ยอ
วงศ์ : RUBIACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Morinda citrifolia L.
ชื่อสามัญ : Great morinda, Tahitian noni, Indian mulberry, Beach mulberry
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ยอ, แย่ใหญ่, ตาเสือ, มะตาเสือ, ยอบ้าน
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 2 - 6 เมตร ลำต้นมีขนาดเล็ก ขนาดโตเต็มที่ 5 - 10 เซนติเมตร ขึ้นกับอายุ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน เปลือกลำต้นบางติดกับเนื้อไม้ ผิวเปลือกออกสีเหลืองนวลแกมขาว หยาบสากเล็กน้อย แตกกิ่งน้อย 3 - 5 กิ่ง ทำให้แลดูไม่เป็นทรงพุ่ม
ใบ : เป็นใบเดี่ยว (simple leaf) แทงออกตรงข้ามกันซ้ายขวา มีรูปทรงรี หรือขอบขนาน ใบกว้างประมาณ 10 - 20 ซม. ยาวประมาณ 15 - 30 ซม. ใบอ่อนสีเขียวสด เมื่ออายุใบมากจะมีสีเขียวเข้ม ก้านใบยาวประมาณ 1 ซม. โคนใบ และปลายใบมีลักษณะแหลม ขอบใบ และผิวใบเป็นคลื่น ผิวใบมันเกลี้ยงทั้งสองด้าน ด้านบนใบมักพบเป็นตุ่มที่เกิดจากแบคทีเรีย
ดอก : ออกเป็นช่อกลมเดี่ยว ๆ สีขาว รูปทรงเหมือนหลอด ดอกแทงออกตามง่ามใบ ก้านช่อดอกยาวประมาณ 3 - 4 ซม. ไม่มีก้านดอกย่อย จัดเป็นดอกสมบูรณ์เพศที่มีทั้งเกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย กลีบรองดอก และโคนกลีบดอกเชื่อมติดกัน กลีบดอกมีสีขาว เป็นรูปท่อ ยาวประมาณ 8 - 12 มม. ผิวดอกด้านนอกเรียบ ด้านในมีขน ดอกส่วนครึ่งปลายบนแยกเป็น 4 - 5 แฉก ยาวประมาณ 4 - 5 มม. เกสรตัวผู้ และเกสรตัวเมีย ยาวประมาณ 15 มม. แยกเป็น 2 แฉก อับเรณูยาวประมาณ 3 มม.
ผล : เป็นชนิดผลรวม (multiple fruit) เช่นเดียวกับน้อยหน่า และขนุน เชื่อมติดกันเป็นผลใหญ่ดังที่เราเรียกผลหรือหมาก ขนาดผลกว้างประมาณ 3 - 5 ซม. ยาว 3 - 10 ซม. ผิวเรียบเป็นตุ่มพอง ผลอ่อนจะมีสีเขียวสด เมื่อแก่จะมีสีเหลืองอมเขียว และเมื่อสุกจะมีสีเหลือง และเปลี่ยนเป็นสีขาวจนเน่าตามอายุผล เมล็ดในผลมีจำนวนมาก เมล็ดมีลักษณะแบน ด้านในเมล็ดเป็นถุงอากาศทำให้ลอยน้ำได้ ผิวเมล็ดมีสีนํ้าตาลเข้ม
การขยายพันธุ์ : ปลูกด้วยการเพาะเมล็ด แต่สามารถขายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นได้เช่นกัน เช่น การปักชำ การตอน แต่การเพาะเมล็ดจะให้ผลที่ดีกว่าและอัตราการรอดจะสูงกว่าวิธีอื่น โดยการเพาะเมล็ดจะใช้วิธีการบีบแยกเมล็ดออกจากผลสุก แล้วล้างด้วยน้ำ และกรองเมล็ดออก ผลที่ใช้ต้องเป็นผลสุกจัดที่ร่วงจากต้นที่มีสีขาว เนื้อผลอ่อนนิ่ม ซึ่งจะได้เมล็ดที่มีสีดำหรือสีน้ำตาลเข้ม เมล็ดที่ได้ต้องนำไปตากแห้ง 3 - 5 วันก่อน และนำมาเพาะในถุงเพาะชำให้มีต้นสูงประมาณ 30 เซนติเมตร ก่อนนำลงปลูก ต้นยอเป็นพันธุ์ไม้ที่ดูแลง่ายไม่ค่อยมีแมลงศัตรูพืช หรือโรคพืชมากและยังเป็นพืชที่ทนทานต่อสภาพดินเค็มและสภาวะแห้งแล้งอีกด้วย จึงทำให้มีการแพร่กระจายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
