พลูคาว

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Plu.png

วงศ์ : SAURURACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Houttuynia cordata Thunb.
ชื่อสามัญ : Plu Kaow
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ผักคาวตอง, คาวทอง, ผักก้านตอง, ผักคาวปลา, ผักเข้าตอง, ผักคาวตอง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็น พืชล้มลุกอายุหลายปี สูง 15 - 30 ซม. ลำต้นกลม สีเขียว รากแตกออกตามข้อ มีกลิ่นคาวทั้งต้น
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปหัวใจ กว้าง 4 - 6 ซม. ยาว 6 - 10 ซม. ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเว้ารูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ สีเขียว ด้านบนของใบเป็นสีเขียวเข้ม ด้านล่างออกสีม่วง ก้านใบยาวและโคนเป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายยอด มีใบประดับสีขาว 4 ใบ ที่โคนช่อดอก ปลายมน ดอกเล็กจำนวนมาก สีขาวยออกเหลือง
ผล : เป็นผลแห้ง แตกออกได้ เมล็ดรี
การขยายพันธุ์ :

สรรพคุณ

1. มีฤทธิ์ในการช่วยต่อต้านมะเร็ง ยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
2. มีฤทธิ์ในการช่วยบำบัดฟื้นฟูโรคความดันโลหิตสูง
3. ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้กับร่างกาย ต้านทานโรค ช่วยยืดอายุผู้ป่วยให้อยู่สู้โรคได้นานมากขึ้น
4. มีส่วนช่วยยับยั้งเบาหวาน รักษาความสมดุลของร่างกาย
5. ช่วยทำให้กระดูกเชื่อมติดกันเร็วขึ้น (ต้นสด)
6. ช่วยรักษาปริมาณของเหลวในร่างกาย
7. ช่วยรักษาอาการหูชั้นกลางอักเสบ (ทั้งต้น)
8. ใช้รักษาโรคติดเชื้อและทางเดินหายใจ (ต้น)
9. ประโยชน์ของผักคาวตองช่วยแก้ไข้ (ใบ)
10. ช่วยรักษาโรคไข้มาลาเรีย (ต้น)
11. ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาและช่วยต้านเชื้อโรคหวัด ไข้หวัดใหญ่
12. ใช้เป็นส่วนประกอบในตำรับยา ช่วยรักษาอาการติดเชื้อเฉียบพลัน ติดเชื้อทางเดินหายใจ
13. ใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาที่เป็นน้ำยาข้น ใช้ทารักษาคางทูม ต่อมทอนซิลอักเสบ และปอดอักเสบในเด็ก
14. คาวตองมีสรรพคุณช่วยแก้และบรรเทาอาการไอ (ทั้งต้น)
15. มีส่วนช่วยกระตุ้นการแบ่งตัวของเซลล์เม็ดเลือดขาวช่วยรักษาภาวะภูมิแพ้ หอบหืด
16. ช่วยรักษาโรคไอกรน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
17. ช่วยรักษาการอักเสบชนิดธรรมดาบริเวณแก้วตา (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
18. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ (ทั้งต้น)
19. ช่วยรักษาโรคหลอดลมขยายตัวมากเกินไป (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
20. ช่วยรักษาอาการปอดบวม ปอดอักเสบ (ทั้งต้น)
21. ช่วยรักษาฝีหนองในปอด (ต้น)
22. ช่วยรักษาอาการคั่งน้ำในอกจากโรคมะเร็ง (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
23. ช่วยลดอาการบวมน้ำ (ทั้งต้น)
24. ใช้เป็นยาระบาย อาหารไม่ย่อย (ใบ)
25. รักษาอาการท้องเสีย (ใบ)
26. ใช้แก้โรคบิด (ต้น, ใบ, ทั้งต้น)
27. ช่วยขับพยาธิ (ใบ)
28. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ (ราก, ทั้งต้น)
29. ช่วยรักษาอาการติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะ (ทั้งต้น)
30. ช่วยรักษาริดสีดวงทวาร (ต้นสด, ใบ, ทั้งต้น)
31. ช่วยรักษาโรคหนองใน (ใบ)
32. ใช้ปรุงเป็นยาแก้กามโรค (ใบ)
33. ช่วยรักษานิ่ว (ต้น)
34. ช่วยแก้โรคไต (ใบ)
35. ช่วยรักษาอาการไตผิดปกติ (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
36. ช่วยรักษาโรคตับอักเสบชนิดดีซ่าน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
37. ช่วยขับระดูขาว (ต้น)
38. ช่วยรักษาแผลอักเสบคอมดลูก (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
39. ช่วยรักษาการอักเสบบริเวณกระดูกเชิงกราน (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
40. ช่วยแก้โรคข้อ (ใบ)
41. ช่วยรักษาโรคหัด (ใบ)
42. ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ (ต้นสด, ใบ)
43. ช่วยรักษาผื่นคัน ฝีฝักบัว (ต้นสด)
44. มีฤทธิ์ช่วยระงับอาการปวด
45. ช่วยห้ามเลือด
46. มีฤทธิ์ต้านการอักเสบต่าง ๆ
47. ใช้พอกฝี บวมอักเสบ (ต้นสด, ทั้งต้น)
48. ช่วยรักษาบาดแผล (ต้นสด)
49. ช่วยรักษาแผลเปื่อย (ต้นสด)
50. ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วขึ้น (ใบ)
51. ใช้พอกแผลที่ถูกงูพิษกัด (ต้นสด)
52. ช่วยป้องกันการติดเชื้อหลังผ่าตัด (ประยุกต์ใช้ทางการแพทย์)
53. ใบสดผิงไฟพอนิ่มใช้พอกเนื้องอกต่าง ๆ (ใบ)
54. มีฤทธิ์ช่วยต่อต้านเชื้อรา เชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส
55. ประโยชน์ของพลูคาวช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของไวรัสชนิดต่าง ๆ เช่น ไข้ทรพิษ หัด งูสวัด เริม เอดส์ (HIV)
56. แก้โรคน้ำกัดเท้า
57. ในประเทศจีนใช้เป็นส่วนผสมในตำรับยาช่วยป้องกันและรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสในไก่ โดยใช้ผสมในอาหารที่ใช้เลี้ยงไก่
58. ใบสดใช้ป้องกันปลาเน่าเสีย (ใบ)
59. ใบนำมารับประทานเป็นผักสด
60. ใบสดต้มน้ำนำมารดต้นข้าว ข้าวสาลี ต้นฝ้าย ป้องกันพืชเป็นโรคเหี่ยวเฉาตาย
61. ใช้ขับทากที่ตายในท้อง (ดอก)
62. เหมาะกับผู้ป่วยและผู้ที่ต้องการบำรุงร่างกาย ผู้ป่วยในระยะพักฟื้น
63. เหมาะกับผู้ที่ต้องการ Detox ล้างพิษออกจากร่างกาย ป้องกันโรคร้าย ช่วยให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันแข็งแรงขึ้น ทำให้โรคต่าง ๆ มีอาการดีขึ้น และหายจากอาการของโรคต่าง ๆ ได้ในที่สุด
64. ใช้ควบคู่กับการรักษาด้วยเคมีบำบัดหรือการฉายรังสี จะช่วยให้ผู้ป่วยมีอาการแพ้น้อยลง
65. ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางประเภทครีมทาแก้ผิวหนังแห้ง หยาบกร้าน ป้องกันผิวหนังแตก

