สะตอ

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Stink-bean.png

วงศ์ : MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parkia speciosa Hassk.
ชื่อสามัญ : Bitter bean, Twisted cluster bean, Stink bean
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : สะตอ, ปะตา, ปัตเต๊าะ, ปาไต, ตอ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีลำต้นสูงได้มากถึง 30 เมตร โคนต้นเป็นพูพอน รูปทรงลำต้นเพราตรง เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล ผิวเปลือกแตกสะเก็ดขนาดเล็กหรือเป็นร่องตื้นๆขนาดเล็ก ลำต้นแตกกิ่งค่อนข้างน้อยจึงแลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง กิ่งแตกมากบริเวณเรือนยอด
ใบ : เป็นใบแบบขนนกสองชั้น คือ มีก้านใบหลักยาวประมาณ 30 - 50 เซนติเมตร ที่ประกอบด้วยก้านใบย่อย 14 - 24 คู่ แต่ละก้านใบย่อยยาวประมาณ 2.2 - 6 เซนติเมตร มีใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน 30 - 38 คู่ ใบย่อยมีลักษณะเป็นขอบขนาน สีเขียวสดถึงเขียวเข้มตามอายุใบ แผ่นใบเรียบ ปลายใบมน มีติ่งเล็กตรงกลางของปลายใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ยาว 30 - 50 เซนติเมตร ขนาดช่อ 0.5 - 1 เซนติเมตร ส่วนดอกจะยาว 5 - 7 เซนติเมตร ขนาดดอก 2 - 4 เซนติเมตร ดอกประกอบด้วยกลีบดอกที่มีลักษณะเป็นหลอดเรียงติดกันในแนวตั้ง โคนดอกเป็นเกสรตัวผู้ ส่วนถัดมาเป็นเกสรชนิดสมบูรณ์เพศ ดอกจะเริ่มออกประมาณเดือนเมษายน และอีกประมาณ 70 วัน ก็สามารถเก็บฝักได้ และจะให้ฝักต่อเนื่องจนถึงอายุ 15 - 20 ปี
ผล : ฝัก ที่มีลักษณะแบน มีทั้งชนิดที่เป็นฝักบิดเป็นเกลียว และชนิดที่แบนตรง ฝักยาวประมาณ 25 - 45 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 - 5 เซนติเมตร เปลือกฝักอ่อนมีสีเขียว และค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ ตรงกลางฝักเป็นที่อยู่ของเมล็ดที่เรียงซ้อนกันเป็นตุ่มนูน เมล็ดมีลักษณะคล้ายหัวแม่มือ หรือรูปรีค่อนข้างกลม ขนาดเมล็ดทั่วไป กว้างประมาณ 2.2 - 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5 - 2 เซนติเมตร เมล็ดอ่อนมีสีเขียว ให้รสหวานมัน และมีกลิ่นฉุน และเมื่อแก่จะเริ่มเหลือง และดำในที่สุด ทั้งนี้ สะตอจะให้ฝักมากในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด โดยมีลักษณะการปลูกที่นิยมปลูกแซมกับพืชอื่น เช่น ปลูกแซมในสวนปาล์ม สวนยาง เป็นต้น ส่วนระยะปลูกระหว่างต้นในแนวแถวเดียวกันที่ 10 - 12 x 10 - 12 เมตร และหากปลูกหลายแถวจะมีระยะระหว่างแถวเท่ากันในระยะเท่ากัน ซึ่ง 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 11 - 16 ต้น

สรรพคุณ

1. สะตอมีส่วนช่วยบำรุงสายตา
2. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
3. ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
4. ช่วยลดความดันโลหิต
5. ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกันได้ดีขึ้น
6. มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์
7. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
8. เชื่อว่าการรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้
9. ช่วยขับลมในลำไส้
10. ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
11. ช่วยในการขับปัสสาวะ
12. สะตอมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย
13. แก้ปัสสาวะพิการ
14. ช่วยแก้ไตพิการ
15. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
16. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา

ประโยชน์

1. ใช้ประกอบอาหาร เช่น สะตอผัดกุ้ง แกงป่าใส่สะตอ สะตอผัดกะปิกุ้งสด เป็นต้น
2. ใช้แปรรูปเป็นสะตอดองได้อีกด้วย ส่วนยอดสะตอนำมารับประทานเป็นผักเหนาะ
3. ใบของสะตอใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
4. ลำต้นของสะตอใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน

คำแนะนำ

1. เนื่องจากสะตอมีกรดยูริกสูง สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์หรือผู้ที่มีกรดยูริกในร่างกายสูงเกินค่ามาตรฐานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสะตอ เพราะอาจจะทำให้โรคเกาต์กำเริบได้ และกรดยูริกในร่างกายที่สูงก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่ว โรคไตอักเสบ และมีอาการหูอื้ออีกด้วย

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=PSnUBrM0t2k

>>> สะตอ <<<


Stink-bean1.png Stink-bean2.png Stink-bean3.png Stink-bean4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.cpbrandsite.com/contents/tips_tricks/xljnkogimbzifkfsstxyjh6nnkvjaod7ikgrrdiv.jpg
https://img4.tnews.co.th/userfiles/images/Still0603_00002.jpg
https://www.nanagarden.com/picture/product/400/245190.jpg
https://oer.learn.in.th/file_upload/cover/70824.jpg
https://health.mthai.com/app/uploads/2019/06/Bitter-bean.jpg