แมงลัก

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Hairy-basil.png

วงศ์ : LAMIACEAE หรือ LABIATAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum × africanum Lour.
ชื่อสามัญ : Lemon basil, Hoary basil, Hairy basil
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ก้อมก้อข้าว, มังลัก, อีตู่

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นเนื้อไม้ของต้นแมงลักอ่อน อวบน้ำ ความสูงประมาณ 50 เซ็นติเมตร ลักษณะลำต้นและกิ่งก้านค่อนข้างเป็นทรงเหลี่ยม เปลือกลำต้นสีเขียว มีระบบรากเป็นแก้วและรากฝอย รากของต้นแมงลักสามารถลึกได้ถึง 30 เซนติเมตร
ใบ : เป็นใบเดี่ยว สีเขียว ออกตามกิ่งของต้นแมงลัก ใบเป็นทรงรี ปลายใบแหลม โคนใบโค้งมน มีขนอ่อนปกคลุมทั่วใบ
ดอก : ลักษณะของดอกออกเป็นช่อ ดอกออกเป็นกระจุก กลีบดอกสีเขียว
ผล : เมล็ดแมงลัก อยู่ภายในดอกแก่ของต้นแมงลัก เมล็ดแมงลักมีลักษณะรีแบน สีดำ สามารถนำมาขยายพันธ์ได้
การขยายพันธุ์ : แมงลักเป็นพืชที่ชอบดินร่วนซุย เจริญได้ในดินแทบทุกชนิด การปลูกที่นิยมมี 2 วิธี การปลูกโดยใช้เมล็ดพันธุ์ และการปลูกโดยใช้กิ่งชำปลูก

สรรพคุณ

1. ยาระบายอ่อนๆ ทำให้อุจจาระอ่อนตัว ลดอาการท้องผูก
2. ช่วยย่อยอาหาร ทำให้รู้สึกอิ่มนานขึ้น
3. เสริมการสร้างกระดูก ป้องกันโรคกระดูกเสื่อม
4. ช่วยอาการของโรคกระเพาะอาหารอักเสบ
5. ช่วยควบคุมน้ำหนัก ช่วยลดน้ำหนัก
6. ช่วยบำรุงเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง
7. บำรุงผิวพรรณ บำรุงสายตา
8. ป้องกันโรคมะเร็ง
9. แก้เจ็บคอ แก้ไอ ช่วยขับเสมหะ รักษาไข้หวัด
10. ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร
11. ช่วยรักษากลากน้ำนม

ประโยชน์

1. เม็ดแมงลัก ลดความอ้วน เพราะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ มีสรรพคุณในการเปลี่ยนคอเลสเตอรอลไปเป็นกรดน้ำดี และยังช่วยเพิ่มการขับออกของกรดน้ำดีด้วย ซึ่งจะไปลดเฉพาะคอเลสเตอรอลไม่ดี (LDL) แต่ไม่มีผลใด ๆ กับคอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL)
2. เม็ดแมงลัก ลดน้ําหนัก ตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องควบคุมน้ำหนักและความอ้วน เนื่องจากเม็ดแมงลักไม่ก่อให้เกิดพลังงาน และมันสามารถพองตัวได้มากถึง 45 เท่า เมื่อนำมารับประทานเป็นอาหาร (ควรรับประทานแค่บางมื้อต่อวัน เพื่อป้องกันโรคขาดสารอาหาร) หรือจะรับประทานก่อนอาหารเพื่อทำให้กระเพาะไม่ว่างและรู้สึกอิ่มเป็นการช่วยควบคุมปริมาณอาหารที่รับประทานไปด้วยเป็นอย่างดี สำหรับวิธีชงเม็ดแมงลักก็คือใช้เม็ดแมงลักประมาณ 2 ช้อนชานำมาแช่น้ำ 1 แก้วใหญ่ทิ้งไว้จนพองตัวเต็ม นำมาผสมกับน้ำร้อน 1 แก้วแล้วนำมารับประทาน (หรือจะผสมกับน้ำผึ้ง น้ำสมุนไพร หรือนมก็ได้)
3. เมื่อรับประทานเป็นประจำจะช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคหัวใจได้อีกด้วย
4. เม็ดแมงลักเป็นอาหารที่เหมาะกับผู้ป่วยโรคเบาหวาน เพราะช่วยทำให้การดูดซึมของน้ำตาลลดลง เนื่องจากเม็ดแมงลักทำให้ร่างกายดูดซึมสารอาหารได้ช้าลงอยู่แล้ว
5. เม็ดแมงลักเป็นอาหารที่รับประทานง่าย กลืนง่าย ลื่นคอ และเหมาะสำหรับผู้ที่ไม่ค่อยรับประทานอาหารที่มีกากใยอย่างพวก ผักผลไม้
6. ช่วยให้ระบบขับถ่ายทำงานได้เป็นปกติและมีประสิทธิภาพ ขับถ่ายสะดวก
7. เม็ดแมงลัก สรรพคุณล้างลำไส้ ช่วยดีท็อกซ์แก้ปัญหาอุจจาระตกค้าง ซึ่งเป็นสาเหตุมาจากการเคี้ยวอาหารไม่ละเอียด รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อย มีพยาธิ ระบบย่อยอาหารผิดปกติ ระบบดูดซึมเสีย และขับถ่ายไม่เป็นเวลา (ช่วงเช้า 05.00 - 07.00 น.)
8. ใบแมงลักช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะได้
9. ใบแมงลักมีสรรพคุณในการช่วยขับเหงื่อ
10. ช่วยแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ด้วยการใช้ใบสดมาล้างน้ำให้สะอาดแล้วรับประทาน
11. ใบแมงลักมีฤทธิ์ช่วยขับลมในลำไส้
12. ใช้เป็นยาระบาย กระตุ้นการขับถ่ายให้ดีขึ้น โดยการรับประทานเม็ดแมงลักก่อนเข้านอน
13. ใบแมงลักต้มกับน้ำดื่มเป็นประจำช่วยรักษาโรคเกี่ยวกับลำไส้หรือทางเดินอาหารได้
14. ใบแมงลักมีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเชื้อราและเชื้อแบคทีเรียบางชนิดได้
15. รักษาโรคกลากเกลื้อนด้วยการใช้ใบสดประมาณ 10 ใบ ล้างน้ำให้สะอาดแล้วนำมาตำผสมน้ำเล็กน้อย แล้วทาบริเวณที่เป็นกลากเกลื้อนวันละ 1 ครั้งประมาณ 1 - 2 สัปดาห์อาการจะดีขึ้น