ประโยชน์

1. สมุนไพรพลูคาวสามารถป้องกัน อาการท้องเดิน, ท้องเสีย, ทางเดินปัสสาวะอักเสบ, การติดเชื้อทางเดินหายใจ, ฝี, โรคทางเดินอาหาร, โรคปริทันต์, โรคในระบบสืบพันธุ์, โรคติดเชื้อในช่องปาก, สิว, โรคผิวหนัง, กลาก ขี้เรื้อนกวาง
2. รากของพลูคาว มีรสจืดคาว สรรพคุณขับปัสสาวะ
3. ทั้งต้นของพลูคาว มีรสเผ็ดคาว สรรพคุณรักษากามโรค รักษาโรคผิวหนัง รักษาฝี รักษาแผล ฆ่าเชื้อโรคระบบทางเดินปัสสาวะ ขับปัสสาวะ แก้โรคบิด บำรุงกระดูก รักษาหูชั้นกลางอักเสบ แก้ปวดหู รักษาโรคมาลาเรีย รักษาคางทูม รักษาต่อมทอนซิลอักเสบ รักษาปอดอักเสบ บรรเทาอาการไอ รักษาหลอดลมอักเสบ ลดอาการบวม ลดอักเสบ รักษาริดสีดวงทวาร รักษานิ่ว ขับระดูขาว สำหรับสตรีหลังคลอด รักษาแมลงสัตว์กัดต่อย บำรุงผิว
4. ใบของพลูคาว มีรสเผ็ดคาว สรรพคุณรักษาริดสีดวงทวาร รักษากามโรค รักษาโรคหัด มีฤทธิ์ในการช่วยต่อต้านมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง เป็นยาระบาย ขับพยาธิ รักษาหนองใน บำรุงไต รักษาโรคข้อ
5. ดอกพลูคาว สรรพคุณใช้ขับทารกตายในท้อง

คำแนะนำ

1. สุขภาพร่างกาย ผู้บริโภคควรมีสุขภาพดีและไม่มีโรคประจำตัว เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดผลข้างเคียงหลังใช้สารสกัดจากพลูคาว
2. กระบวนการผลิต กระทรวงสาธารณสุขกำหนดว่า ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมพลูคาวต้องใช้กระบวนการสกัดด้วยการบดผง หรือสกัดด้วยน้ำจากใบพลูคาวเท่านั้น ดังนั้น ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานดังกล่าวและได้รับการรับรองอย่างถูกต้อง
3. ปริมาณสารเควอซิทิน ไม่ควรบริโภคสารเควอซิทินจากอาหารเสริมเกิน 1 กรัม/วัน เพราะหากร่างกายได้รับสารเควอซิทินมากเกินไป อาจทำให้ไตเสียหายได้ ซึ่งผู้บริโภคศึกษาข้อมูลได้จากฉลากผลิตภัณฑ์
4. พลูคาวมีฤทธิ์ทำให้หายใจสั้นและถี่ขึ้น อาจทำให้อาเจียน ต้องกินในปริมาณที่เหมาะสม
5. สำหรับคนที่มีอาการหนาวง่าย ปวดท้อง ท้องเสียบ่อยๆ และแขนขาเย็น ไม่ควรกินพลูคาว
6. พลูคาวสามารถใช้รักษาโรคผิวหนังได้ แต่ต้องใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หากใช้มากจนเกินไป อาจจะทำให้เกิดอาการแพ้ได้

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=yI97vSHrIW0

>>> พลูคาว <<<


Plu1.png Plu2.png Plu3.png Plu4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/07/Plu-Kaow-1.jpg
https://news.phuketindex.com/wp-content/uploads/2014/06/127.jpg
https://inwfile.com/s-db/dfqfyl.jpg
http://bpp24udon.com/images/Img_Herb/SW2HSEHM.png
https://thaiherbtherapy.com/wp-content/uploads/2015/03/พลูคาว-Thaiherb11.jpg