูอักเสบ
- 37. ช่วยรักษาโรคคอหอยพอกชนิดมีพิษ
- 38. ช่วยรักษาแผลในปากหรือแผลจากโรคปากนกกระจอก
- 39. นำเปลือกของลำต้นมาเคี้ยวกินเพื่อช่วยย่อยอาหาร (เปลือกของลำต้น)
- 40. ช่วยขับลมในลำไส้ ทำให้ผายหรือเรอ (เปลือกของลำต้น)
- 41. เปลือกของลำต้นมีสรรพคุณช่วยในการคุมกำเนิด (เปลือกของลำต้น)
- 42. ช่วยบำรุงและรักษาปอดให้แข็งแรง และรักษาโรคปอดอักเสบ
- 43. รับประทานเมล็ดมะรุมวันละ 1 เมล็ดก่อนนอน ช่วยให้การขับถ่ายในตอนเช้าเป็นไปอย่างปกติและสม่ำเสมอ (เมื่อขับถ่ายเป็นปกติแล้วควรหยุดรับประทาน)
- 44. ใช้รักษาโรคลำไส้อักเสบ อาการท้องเสีย ท้องผูก
- 45. ช่วยรักษาและขับพยาธิในลำไส้ (เมล็ดมะรุม)
- 46. ช่วยในการขับปัสสาวะ (ใบ, ดอก)
- 47. ช่วยแก้อาการอักเสบ (ใบ)
- 48. ช่วยรักษาโรคไขข้อ (Rheumatism) (ราก)
- 49. ช่วยบรรทาอาการของโรคเกาต์ บ้างก็ว่าสามารถใช้รักษาโรคเกาต์ได้
- 50. ช่วยรักษาโรคกระดูกอักเสบ
- 51. ช่วยรักษาโรครูมาติสซั่ม
- 52. ช่วยบำรุงและรักษาโรคตับ ไต
- 53. น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดเมื่อตามบั้นเอวและขา
- 54. น้ำมันมะรุมใช้นวดเพื่อกระชับกล้ามเนื้อ
- 55. ใช้แก้อาการปวดตามข้อ (เมล็ด)
- 56. แก้อาการบวม (ราก, เมล็ด)
- 57. ช่วยลดอาการผื่นคันตามผิวหนังและการแพ้ผ้าอ้อมของเด็กทารก (น้ำมันมะรุม)
- 58. ช่วยรักษาบาดแผล แผลสดเล็ก ๆ น้อย ๆ (ใบ, น้ำมันมะรุม)
- 59. ช่วยถอนพิษและลดอาการปวดบวมจากแมลงสัตว์กัดต่อย (น้ำมันมะรุม)
- 60. ใช้เป็นยาปฏิชีวนะ
- 61. ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย (ใบ, ดอก)
- 62. ใช้รักษาเชื้อราตามผิวหนัง ศีรษะ ตามซอกเล็บ โรคน้ำกัดเท้า (น้ำมันมะรุม)
- 63. น้ำมันมะรุมใช้ทารักษาหูด ตาปลา
- 64. ช่วยรักษาโรคเริม งูสวัด
- 65. ช่วยฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ ต้านจุลชีพ
- 66. ช่วยฆ่าเชื้อไทฟอยด์ (ยาง)
- 67. ช่วยรักษาโรคซิฟิลิส (syphilis) โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์โรคหนึ่ง (ยาง)
- 68. การรับประทานมะรุมในช่วงตั้งครรภ์จะช่วยลดโอกาสการติดเชื้อ HIV ของเด็กทารก
- 69. ฝักมะรุมนำมาใช้เป็นไม้ตีกลองได้เหมือนกันนะ โดยเฉพาะในแถบอินเดีย
- 70. ใบสดนำมารับประทานได้ ส่วนใบแห้งนำมาทำเป็นผง
- 71. เมล็ดบางครั้งนำมาคั่วรับประทานเป็นถั่วได้
- 72. เมล็ดมะรุมเมื่อนำมาบดละเอียดสามารถนำไปใช้กรองน้ำได้ ทำให้น้ำตกตะกอนและฆ่าเชื้อโรคในน้ำ น้ำที่ได้จะค่อนข้างสะอาดและมีรสออกหวาน
- 73. น้ำมันที่ได้จากการคั้นเมล็ดสด นำมาใช้เป็นน้ำมันในการปรุงอาหาร
- 74. น้ำมันมะรุมนำมาใช้ในการปรุงอาหารชนิดเดียวกับน้ำมันมะกอก แต่ดีกว่าตรงที่ไม่มีกลิ่นเหม็นหืนในภายหลัง
- 75. น้ำมันมะรุมนำมาใช้เป็นน้ำยาหล่อลื่นต่าง ๆ ประจำบ้านและช่วยป้องกันสนิม
