สมอไทย

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Chebulic.png

วงศ์ : COMBRETACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Terminalia chebula Retz.
ชื่อสามัญ : Chebulic Myrobalans, Myrolan Wood
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : หมากแน่ะ, ม่าแน่, สมออัพยา, ลูกสมอ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง ประเภทไม้ผลัดใบ มีลำต้นสูงประมาณ 10 - 15 เมตร ลำต้นแตกกิ่งปานกลาง มีทรงพุ่มค่อนข้างโปร่ง ลำต้นมีรูปร่างไม่สมมาตร มีรูปร่างไม่แน่นอน เปลือกลำต้นแตกเป็นสะเก็ดแผ่นใหญ่ และมีร่องลลึก สีดำอมเทา ส่วนเนื้อไม้มีลักษณะแข็ง มีสีเหลืองอมน้ำตาลบริเวณด้านนอก และด้านในมีสีน้ำตาลอมดำ สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการก่อสร้างบ้านเรือนได้ดี
ใบ : เป็นพืชใบเลี้ยงคู่ แตกออกเป็นใบเดี่ยวๆ เรียงเยื้องสลับข้างกันบริเวณปลายของกิ่งแขนง มีก้านใบยาว 1.5 - 2.5 เซนติเมตร ใบมีรูปร่างรี โคนใบ และปลายใบมน ใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ใบด้านล่างมีสีจางกว่า แผ่นใบค่อนข้างหนา และเรียบ มีขนขึ้นปกคลุม ทั้งนี้ สมอไทยจะเริ่มผลัดใบในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม และเริ่มแตกใบอ่อนในช่วงเดือนเมษายน
ดอก : ดอกสมอไทยแทงออกเป็นช่อบนปลายกิ่งแขนง แต่ละปลายกิ่งมีช่อดอกประมาณ 3 - 5 ช่อ ปลายช่อห้อยลงด้านล่าง แต่ละช่อมีดอกประมาณ 10 - 20 ดอก ดอกเป็นดอกสมบูรณ์เพศ ดอกมีขนาดเล็ก 3 - 5 มิลลิเมตร ดอกมีลักษณะเป็นรูปถ้วย มีลีบดอก 5 กลีบ สีขาวอมเหลือง ด้านในดอกมีเกสรตัวผู้ 10 อัน และมีรังไข่อยู่ด้านล่างตรงฐานดอก แบ่งเป็น 2 ช่อง โดยดอกสมอไทยจะเริ่มออกดอกหลังการแตกใบใหม่ในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม
ผล : มีลักษณะรูปไข่หรือค่อนข้างกลม ผิวผลไม่สมมาตรนัก ขนาดผล 2 - 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 2.5 - 3.5 เซนติเมตร ประกอบด้วยส่วนเปลือก และเนื้อผลเป็นส่วนเดียวกัน เนื้อค่อนหนา และแข็ง แต่กรอบ ให้รสเปรี้ยวอมฝาด เปลือกผลขณะอ่อนมีสีเขียวสด เมื่อผลเริ่มแก่จะมีสีแดงเรื่อปะ ผลหนึ่งจะมี 1 เมล็ด เมล็ดมีรูปร่างค่อนข้างกลม เปลือกเมล็ดหนา มีสีเหลืองน้ำตาล โดยผลสมอไทยจะเริ่มติดในช่วงเดือนมิถุนายน และผลจะแก่มีสีเขียว และมีสีแดงเรื่อปะในช่วงเดือนพฤศจิกายน-มกราคม
การขยายพันธุ์ : สามารถปลูกได้ด้วยการเพาะเมล็ด ส่วนวิธีการอื่นมักไม่ได้ผล เพราะต้นเสมอไทยเป็นไม้เนื้อแข็ง ทำให้การตอนหรือการปักชำไม่ได้ผลมากนัก

