มะระขี้นก
วงศ์ : CUCURBITACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Momordica charantia L.
ชื่อสามัญ : Bitter gourd
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ผักไห่, มะไห่, มะนอย, มะห่วย, ผักไซ, สุพะซู, สุพะเด, มะร้อยรู, ผักเหย, ผักไห, ระ, ผักสะไล, ผักไส่, โกควยเกี๋ยะ, โควกวย, มะระเล็ก, มะระขี้นก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นเถาเลื้อยมีสีเขียวขนาดเล็กมี 5 เหลี่ยม มีขนอยู่ทั่วไป มีมือเกาะซึ่งเปลี่ยนมาจากใบเจริญออกมาจากส่วนของข้อ ใช้สำหรับยึดจับ
ใบ : เป็นใบเดี่ยว เรียงสลับกัน ก้านใบยาว ขอบใบเว้าหยักลึกเข้าไปในตัวใบ 5 - 7 หยัก ปลายใบแหลม ใบกว้าง 4.5 - 11.5 เซนติเมตร ยาว 3.5 - 10 เซนติเมตร เส้นใบแยกออกจากจุดเดียวกันแล้วแตกเป็นร่างแห มีขนอ่อนนุ่มปกคลุมเล็กน้อย เมื่อแก่จัดจะมีสีเขียวเข้ม
ดอก : เป็นดอกเดี่ยวแยกเพศอยู่ในต้นเดียวกัน เจริญมาจากข้อ เส้นผ่าศูนย์กลาง 2.5 - 3.5 เซนติเมตร มีกลีบนอก 5กลีบ สีเขียวปนเหลือง กลีบในมี 5 กลีบ สีเหลืองสด ดอกตัวผู้เจริญออกมาก่อนดอกตัวเมีย เกสรตัวผู้มี 3 อัน แต่ละอันมีก้านชูเกสรตัวผู้ 3 อัน และมีอับเรณู 3 อัน ดอกตัวเมียมีรังไข่แบบหลบใน (inferior ovary) มีรังไข่ 1 อัน stigma 3 คู่ ก้านชูเกสรตัวเมีย 3 อัน
ผล : รูปร่างคล้ายกระสวยสั้นๆ ผิวเปลือกขรุขระและมีปุ่มยื่นออกมา ผลยาว 5 - 7 เซนติเมตร เส้นผ่าศูนย์กลางผล 2 - 4 เซนติเมตร ผลอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมแดง ปลายผลจะแตกเป็น 3 แฉก
การขยายพันธุ์ : หยอดเมล็ดโดยตรงลงในแปลง หลุมละ 3 – 4 เมล็ด ลึกลงไปในดินประมาณ 2.5 – 3.5 เซนติเมตร ลบด้วยปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักที่สลายตัวแล้ว หรือดินผสม รดน้ำให้ชุ่ม คลุมฟางแห้งหรือหญ้าแห้งที่สะอาดให้หนาพอควร เมื่อต้นกล้ามีใบจริง2 ใบ ถอนแยกต้นที่อ่อนแอไม่สมบูรณ์ทิ้ง เหลือไว้หลุมละ 2 ต้นเมื่อมะระเริ่มเลื้อยหรือต้นมีอายุประมาณ 15 วัน
สรรพคุณ
- 1. ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ จึงมีส่วนช่วยในการชะลอความแก่ชราได้
- 2. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรคให้กับร่างกาย (ผล)
- 3. ช่วยต่อต้านและป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง (ผล)
- 4. ช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและไตรกลีเซอไรด์ในตับอย่างมีประสิทธิภาพ จึงมีส่วนช่วยในการลดความอ้วน
- 5. ช่วยป้องกันการหนาตัวของผนังหลอดเลือดแดง
- 6. ช่วยยับยั้งเชื้อเอดส์หรือ HIV (ผล)
- 7. ช่วยรักษาโรคหอบหืด
- 8. ช่วยบำบัดและรักษาโรคเบาหวาน สามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดได้เป็นอย่างดี โดยจะออกฤทธิ์ทันทีหลังรับประทานประมาณ 60 นาที (ผล)
- 9. ช่วยลดความดันโลหิต (ผล)
- 10. ช่วยให้เจริญอาหาร เพราะมีสารที่มีรสขม ช่วยกระตุ้นน้ำย่อยให้ออกมามากยิ่งขึ้น ทำให้รับประทานอาหารได้เพิ่มมากยิ่งขึ้น (ผล, ราก, ใบ)
- 11. ช่วยบำรุงกำลัง บำรุงธาตุ เพิ่มพูนลมปราณ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัม ต้มกับน้ำดื่ม (ผล, เมล็ด, ใบ)
- 12. แก้ธาตุไม่ปกติ (ผล, ใบ)
- 13. ใช้เป็นยาช่วยในการฟอกเลือด (ใบ)
- 14. ช่วยในการนอนหลับ (ใบ)
- 15. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ช่วยในการถนอมสายตา ช่วยทำให้ดวงตาสว่างสดใสขึ้น แก้ตาบวมแดง (ผล)