สรรพคุณ
- 1. ลูกยอเป็นแหล่งของแคลเซียมและยังมีสารต่อต้านอนุมูลอิสระสูง
- 2. ช่วยในการชะลอวัยและความเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย
- 3. ช่วยบำรุงผิวพรรณ หนังศีรษะและผม
- 4. ช่วยป้องกันโรคภูมิแพ้ (น้ำลูกยอ)
- 5. สารสโคโปเลติน (Scopoletin) ในน้ำลูกยอมีฤทธิ์ในการขยายหลอดเลือดที่หดตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลงจนเป็นปกติ (ลูกยอ, น้ำลูกยอ)
- 6. มีส่วนช่วยรักษาโรคเบาหวาน (น้ำสกัดจากใบยอ)
- 7. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (น้ำสกัดจากลำต้นยอ, น้ำสกัดจากใบยอ)
- 8. ช่วยรักษาโรคกรดไหลย้อน ด้วยการทำเป็นเครื่องดื่ม ใช้คู่กับหัวหญ้าแห้วหมู อย่างแรกให้เลือกลูกยอห่าม นำมาหั่นเป็นแว่น ๆ ไม่บางหรือหนาจนเกินไป แล้วนำไปย่างไฟอ่อน ๆ (ปกติลูกยอจะมีกลิ่นเหม็น) โดยย่างให้เหลืองกรอบและย่างจนหมดกลิ่นเหม็นจริง ๆ จึงจะได้ตัวยาที่หอมน่ารับประทาน (การย่างจะนอกจากจะช่วยดับกลิ่นแล้วยังช่วยเพิ่มความเป็นด่างให้กับตัวยาด้วย จึงช่วยซับกรดและลดกรดได้อย่างมีประสิทธิภาพ) สำหรับหญ้าแห้วหมูให้เอาส่วนหัวใต้ดินที่เราเรียกว่าหัวแห้วหมู นำไปคั่วให้เหลืองและมีกลิ่นหอม เมื่อเสร็จแล้วให้ตั้งไฟต้มน้ำจนเดือดแล้วเอาตัวยาทั้งสองชนิดลงไปต้มพร้อมกัน ใส่น้ำตาลกรวดพอหวาน ทิ้งไว้สักพักแล้วยกลงจากเตา ตัวยาที่ได้นี้จะมีกลิ่นหอม รอจนอุ่นแล้วนำมารับประทาน ส่วนที่เหลือให้กรองเอาแต่น้ำแช่ไว้ในตู้เย็นแล้วค่อยอุ่นรับประทาน ให้ดื่มติดต่อกัน 1 สัปดาห์แล้วสังเกตอาการ
- 9. ช่วยแก้วัณโรค ด้วยการใช้ผลหรือใบทำเป็นยาพอก (ลูกยอ, ใบยอ)
- 10. ลูกยอมีสารโปรซีโรนีน (Proxeronine) เมื่อรวมตัวกับเอนไซม์โปรซีโรเนส (Proxeronase) จะได้สารซีโรนีน (Xeronine) ที่ลำไส้ใหญ่ เมื่อดูดซึมกลับสู่เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย จะช่วยปรับสภาพเซลล์ให้มีความสมดุลและแข็งแรง และช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานได้เป็นอย่างดี
- 11. ใช้บำบัดและรักษาโรคมะเร็ง
- 12. ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับสมอง
- 13. ใช้รักษาโรคติดสุราหรือยาเสพติด
- 14. ใช้ลดอาการแพ้
- 15. ใช้รักษาโรคหอบหืด
- 16. ใช้รักษาโรคเบาหวาน
