ผักบุ้ง

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Glory.png

วงศ์ : CONVOLVULACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ipomoea aquatica Forssk.
ชื่อสามัญ : Swamp morning glory, Thai water convolvulus, Morning glory, Water spinach, Water morning glory, Swamp cabbage
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ผักทอดยอด

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ลำต้นบนบกมีลักษณะตั้งตรง พร้อมเลื้อยหากต้นยาวมาก แต่หากอยู่ในแหล่งน้ำจะเป็นเถาเลื้อยลอยน้ำ ลำต้นมีลักษณะอวบใหญ่ ประมาณ 1 - 2 ซม. ซึ่งจะใหญ่กว่าผักบุ้งไทยพันธุ์ก้านแดง และใหญ่กว่าพันธุ์ผักบุ้งจีน มีความสูงของลำต้นปานกลาง สูงประมาณ 20 - 30 ซม. สูงกว่าผักบุ้งไทยพันธุ์ก้านแดง แต่จะต่ำกว่าผักบุ้งจีน ลำต้นมีสีเขียวอมขาวเล็กน้อย ลำต้น ทั้งส่วนโคน และยอดอ่อนจะให้เนื้อกรอบได้ดีมาก มีความกรอบมากกว่าผักบุ้งจีน และผักบุ้งพันธุ์ก้านแดง
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ออกแบบสลับตรงข้ามกัน ก้านใบใหญ่ยาว ฐานใบใหญ่ มนเป็นรูปหัวใจ ก้านใบ มีสีเขียวอมขาว ใบมีสีเขียวสด ใบยาว 10 - 15 เซนติเมตร กว้าง 5 - 10 เซนติเมตร
ดอก : ดอกพันธุ์ก้านเขียวอมขาวจะออกดอกเป็นสีขาวทั่วดอก มีกลีบเลี้ยงสีเขียว ดอกมีขนาดใหญ่ มีรูปทรงกรวย แทงออกตามซอกใบ ดอกออกเป็นช่อ แต่ละช่อมีดอกย่อย 2 - 7 ดอก มีเกสรตัวผู้มี 5 อัน ความยาวไม่เท่ากัน
ผล : ผล และเมล็ดมีลักษณะคล้ายพันธุ์ก้านแดง แต่มีขนาดใหญ่กว่าทั้งฝัก และเมล็ด
การขยายพันธุ์ : การปลูกแบบหว่าน, การปลูกแบบหยอดจะเป็นการปลูกแบบแนวเส้นตรง แล้วจึงนำเมล็ดพันธุ์ไปหยอดตามแนวเส้นตรง เพื่อไม่ได้เมล็ดชิดกันมากเกินไป เสร็จแล้วกลบดินแล้วรดน้ำได้เลย พอเมล็ดเจริญเติบโตก็จะเรียงแนวเป็นระเบียบ