- 16. ช่วยบรรเทาอาการปวดศีรษะ (ใบ)
- 17. ช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ผล, ใบ)
- 18. ช่วยแก้ไข้ที่เกิดจากการถูกความร้อน ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นก คว้านไส้ออก ใส่ใบชาแล้วประกบกันน้ำแล้วนำไปตากในที่ร่มให้แห้ง รับประทานครั้งละ 6 - 10 กรัม โดยจะต้มน้ำดื่มหรือชงดื่มเป็นชาก็ได้ (ผล, ราก, ใบ)
- 19. ช่วยแก้อาการไอเรื้อรัง (ใบ)
- 20. ช่วยลดเสมหะ (ราก)
- 21. แก้อาการปากเปื่อยลอกเป็นขุย (ผล, ใบ)
- 22. ช่วยแก้อาการปวดฟัน ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ราก, เถา)
- 23. ช่วยแก้อาการร้อนในกระหายน้ำ ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกต้มรับประทาน หรือจะใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล, ราก, ใบ, เถา)
- 24. ช่วยในการย่อยอาหารได้เป็นอย่างดี
- 25. ช่วยรักษาโรคกระเพาะ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้ใบแห้งบดเป็นผงรับประทานก็ได้ (ใบ)
- 26. ช่วยรักษาอาการบิด ถ้าถ่ายเป็นเลือดให้ใช้รากสดประมาณ 120 กรัมต้มกับน้ำดื่ม ถ้าถ่ายเป็นเมือก ๆ ให้ใช้รากสดประมาณ 60 กรัม น้ำตาลกรวด 60 กรัมนำมาต้มกับน้ำดื่ม (ผล, ใบ, ดอก, เถา)
- 27. ช่วยรักษาอาการบิดถ่ายเป็นเลือดหรือมูกเลือด ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 1 กำมือ นำมาใช้แก้อาการบิดเลือดด้วยการต้มน้ำดื่ม หรือใช้แก้บิดมูกให้ใส่เหล้าต้มดื่ม (ราก, เถา)
- 28. แก้อาการจุดเสียด แน่นท้อง (ผล, ใบ)
- 29. ช่วยขับพยาธิ ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกประมาณ 120 กรัมนำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือจะใช้เมล็ดประมาณ 3 เมล็ดรับประทาน
- 30. ช่วยขับพยาธิตัวกลมก็ได้ (ผล, ใบ, ราก, เมล็ด)
- 31. ช่วยขับระดู (ใบ)
- 32. ช่วยบำรุงระดู (ผล)
- 33. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (ราก)
- 34. มะระขี้นกมีฤทธิ์เป็นยาระบายอ่อน ๆ (ผล, ราก, ใบ)
- 35. ช่วยขับลม (ผล, ใบ)
- 36. แก้โรคม้าม รักษาโรคตับ (ผล, ราก, ใบ)
- 37. ช่วยบำรุงน้ำดี (ผล, ราก, ใบ)
- 38. แก้พิษน้ำดีพิการ (ราก)
- 39. ใช้แก้พิษ ด้วยการใช้รากสดของมะระขี้นกประมาณ 30 กรัมต้มกับน้ำดื่ม หรือใช้เถาแห้งประมาณ 3 กรัมต้มกับน้ำดื่มก็ได้ (ผล, ราก, ใบ, เถา)
- 40. ช่วยรักษาแผลฝีบวมอักเสบ ด้วยการใช้ใบแห้งของมะระขี้นกมาบดให้เป็นผงแล้วชงกับเหล้าดื่ม หรือจะใช้ใบสดนำมาตำให้แหลก คั้นเอาน้ำมาทาบริเวณที่เป็นฝี หรือจะใช้รากแห้งบดเป็นผงแล้วผสมน้ำพอกบริเวณฝี (ผล, ใบ, ราก, เถา)
- 41. ช่วยรักษาแผลบวมเป็นหนอง ด้วยการใช้ผลสดของมะระขี้นกผิงไฟให้แห้ง บดเป็นผงแล้วนำน้ำมาทาหรือพอก หรือใช้ผลสดตำแล้วนำมาพอกก็ได้ (ผล)
- 42. ใช้เป็นยาฝาดสมาน (ผล, ราก, ใบ)
- 43. ใช้รักษาแผลจากสุนัขกัด ด้วยการใช้ใบสดของมะระขี้นกมาตำให้แหลก แล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล (ใบ)
- 44. ประโยชน์ของมะระขี้นก ช่วยรักษาโรคหิด ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่เป็นหิด (ผลแห้ง)
- 45. แก้อาการคันหรือโรคผิวหนังต่าง ๆ ด้วยการใช้ผลแห้งของมะระขี้นกนำมาบดให้เป็นผง แล้วนำมาโรยบริเวณที่คันหรือทำเป็นขี้ผึ้งใช้ทาแก้โรคผิวหนังต่าง ๆ (ผลแห้ง)