คำแนะนำ

1. การรับประทานเม็ดแมงลักในปริมาณมาก ๆ อาจจะเกิดอาการแน่นท้องรู้สึกไม่สบายตัวได้
2. การรับประทานเม็ดแมงลักในขณะที่ยังพองตัวไม่เต็มที่ อาจจะเกิดการดูดน้ำจากกระเพาะอาหารทำให้เม็ดแมงลักจับตัวกันเป็นก้อนและอุดตันในลำไส้ ซึ่งอาจทำให้ท้องผูกได้เช่นกันถ้ารับประทานแบบผิดวิธี
3. ไม่ควรรับประทานเม็ดแมงลักพร้อมกับกับยาอื่น ๆ เพราะจะมีผลทำให้ร่างกายดูดซึมยาเหล่านั้นได้ไม่ดีและน้อยลง ดังนั้นควรทานยาก่อนสักประมาณ 15 - 30 นาทีแล้วค่อยรับประทานเม็ดแมงลักตาม
4. สำหรับผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก การรับประทานเม็ดแมงลักแทนมื้ออาหารหลักควรรับประทานเป็นบางมื้อ เพราะอาจจะทำให้ร่างกายขาดสารอาหารที่จำเป็นอื่น ๆ ได้
5. อีกสิ่งที่ต้องระวังไว้ก็คือการเลือกซื้อ ควรเลือกซื้อเม็ดแมงลักที่มีความสะอาดได้มาตรฐานน่าเชื่อถือ อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่ปิดมิดชิด เก็บไว้ในที่เหมาะสม เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว อาจมีเชื้อราหรือสารพิษอย่างอะฟลาทอกซินปนเปื้อนมาด้วยก็ได้ (สารอะฟลาทอกซิน เมื่อบริโภคจำนวนมากอาจทำให้อาการท้องเดิน อาเจียน และสะสมเป็นสารก่อมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งตับ)

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=Non-TqBMGX4

>>> แมงลัก <<<


Hairy-basil1.png Hairy-basil2.png Hairy-basil3.png Hairy-basil4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.tvpoolonline.com/wp-content/uploads/2018/04/34705-1024x640.jpg
http://farmorganicseed.com/wp-content/uploads/2017/07/ต้นผักแมงลัก.jpg
https://www.ntbdays.com/kaset/wp-content/uploads/2018/01/thaihealth_c_cfgjmnstvxy7.jpg
http://www.the-than.com/samonpai/S/g1-1.jpg
http://botanykus.weebly.com/uploads/6/1/0/0/6100104/l-5iecbajfb9fei9k6ia6bk1_orig.jpg