ชะเอมเทศ

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Licorice.png

วงศ์ : FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Glycyrrhiza glabra L.
ชื่อสามัญ : Licorice, Chinese licorice, Russian licorice, Spanish licorice
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : กำเช่า, กำเช้า, กันเฉ่า, ชะเอมจีน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : จัดเป็นไม้พุ่มที่มีอายุนาน มีลำต้นสูงประมาณ 1 - 2 เมตร
ใบ : ใบเป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับกัน มีใบย่อยประมาณ 9 - 17 ใบ มีสีเขียวอมเหลือง ส่วนก้านใบย่อยจะสั้นมาก
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ กลีบดอกเป็นสีม่วงอ่อน ๆ ส่วนก้านดอกสั้นมาก
ผล : ผลมีลักษณะเป็นฝักแบน ผิวภายนอกมีลักษณะเรียบ
การขยายพันธุ์ : การปลูกต้องตอนเอากิ่งไปปลูกหรืออาจจะใช้เมล็ดเพาะ

สรรพคุณ

1. รากช่วยบำรุงร่างกาย (ราก)
2. ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายและช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากรากชะเอมเทศมีสารสำคัญอย่าง กลีเซอไรซิน (Glycyrrhizin) และสารเคมีอื่น ๆ อีกหลายร้อยชนิด เช่น ไฟโตเอสโตรเจนและฟลาโวนอยด์ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ (ราก)
3. เปลือกต้นและผลมีรสหวานใช้เป็นยาบำรุงกำลัง (เปลือกต้น, ผล)
4. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลียจากการตรากตรำทำงานหนัก (ราก) บรรเทาอาการอ่อนเพลียเรื้อรังและอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรัง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นราก)
5. ช่วยสงบประสาท มีฤทธิ์กล่อมประสาท กดระบบประสาทส่วนกลาง (ราก)
6. ช่วยเจริญซึ่งหทัยวาตให้สดชื่น (ราก)
7. ช่วยกระจายลมเบื้องบนและลมเบื้องล่าง (ต้น)
8. ช่วยแก้อาการไอเป็นไข้ ลดไข้ ต้านมาลาเรีย (ราก) ลดไข้ (ราก)
9. สำหรับผู้ที่มีอาการไอไม่หยุด เนื่องจากเป็นภูมิแพ้และมีอาการกระหายน้ำอย่างรุนแรง ให้ใช้ชะเอมเทศแห้ง 4 กรัม (ไม่ระบุว่าเป็นส่วนไหน แต่เข้าใจว่าเป็นราก), โสมคนแห้ง 3 กรัม, ขิงแห้ง 5 กรัม, และพุทราแดงจีนแห้ง 5 กรัม (หาซื้อได้ตามร้านขายยาจีน) นำมาห่อให้ผ้าขาวบางแล้วมัดไว้ให้แน่นต้มน้ำจนเดือดหรือแช่ในน้ำร้อนจนเนื้อยาออก แล้วนำมาดื่มเมื่อมีอาการไอหรือใช้ดื่มต่างน้ำแบบจิบบ่อย ๆ จะช่วยลดอาการดังกล่าวได้
10. ช่วยระบายความร้อนและช่วยขับพิษ (ราก)
11. ทำให้มีอาการคลื่นเหียนอาเจียน (เปลือกต้น)