สรรพคุณ

1. ลูกสมอช่วยบำรุงผิวพรรณให้เปล่งปลั่ง (ผลรสเค็ม)
2. ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกายและช่วยบำบัดรักษาโรคได้หลายชนิด
3. ช่วยให้เจริญอาหาร (เมล็ด)
4. ช่วยบำรุงกำลัง (ผลรสหวาน)
5. แก้อาการอ่อนเพลีย (ผลแก่นำมาดองกับน้ำมูตรโคดื่มบรรเทาอาการ)
6. ช่วยบำรุงร่างกาย (ผลแก่)
7. ช่วยบำรุงหัวใจ (เปลือกต้น)
8. ช่วยฟอกโลหิต (ผลรสเปรี้ยว)
9. ช่วยแก้กระหาย (ผลรสเปรี้ยว)
10. ช่วยระงับประสาท ทำให้นอนหลับสบาย (ผลรสเค็ม)
11. แก้อาการนอนสะดุ้ง (ผลแก่)
12. ใช้รักษาโรคฟันและเหงือกที่เป็นแผล
13. ช่วยสมานแผลในช่องปาก (ผลรสฝาด)
14. ช่วยควบคุมธาตุในตัว (ผล)
15. ช่วยแก้พิษร้อนใน (ผล)
16. ช่วยแก้ไข้ (ผลรสขม)
17. แก้เจ็บคอ (ผลแก่) หรือจะใช้เนื้อผลรสฝาดทำเป็นยาชงใช้อมกลั้วคอแก้อาการก็ได้เช่นกัน
18. ช่วยแก้อาการไอ (ผลรสเปรี้ยว)
19. แก้อาการหืดไอ (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
20. แก้อาการสะอึก (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
21. ช่วยแก้อาเจียน (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
22. ช่วยกัดเสมหะ (ผลรสเปรี้ยว)
23. ช่วยขับเสมหะ (ผลอ่อน)
24. ช่วยแก้เสมหะเป็นพิษ (ผลแก่)
25. ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่ายให้คล่องตัว และเป็นยาระงับการถ่าย คือรู้ปิดรู้เปิดไปในตัว (ผล)
26. ช่วยย่อยอาหาร (ผลรสขม)
27. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ (เนื้อลูกสมอรสฝาดเปรี้ยว)
28. ช่วยแก้อาการท้องเสีย (ผลรสฝาด)
29. ช่วยขับลมในลำไส้ (ผลอ่อน)
30. ผลแก่ช่วยแก้ลม จุกเสียด (ผลแก่)
31. ช่วยแก้อาการบิด (ผลรสฝาด)
32. ช่วยแก้อาการท้องร่วงเรื้อรัง (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
33. ช่วยแก้โลหิตในท้อง (ผลอ่อน)
34. ช่วยรักษาโรคท้องผูกและอาการท้องผูกเรื้อรัง (ผลรสเปรี้ยว)
35. ช่วยแก้โรคท้องมาน (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
36. ช่วยในการขับถ่าย (ผลรสฝาด)
37. ช่วยชำระล้างเมือกมันในลำไส้ (ผลรสเปรี้ยว)
38. ช่วยสมานแผลในกระเพาะลำไส้ (ผลรสฝาด)
39. ช่วยแก้ขัด (เยื่อหุ้มเมล็ด)
40. ช่วยขับปัสสาวะ (เปลือกต้น)
41. ช่วยบรรเทาอาการของโรคริดสีดวงทวาร (ผลรสเค็ม)
42. ช่วยแก้ประจำเดือนไม่ปกติ (ผลรสเปรี้ยว)
43. ช่วยแก้ลมป่วง (ผล)
44. แก้ดีพลุ่ง (ผลแก่)
45. ช่วยบำรุงน้ำดี (ผลรสขม,ใบ)
46. ใช้รักษาโรคเกี่ยวกับน้ำดี (เยื่อหุ้มเมล็ด)
47. ช่วยขับน้ำเหลืองเสีย (เปลือกต้น)
48. ช่วยแก้ประดงน้ำเหลืองเสีย (ผลรสเค็ม)
49. ช่วยแก้ตับม้ามโต (ผลรสฝาดเปรี้ยว)
50. ช่วยแก้ปวดเมื่อยตามร่างกาย ตามข้อ (ผลแก่นำมาดองกับน้ำมูตรโคดื่มบรรเทาอาการ)
51. ช่วยถอนพิษผิดสำแดง (ผลรสขม)
52. ผลแก่ใช้เป็นยาฝาดสมาน
53. ใช้รักษาแผลเรื้อรัง ด้วยการนำผลแก่มาบดให้เป็นผงแล้วนำมาโรยใส่แผล (ผลแก่)
54. ช่วยแก้พิษฝี (ผลรสเค็ม)
55. ช่วยแก้พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ผลรสเค็ม)
56. ช่วยแก้พยาธิต่าง ๆ (ผลรสเค็ม)
57. สมอไทยจัดอยู่ในกลุ่มยาสมุนไพร "พิกัดตรีผลา" "พิกัดตรีสมอ" "พิกัดตรีฉันทลามก"
58. ลูกสมอ ประโยชน์ผลดิบใช้รับประทานเป็นผลไม้สด หรือนำไปดองเกลือก็ได้ ส่วนผลห่ามสามารถนำไปจิ้มน้ำพริกกินได้ (ผล)
59. ผลใช้ในอุตสาหกรรมฟอกหนังและใช้ทำหมึก (ผล)

