ลูกซัด

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Methi.png

วงศ์ : LEGUMINOSAE (FABACEAE) - PAPILIONIODEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Trigonella foenum-graecum L.
ชื่อสามัญ : Fenugreek , Methi
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : -

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้ล้มลุกอายุปีเดียว ลำต้นตั้งตรง สูงได้ถึง 60 ซม. รากแก้วขนาดใหญ่ใบประกอบแบบขนนก
ใบ : มีใบย่อย 3 ใบ เรียงสลับ หูใบขนาดเล็ก ก้านใบยาว 1 - 4 หรือ 1-6 ซม. แกนกลางสั้น ใบย่อยรูปไข่กลับหรือขอบขนาด กว้าง 0.5 - 2 ซม. ยาว 1.5 - 4 ซม.
ดอก : ดอกเดี่ยวออกที่ซอกใบ รูปดอกถั่ว สีเหลือง ยาว 1 - 1.5 ซม
ผล : ฝักรูปขอบขนาน กว้าง 2 - 4 ซม. ยาว 5 - 19 ซม. ผิวเกลี้ยง ในฝักมีเมล็ด 10 - 20 เมล็ด เมล็ดแก่สีน้ำตาลอ่อน หรือสีเหลืองทอง เมล็ดมีขนาดเล็ก ขนาดกว้าง 3 มิลลิเมตร ยาว 4 มิลลิเมตร หนา 1 มิลลิเมตร มีร่องตรงกลางเมล็ด มีกลิ่นแรงเฉพาะตัว เมล็ดมีรสฝาด มีกลิ่นหอม
การขยายพันธุ์ : สามารถขยายพันธุ์ได้โดยการใช้เมล็ด และการปักชำ โดยมีวิธีการเพาะเมล็ดและใช้กิ่งปักชำ