12. ช่วยรักษาอาการเบื่อเมา (ราก)
13. ช่วยรักษากำเดาให้เป็นปกติ (ราก)
14. ชะเอมเทศ ช่วยบรรเทาอาการของโรคเกี่ยวกับทางเดินหายใจ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นราก)
15. ช่วยทำให้ชุ่มคอและแก้อาการไอ (ราก)
16. ช่วยทำให้ชุ่มชื้น แก้อาการคอแห้ง (ผล, ราก)
17. รากสดใช้รักษาอาการเจ็บคอ (ราก) หรือใช้เข้าในตำรายาร่วมกับสมุนไพรอื่น ช่วยแก้อาการคอบวม อักเสบ (ราก)
18. ช่วยทำให้เสมหะในคอแห้ง (ใบ)
19. ช่วยขับเสมหะ (ราก)
20. ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ (ราก)
21. รากใช้ปรุงเป็นยาแก้น้ำลายเหนียว (ราก)
22. ช่วยบำรุงหัวใจ (ราก)
23. ช่วยเสริมชี่ ทำให้การเต้นของชีพจรมีแรงและกลับคืนสภาพปกติ รักษาชี่ของหัวใจพร่อง (กำเช่าผัดน้ำผึ้ง)
24. ช่วยแก้อาการใจสั่น (ราก)
25. ช่วยแก้เส้นเอ็นและชีพจรตึงแข็ง ทำให้ชีพจรเต้นไม่สม่ำเสมอและชีพจรเต้นหยุดอย่างมีจังหวะ (กำเชาผัดน้ำผึ้ง)
26. รากชะเอมเทศมีรสชุ่ม ใช้เป็นยาบำรุงปอด (ราก)
27. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (ราก, กำเช่าผัดน้ำผึ้ง)
28. ช่วยขับลม (ราก)
29. ช่วยป้องกันและรักษาแผลในกระเพาะอาหาร (ราก)
30. ช่วยในการย่อยอาหาร แก้ระบบการย่อยอาหารทำงานได้ไม่ดีหรืออาหารเป็นพิษ (ราก)
31. ช่วยบำรุงม้ามและกระเพาะอาหาร (กำเช่าผัดน้ำผึ้ง)
32. ช่วยขับเลือดที่เน่าเสียในท้อง (ราก)
33. ในประเทศญี่ปุ่นมีการใช้สารสกัดดจากรากชะเอมเทศเพื่อใช้รักษาโรคตับอักเสบมานานกว่า 20 ปีแล้ว และยังมีการศึกษาทางคลินิกพบว่ารากชะเอมเทศนั้นสามารถช่วยลดระดับเอนไซม์ตับ (Amino-Transferase) ซึ่งทำให้เซลล์ตับดีขึ้น
34. ช่วยทำให้ร่างกายฟื้นตัวจากไวรัสตับอักเสบได้เร็วขึ้น (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าเป็นราก)
35. ใบชะเอมเทศใช้เป็นยารักษาดีพิการ (ใบ)
36. ช่วยรักษาพิษของฝีดาษ (ดอก)
37. ช่วยรักษาแผลเรื้อรัง (ราก)
38. ดอกชะเอมเทศใช้แก้อาการคัน (ดอก, ราก)
39. ช่วยรักษาผื่นเอ็กซีมา โดยครีมชะเอมเทศนั้นสามารถนำมาใช้ทาเพื่อรักษาโรคผิวหนังอักเสบจากผื่นเอ็กซีมาได้ (มะบุว่าทำจากส่วนไหน แต่เข้าใจว่าทำจากราก)
40. รากชะเอมเทศมีฤทธิ์ช่วยแก้อาการปวด ช่วยลดอาการอักเสบต่าง ๆ (ราก)
41. รากมีฤทธิ์ช่วยต้านไมโครแบคทีเรีย อะมีบา เชื้อรา เชื้อไวรัส ไวรัสของพืช ยีสต์ พยาธิไส้เดือน ขับพยาธิตัวตืด ช่วยยับยั้งการสร้างอะฟลาทอกซิน และช่วยลดอาการฟันผุ (ราก)
42. ใช้รักษาพิษจากยาหรือพิษจากพืชชนิดต่าง ๆ (ราก)