ประโยชน์

1. ผลสมอไทยนำมาทานสดหรือจิ้มกับพริกน้ำปลา ให้รสเปรี้ยวอมฝาด มีสรรพคุณทางยาหลายด้าน
2. ผลสมอไทยนำมาทำสมอไทยดอง หรือ สมอไทยแช่อิ่มรับประทาน
3. เปลือกลำต้นใช้มีดถากนำมาย้อมผ้า ย้อมแห ให้สีดำอมแดงเรื่อ
4. ใบสมอไทย นำมาต้มย้อมผ้า ใบอ่อนให้สีเขียวขี้ม้า ใบแก่ที่เหลืองแล้วให้สีเหลืองอมน้ำตาล
5. ใบอ่อน นำมาสับเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วตากแห้ง ก่อนนำมาชงเป็นชาดื่ม หรือ ใช้มวนเป็นยาสูบผสมกับใบพืชชนิดอื่น
6. ไม้สมอไทยเป็นไม้เนื้อแข็ง นิยมเลื่อยแปรรูปเป็นเสาบ้าน แผ่นไม้ปูบ้าน ทำประตูวงกบ รวมถึงทำเครื่องเรือน และเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
7. กิ่งไม้ใช้ทำฟืน

คำแนะนำ

1. ผลดิบกินเป็นผลไม้สด รสเปรี้ยวขมอมฝาด มีแทนนินเป็นจำนวนมาก หรือนำไปดองเกลือ
2. ผลห่ามนำไปจิ้มน้ำพริก
3. ผลอ่อนใช้เป็นยาระบาย ผลแก้เป็นยาฝาดสมาน แก้ลมจุกเสียด เยื่อหุ้มเมล็ดแก้ขัดและโรคเกี่ยวกับน้ำดี มีสารอาหารที่เป็นประโยชน์หลายชนิด เช่น วิตามินซี วิตามินเอ แคลเซียม ฟอสฟอรัส ชาวกะเหรี่ยงใช้ผลย้อมผ้า
4. ผลสุก 5 - 6 ผลต้นกับน้ำใส่เกลือเล็กน้อย ใช้เป็นระบายอ่อนๆ ใช้น้ำประมาณ 1 ถ้วยแก้ว จะถ่ายหลังจากกินแล้วประมาณ 2 ชั่วโมง

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=7823k8DXYAg

>>> สมอไทย <<<


Chebulic1.png Chebulic2.png Chebulic3.png Chebulic4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.caherbal.com/wp-content/uploads/2016/11/สมอไทย-ราชาสมุนไพร-ป้องกันมะเร็ง.jpg
https://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/223640.jpg
https://f.ptcdn.info/413/014/000/1389586579-1JPG-o.jpg
http://www.fca16mr.com/upload/files/technical/สมอไทย%202.jpg
https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2017/12/2-10.jpg