สรรพคุณ

1. เบาหวาน (Diabetes) งานวิจัยบางชิ้นได้พบว่าการบริโภคเมล็ดลูกซัดร่วม/ผสมกับอาหารจะลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยเบาหวานประเภทที่ 2 ลง อย่างไรก็ตามการทานเมล็ดลูกซัดเพียงหนึ่งหรือสองครั้งต่อวันในปริมาณ 5 - 50 กรัมเท่านั้นที่อาจจะได้ผล ปริมาณที่น้อยกว่า 2.5 กรัมอาจไม่แสดงผลลัพธ์ใด ๆ ในผู้ป่วยเบาหวานประเภท 1 การทานผงจากเมล็ดลูกซัด 50 กรัมสองครั้งต่อวันอาจสามารถช่วยลดปริมาณน้ำตาลในปัสสาวะได้
2. ปวดประจำเดือน (dysmenorrhea) การทานผงเมล็ดลูกซัด 1800 - 2700 mg สามครั้งต่อวันในช่วง 3 วันแรกที่มีประจำเดือน ตามด้วย 900 mg สามครั้งต่อวันในช่วงที่ประจำเดือนหยุดจะช่วยลดอาการเจ็บปวดในผู้หญิงที่มีปัญหาปวดประจำเดือนได้ ซึ่งหมายความว่าจะช่วยลดความจำเป็นในการใช้ยาแก้ปวดลง
3. แสบร้อนกลางอก (Heartburn) งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าการทานผลิตภัณฑ์จากลูกซัดชนิดหนึ่ง (FenuLife, Frutarom Belgium) ก่อนรับประทานอาหารมื้อที่ใหญ่ที่สุดของวันสองมื้อจะลดอาการแสบร้อนกลางอกได้
4. คอเลสเตอรอลสูง มีข้อสรุปจากการศึกษาเรื่องของผลกระทบจากลูกซัดกับระดับคอเลสเตอรอลที่แย้งกันอยู่บ้าง พบว่าการรับประทานเมล็ดลูกซัดจะลดระดับไขมันความหนาแน่นไลโพโปรตีนต่ำ (low-density lipoprotein (LDL หรือไขมันไม่ดี) แต่ผลกระทบกับคอเลสเตอรอลชนิดความหนาแน่นไลโพโปรตีนสูง (HDL หรือไขมันดี) และไตรกลีเซอร์ไรด์ยังคงไม่สอดคล้องกัน
5. กระบวนการผลิตน้ำนม มีรายงานว่าการทานแคปซูลหรือดื่มชาลูกซัดทันทีหลังคลอดจะเพิ่มการผลิตน้ำนมของมารดาขึ้น ลูกซัดยังอาจช่วยกระบวนการนี้มากขึ้นหากเริ่มทานหลังคลอดหนึ่งหรือสองวัน แต่ก็ไม่ใช่การศึกษาทุกชิ้นจะเห็นพ้องเช่นนี้เนื่องจากมีรายงานแย้งว่าการทานลูกซัดจะให้ผลดีน้อยลงเมื่อทานหูเสือ (Indian borage) หรืออินทผลัม (palm date)
6. ภาวะมีบุตรยากของผู้ชาย (Male infertility) งานวิจัยกล่าวว่าหยดน้ำมันลูกซัดเข้าปากสามครั้งต่อวันนาน 4 เดือนจะเพิ่มจำนวนสเปิร์มของผู้ชายที่มีปัญหาความเข้มข้นของน้ำเชื้อต่ำได้ แต่การทานส่วนอื่น ๆ จากเมล็ดลูกซัดอาจไม่ได้ให้สรรพคุณเช่นนี้
7. ลดน้ำหนัก งานวิจัยแสดงให้เห็นว่าสารสกัดจากเมล็ดลูกซัดสามารถลดปริมาณการบริโภคไขมันของผู้ที่มีน้ำหนักเกินได้เมื่อรับประทานในปริมาณ 392 mg สามครั้งต่อวันนาน 2 - 6 สัปดาห์ แต่หากเป็นปริมาณน้อยกว่านี้จะไม่ได้ประโยชน์ใด ๆ การเพิ่มกากใยอาหารลูกซัดในอาหารเช้า 8 กรัมอาจช่วยเพิ่มความรู้สึกอิ่มและลดความหิวในมื้อเที่ยงไดด้วย แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่าการทำเช่นนี้จะช่วยในการลดน้ำหนักจริงหรือไม่
8. โรคพาร์กินสัน (Parkinson's disease) งานวิจัยพบว่าการทานสารสกัดจากเมล็ดลูกซัด (Indus Biotech Private Limited) สองครั้งต่อวันนาน 6 เดือนไม่ได้ช่วยลดอาการของผู้ป่วยพากินสัน
9. โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (polycystic ovary syndrome) มีข้อมูลเรื่องผลลัพธ์จากการทานลูกซัดกับโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบที่ขัดแย้งกันอยู่ โดยมีงานวิจัยกล่าวว่าการทานสารสกัดจากเมล็ดลูกซัด (Goldarou Pharmaceutical Co.) ทุกวันนาน 8 สัปดาห์ไม่ได้ช่ยลดอาการของผู้หญิงที่ป่วยเป็นโรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ แต่งานวิจัยชิ้นอื่น ๆ กลับกล่าวว่าการทานผลิตภัณฑ์สารสกัดจากเมล็ดลูกซัด (Furocyst, Cepham Inc.) 1000 mg ทุกวันอาจช่วยลดขนาดของถุงน้ำรังไข่ได้ และช่วยควบคุมความยาวของรอบเดือนและช่วงเวลาของประจำเดือนแต่ละรอบได้ด้วย
10. หัวล้าน
11. มะเร็ง
12. ปากแตก
13. อาการไอเรื้อรัง
14. ท้องผูก
15. โรคผิวหนัง (Eczema)
16. ไข้
17. เก๊าท์ (Gout)
18. “หลอดเลือดแดงแข็งตัว” (atherosclerosis)
19. ไส้เลื่อน (Hernias)
20. โรคไต
21. แผลในปาก
22. ปัญหาทางเพศ (เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ)
23. ปวดท้อง