ประโยชน์

1. รากชะเอมเทศมีสารสำคัญคือสาร Glycyrrhizin (Glycyrrhizic acid หรือ Glycyrrhizinic acid) และสาร 24 - hydroxyglyrrhizin โดยสารเหล่านี้เป็นสารที่ให้ความหวานมากกว่าน้ำตาลทรายประมาณ 50 - 100 เท่า จึงถูกนำมาใช้เพื่อแต่งรสชาติอาหาร ใช้แต่งรสหวานในขนมและลูกอม ใช้ปรุงเป็นยาสมุนไพร ใช้แต่งกลิ่นรสยาให้หวานและช่วยกลบรสยา (เนื่องจากในรากจะมีแป้งและความหวานอยู่มาก ควรเก็บไว้อย่าให้แมลงหรือมอดมากิน เพราะถ้าผุจะทำให้เสื่อมคุณภาพลงได้)
2. ชะเอมเทศยังสามารถนำมาใช้เป็นไวต์เทนนิงจากธรรมชาติได้อีกด้วย โดยสารสกัดที่ได้จากรากนั้นมีคุณสมบัติพิเศษในการช่วยลดความเข้มของเม็ดสี ลดฝ้ากระบนใบหน้า ช่วยทำให้ผิวหน้าสว่างกระจ่างใสขึ้นอย่างเป็นธรรมชาติ และช่วยลดและต้านการอักเสบของผิว จึงสามารถนำมาใช้ทดแทนสารเคมีที่ช่วยทำให้ผิวหน้ากระจ่างใสได้ แถมยังไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อผิวหน้าและไม่ก่อให้เกิดเป็นสิวอุดตันอีกด้วย
3. เนื่องจากชะเอมเทศมีสรรพคุณช่วยสร้างความชุ่มชื้นให้กับลำคอและกล่องเสียง จึงเป็นที่นิยมในกลุ่มนักร้อง นักพูด หรือผู้ที่ต้องใช้เสียงเป็นประจำ เนื่องจากชะเอมเทศนั้นจะช่วยกระตุ้นการสร้างสารหล่อลื่นในบริเวณลำคอเหนือกล่องเสียงได้เป็นอย่างดี
4. ชะเอมเทศเป็นสมุนไพรที่นักกีฬาหรือผู้ใช้แรงงานนิยม โดยมักถูกนำไปเป็นส่วนผสมในตำรับยาสมุนไพรต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นตำรับยาบำรุงกำลังไปจนถึงตำรับยาทั่วไป เนื่องจากชะเอมเทศเป็นสมุนไพรที่ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อให้แข็งแรง รวมไปถึงการช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับระบบย่อยอาหาร ช่วยในระบบการเผาผลาญภายในร่างกาย ช่วยในเรื่องการดูดซึมสารอาหาร และยังช่วยในการสร้างเม็ดเลือดอีกด้วย

คำแนะนำ

1. การรับประทานผลิตภัณฑ์หรือมีส่วนผสมจากชะเอมเทศติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะส่งผลทำให้ความดันโลหิตสูง (190 - 200/120 มม.ปรอท) อีกทั้งยังมีอาการปวดหัว อ่อนแรงตามข้อต่อ และส่งผลทำให้ระดับโพแทสเซียมในเลือดต่ำลง ดังนั้นผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงหรือผู้ที่มีภาวะของโพแทสเซียมต่ำไม่ควรใช้ชะเอมเทศในขนาดที่เกินกว่า 50 กรัมต่อวัน นานเกินกว่า 6 สัปดาห์ เพราะอาจจะส่งผลทำให้เกิดการสะสมน้ำในร่างกาย เกิดอาการบวมที่มือและเท้า และไม่ควรใช้ชะเอมเทศร่วมกับยาขับปัสสาวะ (กลุ่ม Thiazide) หรือยากลุ่ม Cardiac glycosides เนื่องจากชะเอมเทศจะส่งผลทำให้สารโพแทสเซียมถูกขับออกมามากขึ้น และควรหลีกเลี่ยงการใช้ชะเอมเทศร่วมกับยาขับปัสสาวะ Spironolactone หรือ Amiloride เพราะจะทำให้ประสิทธิผลของการรักษาโรคความดันโลหิตลดน้อยลง
2. นอกจากจะห้ามใช้ในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงและผู้ที่เลือดมีระดับโพแทสเซียมต่ำแล้ว ยังรวมไปถึงผู้ป่วยที่เป็นโรคตับแข็ง ผู้ป่วยที่เป็นโรคไตบกพร่องเรื้อรัง รวมไปถึงสตรีมีครรภ์อีกด้วยที่ไม่ควรใช้สมุนไพรชะเอมเทศ
3. ชะเอมเทศมีพิษน้อย แต่การรับประทานติดต่ออย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน จะทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้นและมีอาการบวมเกิดขึ้นตามมาได้

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=R6dkWVrOytw

>>> ชะเอมเทศ <<<


Licorice1.png Licorice2.png Licorice3.png Licorice4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.pobpad.com/wp-content/uploads/2018/03/ชะเอมเทศ.jpg
https://medthai.com/images/2013/11/ต้นชะเอมเทศ.jpg
https://cv.lnwfile.com/_/cv/_raw/ex/7s/43.jpg
https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/content/original-1543633587829.jpg
http://www.xn--03camj5ak4hpc.com/wp-content/uploads/2016/01/ชะเอมเทศ.สาระเร็ว.jpg