- 17. ใช้รักษาโรคเส้นเลือดหล่อเลี้ยงหัวใจ
- 18. ใช้รักษาโรคอ่อนเพลียเรื้อรัง
- 19. ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินอาหารต่าง ๆ
- 20. ใช้รักษาโรคเซลล์เจริญเติบโตนอกมดลูก (Endometriosis)
- 21. ใช้รักษาโรคภูมิคุ้มกันต่ำ
- 22. ใช้รักษาโรคความดันโลหิตสูง
- 23. ใช้รักษาโรคเส้นโลหิตตีบ
- 24. ใช้รักษาโรคโปลิโอ
- 25. ใช้รักษาไซนัส
- 26. ช่วยลดปริมาณสารพิษในร่างกาย ทำให้ร่างกายทำงานได้เป็นปกติ เซลล์ในร่างกายอ่อนเยาว์ลง
- 27. ช่วยซ่อมแซมและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์ที่ผิดปกติ
- 28. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งและเนื้องอก
- 29. ช่วยกระตุ้นให้เซลล์ใหม่ในร่างกายเจริญเติบโตและทำหน้าที่ได้อย่างเป็นปกติ
- 30. ช่วยแก้กระษัย (ใบยอ, รากยอ)
- 31. ลูกยอมีฤทธิ์เป็นยากล่อมประสาทแบบอ่อน ๆ ช่วยผ่อนคลายความเครียดได้
- 32. ช่วยบำรุงธาตุไฟ (ลูกยอสด)
- 33. ช่วยให้เจริญอาหาร (ลูกยอ)
- 34. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (น้ำสกัดจากใบยอ)
- 35. ช่วยทำให้ระบบโลหิตหมุนเวียนดีขึ้น (ลูกยอสด)
- 36. ช่วยบำรุงสมอง ช่วยเสริมสร้างความจำ ทำให้มีสมาธิดีขึ้น
- 37. มีฤทธิ์กล่อมประสาท มีส่วนช่วยทำให้นอนหลับง่ายขึ้น
- 38. ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกแก้หัวสิว
- 39. ใบยอมีวิตามินเอสูงจึงช่วยบำรุงและรักษาสายตา แก้อาการตาบอดตอนกลางคืนได้ (ใบยอ)
- 40. ใช้รักษากุ้งยิง (ไอระเหยจากลูกยอ, ดอกยอ)
- 41. ช่วยรักษาโรคมาลาเรีย (ใบยอ)
- 42. ช่วยแก้ไข้ (ลูกยอสุก)
- 43. ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะ (ใบสด)
- 44. ช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนศีรษะ (ลูกยอสด)
- 45. ช่วยแก้เหงือกเปื่อยเป็นขุยบวม (ลูกยอโตเต็มที่แต่ไม่สุก)
- 46. ใช้รักษาอาการเจ็บหรือแผลตกสะเก็ดรอบปาก หรือในปาก (ลูกยอดิบ)
- 47. ช่วยรักษาอาการปากและเหงือกอักเสบ (ลูกยอสุก)
- 48. ช่วยแก้อาการปวดฟัน (ลูกยอสุก)
- 49. ลูกยอสุกมีสารแอสเพอรูโลไซด์ (Asperuloside) ช่วยแก้อาการคลื่นไส้อาเจียน (ลูกยอสุก)
- 50. ช่วยแก้อาการเจ็บคอ ด้วยการใช้ลูกยอดิบนำไปเผาไฟให้สุกและแช่ในน้ำต้มสุก แล้วรินเอาแต่น้ำดื่มเพื่อบรรเทาอาการ หรือจะใช้ลูกยอสุกบดละเอียดใช้กลั้วคอแก้อาการ (ลูกยอดิบ, สด)
- 51. ช่วยแก้เสมหะ ด้วยการใช้ลูกยอดิบนำไปเผาไฟให้สุกและแช่ในน้ำต้มสุก แล้วรินเอาแต่น้ำดื่ม
- 52. สารเซโรโทนิน (Serotonin) ในผลยอช่วยกระตุ้นระบบย่อยอาหารให้ทำงานได้อย่างสมบูรณ์ ทำให้ลำไส้ดูดซึมได้ง่าย