- 46. ช่วยดับพิษฝีร้อน (ใบ)
- 47. ช่วยรักษาโรคลมเข้าข้อ อาการเท้าบวม (ผล, ราก)
- 48. ช่วยแก้อาการปวดเมื่อยจากลมคั่งในข้อ (ใบ)
- 49. ช่วยแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือนิ้วเท้า (ผล, ราก)
- 50. แก้อาการฟกช้ำบวม (ผล, ใบ)
- 51. ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย ยีสต์ โปรโตซัว เชื้อมาลาเรีย (ผล)
- 52. ช่วยกระตุ้นความรู้สึกทางเพศ ด้วยการใช้เมล็ดแห้งของมะระขี้นกประมาณ 3 กรัม นำมาต้มกับน้ำดื่ม (เมล็ด)
- 53. มะระขี้นกสามารถนำมาใช้ทำแกงจืดมะระยัดไส้หมูสับได้เช่นเดียวกับมะระจีน แต่ต้องต้มนานหน่อยเพื่อลดความขม หรือจะนำมาทำเป็นอาหารเผ็ดก็ได้ เช่น แกงเผ็ด พะแนงมะระขี้นกยัดไส้ หรือจะนำไปผัดกับไข่ก็ได้เช่นกัน
- 54. ใบมะระขี้นกนิยมนำมารับประทานเป็นอาหาร (แต่ไม่นิยมกินสด ๆ เพราะมีรสขม)
- 55. ประโยชน์มะระขี้นก แถวอีสานนิยมนำใบมะระขี้นกใส่ลงไปในแกงเห็ดเพื่อทำให้แกงมีรสขมนิด ๆ ช่วยเพิ่มความกลมกล่อมมากขึ้น และนำยอดมะระมาลวกเป็นผักจิ้มกับน้ำพริกหรือปลาป่นก็ได้เช่นกัน
ประโยชน์
- 1. มะระขี้นก จะมีรสขมมากกว่ามะระจีน จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการนำผลอ่อนไปต้มหรือเผากินทั้งลูก แต่ถ้าเป็นผลแก่ก็ต้องนำมาคว้านเมล็ดออกเสียก่อน สำหรับวิธีลดความขมของมะระขี้นกทำได้ด้วยการต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือประมาณหยิบมือ แล้วลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ ก็จะทำให้ลดความขมของมะระลงไปได้และยังคงมีผลสีเขียวสดอีกด้วย
- 1. มะระขี้นก จะมีรสขมมากกว่ามะระจีน จึงเป็นที่นิยมสำหรับผู้สูงอายุ ด้วยการนำผลอ่อนไปต้มหรือเผากินทั้งลูก แต่ถ้าเป็นผลแก่ก็ต้องนำมาคว้านเมล็ดออกเสียก่อน สำหรับวิธีลดความขมของมะระขี้นกทำได้ด้วยการต้มน้ำให้เดือดจัด ใส่เกลือประมาณหยิบมือ แล้วลวกมะระในน้ำเดือดสักครู่ ก็จะทำให้ลดความขมของมะระลงไปได้และยังคงมีผลสีเขียวสดอีกด้วย
คำแนะนำ
- 1. ผู้ที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง หากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องได้ และควรรับประทานในปริมาณที่พอดี อย่าทำอะไรเกินเลย เช่นการดื่มน้ำมะระขี้นกก็อย่าขมจัด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจจะทำให้ตกเลือดหรือแท้งได้หากรับประทานเกินขนาดหรือกินมะระขี้นกที่เริ่มสุกแล้ว
- 1. ผู้ที่ม้ามเย็นพร่อง กระเพาะเย็นพร่อง หากรับประทานเข้าไปอาจจะทำให้มีอาการอาเจียน ถ่ายท้อง ปวดท้องได้ และควรรับประทานในปริมาณที่พอดี อย่าทำอะไรเกินเลย เช่นการดื่มน้ำมะระขี้นกก็อย่าขมจัด เพราะจะทำให้ตับทำงานหนัก และสำหรับหญิงตั้งครรภ์อาจจะทำให้ตกเลือดหรือแท้งได้หากรับประทานเกินขนาดหรือกินมะระขี้นกที่เริ่มสุกแล้ว
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> มะระขี้นก <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://f.btwcdn.com/store-9082/product/a3a52af3-4fc0-fea4-da45-5c0a23705bdc.jpg
https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2017/07/1-91.jpg
http://www.bookmuey.com/images/Bitter_gourd0002.jpg
https://live.staticflickr.com/733/32613579663_ee4b2fd160_b.jpg
https://health.mthai.com/app/uploads/2019/08/Bitter-Gourd.jpg