- 76. นิยมนำมะรุมไปทำเป็นอาหารเพื่อรับประทานเป็นผักอย่างเช่น แกงส้ม แกงลาว แกงอ่อม แกงกะหรี่ ยำฝักมะรุม ส่วนดอกมะรุมลวกรับประทานกับน้ำพริก ส่วนยอดอ่อน ใบอ่อนนำไปต้มสุกรับประทานร่วมกับแจ่ว ลาบ ก้อย
- 77. นำมาแปรรูปเป็น "มะรุมแคปซูล" สำหรับเป็นทางเลือกให้ผู้ที่ไม่ชอบรับประทานผัก แต่อยากได้คุณประโยชน์ทางด้านสมุนไพร
- 78. นำมาสกัดเป็นน้ำมันมะรุม ซึ่งมีคุณประโยชน์ที่หลากหลาย
ประโยชน์
- 1. แกงอ่อมยอดมะรุม เตรียมข้าวคั่วป่น หั่นหมู ยอดมะรุม ผักชีลาว เตรียมไว้ จากนั้นนำพริก กระเทียม ข่า ตะไคร้ หอมแดง มาโขลกรวมกัน เอาน้ำใส่หม้อขึ้นตั้งไฟ ใส่เครื่องแกงที่โขลกไว้ลงไป เมื่อน้ำเริ่มเดือดใส่หมู ใส่ข้าวคั่ว เกลือ ใบมะกรูด น้ำปลาร้า ปรุงรสแล้วคนจนเข้ากัน รอจนน้ำเดือด ใส่ผักชี ยอดมะรุมลงไป คนสักครู่แล้วปิดไฟ พร้อมตักเสิร์ฟ
- 2. แกงอ่อมยอดมะรุม เตรียมข้าวคั่วป่น หั่นหมู ยอดมะรุม ผักชีลาว เตรียมไว้ จากนั้นนำพริก กระเทียม ข่า ตะไคร้ หอมแดง มาโขลกรวมกัน เอาน้ำใส่หม้อขึ้นตั้งไฟ ใส่เครื่องแกงที่โขลกไว้ลงไป เมื่อน้ำเริ่มเดือดใส่หมู ใส่ข้าวคั่ว เกลือ ใบมะกรูด น้ำปลาร้า ปรุงรสแล้วคนจนเข้ากัน รอจนน้ำเดือด ใส่ผักชี ยอดมะรุมลงไป คนสักครู่แล้วปิดไฟ พร้อมตักเสิร์ฟ
- 3. ต้มจืดมะรุม เด็ดยอดมะรุม รูดใบ ตำกระเทียม พริกไทย รากผักชีจนละเอียด เอาหมูลงไปโขลกด้วย นำน้ำใส่หม้อตั้งไฟจนเดือด ใส่ผงซุปไก่ลงไป เมื่อน้ำเริ่มเดือดใส่หมูที่เตรียมไว้ ใส่กุ้งแห้งลงไป ใส่ยอดมะรุม ใส่ผักชีลงไป พร้อมตักเสิร์ฟ
- 4. ไข่เจียวมะรุม นำไข่ไก่มาตอกใส่ชามแล้วตีผสมกับน้ำปลา จากนั้นก็ใส่ใบมะรุมที่เด็ดเป็นใบแล้วลงไป ใส่น้ำมันตั้งกระทะรอจนเริ่มร้อนก็เทไข่เจียวที่ตีไว้ลงไปทอด เมื่อไข่เจียวสุกทั้งสองด้านก็ตักใส่จานพร้อมกิน
คำแนะนำ
- 1. มะรุมมีพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโรคเลือดเพราะทำให้เม็ดเลือดแตกง่าย
- 2. หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะจะทำให้เสี่ยงต่อการแท้งลูกได้สูง
- 3. ผู้ป่วยโรคเกาต์ไม่ควรรับประทานมากเกินไปเพราะอาจก่อให้เกิดผลเสียได้
- 4. สำหรับผู้ที่รับประทานมะรุมต่อเนื่องเป็นเวลาควรตรวจการทำงานของตับ เนื่องจากผู้ป่วยบางรายที่ใช้มะรุมติดต่อกันเป็นระยะเวลานานพบเอนไซม์เพิ่มสูงขึ้น ดังนั้นควรใส่ใจกับข้อควรระวังเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณด้วย
- 5. ควรเลือกใบที่ไม่แก่หรือไม่อ่อนเกินไป รับประทานสดๆ และไม่ถูกความร้อนมากเกินไปเพื่อให้ได้ประโยชน์จากสารอาหารเต็มที่
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> มะรุม <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://s.isanook.com/he/0/ud/1/6361/moringa.jpg
http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-221607-4.jpg
http://www.bookmuey.com/images/Moringa00002.jpg
http://www.senseofkrabi.com/wp-content/uploads/2013/12/DSCF9820-620x350.jpg
https://file.sogoodweb.com/upload/156/g4j0s7Lo45.jpg