- 53. ช่วยขับลมในลำไส้ (ลูกยอสด, ลูกยอสุก)
- 54. ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาการอาหารไม่ย่อย (ลูกยอสด, ลูกยอสุก)
- 55. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ จุกเสียดแน่นท้อง (ลูกยอ)
- 56. ช่วยระบายท้อง ทำให้ขับถ่ายได้สะดวก (ทุกส่วน)
- 57. ช่วยแก้อาการปวดท้อง (น้ำสกัดจากใบยอ)
- 58. ใบยอใช้ปรุงเป็นอาหารแก้อาการท้องร่วง (ใบยอ)
- 59. ช่วยแก้อาการปวดกระเพาะ (น้ำมันสกัดจากลูกยอ)
- 60. ช่วยลดอาการท้องผูกได้
- 61. สารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ในลูกยอช่วยกระตุ้นทำให้ลำไส้ใหญ่มีการบีบตัวเพิ่มขึ้น จึงช่วยขับของเสียออกจากร่างกายได้มากขึ้น
- 62. ช่วยรักษาอาการระคายเคืองในระบบทางเดินอาหาร
- 63. ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะ
- 64. ช่วยรักษาโรคทางเดินปัสสาวะอักเสบ (น้ำสกัดจากใบยอ)
- 65. ใช้รักษาอาการอักเสบ ปวดบวม ปวดในข้อ ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อต่าง ๆ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
- 66. ช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับตับ
- 67. ช่วยรักษาโรคดีซ่าน (เปลือกต้น)
- 68. แก้อาการไส้เลื่อน (น้ำสกัดจากใบยอ)
- 69. ในลูกยอมีสารแอนทราควิโนน (Anthraquinone) ช่วยขับพยาธิ (ลูกยอแก่)
- 70. ช่วยขับประจำเดือน ทำให้ประจำเดือนมาเป็นปกติ (ลูกยอสด)
- 71. ชาวพื้นเมืองแถบโพลีนีเซีย (Polynesia) ใช้ผลอ่อน ใบ และราก เพื่อรักษาอาการผิดปกติของประจำเดือน
- 72. น้ำคั้นจากรากยอใช้แก้แผลที่มีอาการอักเสบรุนแรง (รากยอ)
- 73. ลูกยอสุกนำมาบดใช้ทาผิวเพื่อฆ่าเชื้อโรค
- 74. มีการนำไปทำเป็นน้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ ใช้ทาเพื่อลดอาการอักเสบ (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
- 75. น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอช่วยป้องกันแมลง (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
- 76. น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอใช้ทาช่วยลดการเกิดสิว (น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
- 77. ใช้รักษาบาดแผลและอาการบวม (ลูกยอสุก)
- 78. ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกรักษาแผลถลอก (ลูกยอ, ใบยอ)
- 79. ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกแก้ตุ่ม ฝีฝักบัว
- 80. ช่วยรักษาแผลพุพอง (ใบยอสด)
- 81. ใบใช้ทำเป็นยาพอกใช้แก้พิษจากการถูกปลาหินต่อย