สรรพคุณ

1. มีส่วนช่วยให้ผิวพรรณเปล่งปลั่งสดใส มีน้ำมีนวล
2. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยในการชะลอวัย ความแก่ชรา และชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัย
3. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดหรือลดอัตราการเกิดของโรคมะเร็งได้
4. ช่วยบำรุงสายตา รักษาอาการตาต้อ ตาฝ้าฟาง ตาแดง สายตาสั้น อาการคันนัยน์ตาบ่อย ๆ
5. ช่วยบำรุงธาตุ
6. ต้นสดของผักบุ้งใช้เป็นยาดับร้อน แก้อาการร้อนใน
7. ต้นสดของผักบุ้งช่วยในการบำรุงโลหิต
8. ช่วยเสริมสร้างศักยภาพในด้านความจำและการเรียนรู้ให้ดีขึ้น
9. ยอดผักบุ้งช่วยแก้โรคประสาท
10. ช่วยแก้อาการเหงื่อออกมาก (รากผักบุ้ง)
11. มีส่วนช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด ป้องกันการเกิดโรคเบาหวาน
12. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ อ่อนเพลีย
13. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยบำรุงกระดูกและฟัน
14. ช่วยแก้อาการเหงือกบวม
15. ช่วยรักษาแผลร้อนในในปาก ด้วยการนำผักบุ้งสดมาผสมเกลือ อมไว้ในปากประมาณ 2 นาที วันละ 2 ครั้ง
16. ฟันเป็นรูปวด ให้ใช้รากสด 120 กรัม ผสมกับน้ำส้มสายชู คั้นเอาน้ำมาบ้วนปาก
17. ใช้แก้อาการไอเรื้อรัง (รากผักบุ้ง)
18. แก้เลือดกำเดาไหลออกมากผิดปกติ ด้วยการใช้ต้นสดมาตำผสมน้ำตาลทรายแล้วนำมาชงน้ำร้อนดื่ม
19. ใช้แก้โรคหืด (รากผักบุ้ง)
20. ช่วยป้องกันการเกิดโรคกระเพาะอาหาร
21. ช่วยป้องกันการเกิดโรคแผลในกระเพาะอาหารจากผลของยาแอสไพริน
22. ช่วยป้องกันโรคท้องผูก
23. ยอดผักบุ้งมีส่วนช่วยแก้อาการเสื่อมสมรรถภาพ
24. ช่วยทำความสะอาดของเสียที่ตกค้างในลำไส้
25. ผักบุ้งจีนมีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ แก้ปัสสาวะเหลือง
26. ช่วยแก้อาการปัสสาวะเป็นเลือด ถ่ายออกมาเป็นเลือด ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
27. ช่วยแก้หนองใน ด้วยการใช้ลำต้นคั้นนำน้ำมาผสมกับน้ำผึ้งดื่ม
28. ช่วยแก้ริดสีดวงทวาร ด้วยการใช้ต้นสด 1 กิโล / น้ำ 1 ลิตร นำมาต้มให้เละ เอากากทิ้งแล้วใส่น้ำตาลทรายขาว 120 กรัม แล้วเคี่ยวจนข้นหนืด รับประทานครั้งละ 90 กรัม วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น
29. ช่วยแก้อาการตกขาวมากของสตรี (รากผักบุ้ง)
30. ผักบุ้งรสเย็นมีสรรพคุณช่วยถอนพิษเบื่อเมา
31. รากผักบุ้งรสจืดเฝื่อนมีสรรพคุณช่วยถอนพิษสำแดง
32. ผักบุ้งขาวหรือผักบุ้งจีนช่วยให้เจริญอาหาร
33. ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย
34. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ผักบุ้งไทยต้นขาว)
35. ดอกของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้เป็นยาแก้กลากเกลื้อน
36. ใช้ถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ผักบุ้งไทยต้นขาว)
37. แก้แผลมีหนองช้ำ ด้วยการใช้ต้นสดต้มน้ำให้เดือดนาน ๆ ทิ้งไว้พออุ่นแล้วเอาน้ำล้างแผลวันละครั้ง
38. ช่วยแก้พิษตะขาบกัด ด้วยการใช้ต้นสดเติมเกลือ นำมาตำแล้วพอกบริเวณที่ถูกกัด
39. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวใช้รักษาแผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
40. ต้นสดของผักบุ้งไทยต้นขาวช่วยลดการอักเสบ อาการปวดบวม
41. ช่วยขับสารพิษออกจากร่างกาย
42. ใช้บำบัดรักษาผู้ป่วยยาเสพติดหรือผู้ที่ได้รับสารพิษต่าง ๆ เช่น เกษตรกร เป็นต้น

ประโยชน์

1. นำมาใช้ในการประกอบอาหารอย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะผัด แกง ดอง ได้หมด เช่น ผัดผักบุ้งไฟแดง ส้มตำ แกงส้ม แกงเทโพ ยําผักบุ้งกรอบ เป็นต้น
2. ผักบุ้งนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้เหมือนกัน เช่น หมู เป็ด ไก่ ปลา เป็นต้น (มีหลายคนเข้าใจผิดว่ากระต่ายชอบกินผักบุ้ง แต่ความจริงแล้วไม่ใช่เลย เพราะอาจจะทำให้ท้องเสียได้ เพราะผักบุ้งมียาง ยกเว้นกระต่ายโต ถ้าจะให้กินไม่ควรให้บ่อยและให้ทีละนิด)
3. ผักบุ้ง ประโยชน์ข้อสุดท้ายนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ เช่น ผักบุ้งแคปซูล ผงผักบุ้ง เป็นต้น

คำแนะนำ

1. การรับประทานผักชนิดนี้คือการล้างยางออกให้หมด เพราะอาจเป็นสาเหตุของอาการท้องเสีย

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=bxPFQb3UD1o

>>> ผักบุ้ง <<<


Glory1.png Glory2.png Glory3.png Glory4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://www.pstip.com/images/article-pstip/Health/healthy-food/healthy-food-310558-1.jpg
https://decor.mthai.com/app/uploads/2016/02/600_thumbnail_morning_glory_amarin.jpg
https://img.kapook.com/u/2019/Jarosphan/Home/Garden/Corriandor/00_1.jpg
https://i.pinimg.com/originals/29/2e/f9/292ef992925efe70bd2971fd8937c747.jpg
https://th-test-11.slatic.net/p/fb42a1127afff0793d0d13aa92975170.jpg