ประโยชน์

1. เมล็ดลูกซัดถูกใช้ประกอบอาหาร
2. ใช้ทำยา
3. ใช้กลบรสชาติของยาชนิดอื่น ๆ เนื่องจากลูกซัดเป็นเมล็ดที่มีกลิ่นแรงและมีรสชาติคล้ายกับไซรัปเมเปิ้ล อีกทั้งใบจากต้นลูกซัดเองก็สามารถรับประทานเป็นผักได้อีกด้วย

คำแนะนำ

1. ไม่แนะนำให้คนที่แพ้อาหารประเภทถั่วทานลูกซัด เพราะถั่วลูกซัดเป็นพืชตระกูลถั่ว ถึงแม้จะจัดเป็นเครื่องเทศก็ตาม
2. หญิงมีครรภ์ไม่ควรทานถั่วลูกซัด เพราะถั่วลูกซัดอาจเข้าไปกระตุ้นการหดตัวของมดลูกได้
3. ควรระวังการใช้ลูกซัดร่วมกับยารักษาเบาหวาน เช่น ยาในกลุ่ม sulfonylureas ได้แก่ chlorpropamide, glibencamide, glipizide, gliclazide, gliquidone และ glimepiride เพราะลูกซัดอาจไปเสริมฤทธิ์ของยา
4. อาจมีผลทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำลงมากเกินไป ดังนั้นหากผู้ป่วยเบาหวานจะรับประทานลูกซัด ควรปรึกษาแพทย์และอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์อย่างใกล้ชิด
5. ควรระมัดระวังในการใช้ร่วมกับยาละลายลิ่มเลือด เช่น warfarin หรือสมุนไพรที่มีฤทธิ์ต้านการรวมตัวของเกร็ดเลือด เช่น กระเทียม หรือแปะก๊วย เพราะอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดได้
6. ลูกซัดอาจส่งผลทำให้เกิดผลข้างเคียงอื่น ๆ ได้ เช่น ท้องเสีย ท้องไส้ปั่นป่วน เรอ มีแก๊สในช่องท้อง หรือปัสสาวะมีกลิ่นคล้ายเมเปิลไซรัป
7. ถึงแม้ว่ายังไม่มีรายงานการใช้ในสตรีมีครรภ์และให้นมบุตร แต่สตรีมีครรภ์และให้นมบุตร แต่สตรีมีครรภ์ควรระมัดระวังในการใช้ เนื่องจากลูกซัดมีผลลดน้ำตาลในเลือด นอกจากนี้ยังมีรายงานวิจัยว่า สารสกัดน้ำ 95% เอทานอล และเมทานอลจากเมล็ด มีฤทธิ์กระตุ้นมดลูกของหนูที่กำลังตั้งท้อง ดังนั้น อาจมีผลทำให้เกิดแท้งลูกได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์และผู้เชี่ยวชาญก่อนใช้รวมถึงไม่ควรใช้ในปริมาณมาก และต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=1tGGIJa73GA

>>> ลูกซัด <<<


Methi1.png Methi2.png Methi3.png Methi4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://f.btwcdn.com/store-9082/product/18ac4bf0-34c8-7ee5-3311-5c08a5ff6826.jpg
https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/fenugreek-greenforage.jpg
https://www.matichonweekly.com/wp-content/uploads/2017/01/Aesthetic_bunch_of_fenugreek_greens.jpg
https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/shanbalileh.jpg
https://www.thairath.co.th/media/dFQROr7oWzulq5FZYSpOQlX8GAGIBv6TJGeyrPPPfgvTrToeVIca0dhyQVOvgZNdgT3.jpg