- 82. ใบใช้ทำเป็นยาพอกใช้แก้กระดูกแตก กล้ามเนื้อแพลง (ใบยอ)
- 83. ลูกยอบนใช้ทาแก้ส้นเท้าแตก
- 84. ผลยอใช้ทำเป็นยาพอกแก้อาการเคล็ดขัดยอก หรือจะใช้ใบยอทำเป็นยาพอกก็ได้ (ลูกยอ, ใบยอ)
- 85. น้ำคั้นจากใบยอใช้ทาแก้อาการปวดตามข้อนิ้วมือ นิ้วเท้า (ใบยอ)
- 86. น้ำคั้นจากใบยอใช้ทาเมื่อมีอาการปวดเนื่องจากโรคเกาต์ (ใบยอ)
- 87. ใบสดมีการนำมาใช้สระผมและกำจัดเหา หรือจะใช้น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอก็ได้ (ใบสด, น้ำมันสกัดจากเมล็ดยอ)
ประโยชน์
- 1. ลูกยอสุก นำมาจิ้มกินกับเกลือหรือกะปิ
- 2. ลูกห่ามใช้ทำส้มตำ
- 3. ใบอ่อน นำมาลวกกินกับน้ำพริก ใช้ทำแกงจืด แกงอ่อม ผัดไฟแดง หรือนำมาใช้รองกระทงห่อหมก (เวลากินห่อหมกควรกินใบยอด้วย เพราะมีวิตามินสูง)
- 4. นำมาใช้ทำสีย้อมผ้า รากนำมาใช้ย้อมสีให้สีแดงและสีน้ำตาลอ่อน ส่วนเปลือกจะให้สีแดง เนื้อเปลือกจะให้สีเหลืองใช้ย้อมผ้าบาติก
- 5. ปัจจุบันมีการนำลูกไปแปรรูปโดยคั้นเป็น น้ำลูกยอ Noni หรือ น้ำลูกยาโนนิ
- 6. รากยอมีการนำมาใช้แกะสลัก ทำรงควัตถุสีเหลือง
- 7. ใบสดมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารสัตว์ หรือนำมาเลี้ยงตัวหนอนไหม
- 8. ลูกยอสุกมีการนำมาใช้ทำเป็นอาหารหมู
- 9. มีการนำมาใช้ทำเป็นยารักษาสัตว์ (แพทย์ทางเลือกสมัยใหม่)
คำแนะนำ
- 1. สารโพรซีโรนินที่พบในน้ำลูกยอ ต้องการน้ำย่อยเปปซิน (Pepsin) และสภาพความเป็นกรดในกระเพาะ เพื่อเปลี่ยนเป็นซีโรนิน ดังนั้น หากรับประทานน้ำลูกยอขณะที่ท้องอิ่มแล้วจะทำให้มีผลทาเภสัชของสารซีโรนินน้อยลง
- 2. คุณค่าและสรรพคุณน้ำลูกยอจะลดลงเมื่อรับประทานร่วมกับแอลกอฮอล์
- 3. การบดหรือการสกัดน้ำลูกยอไม่ควรทำให้เมล็ดยอแตก เพราะสารในเมล็ดยอมีฤทธิ์เป็นยาระบายอาจทำให้ถ่ายบ่อยได้
- 4. ผู้ป่วยโรคไตไม่ควรดื่มน้ำลูกยอ เพราะมีเกลือโปแตสเซียมสูง อาจทำให้เกิดภาวะหัวใจวายเฉียบพลันได้
- 5. สตรีมีครรภ์ไม่ควรบริโภคลูกยอ เพราะผลยอมีฤทธิ์ขับโลหิต อาจทำให้แท้งบุตรได้
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> ยอ <<<
แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/07/Noni-1.jpg
https://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/223632.jpg
http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/images/resource/herb/noni/morinda-2.jpg
https://sites.google.com/site/lukyxnoni2032/_/rsrc/1457788329081/nit/1210788830.jpg
https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/content/original-1531107789348.jpg