ผักติ้ว
วงศ์ : HYPERICACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cratoxylum formosum (Jacq.) Benth. & Hook.f. ex Dyer
ชื่อสามัญ : -
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : แต้วหิน, ผักเตา, เตา, ติ้วส้ม, กวยโชง, ตาว, ติ้วแดง, ติ้วยาง, ติ้วเลือด, ติ้วเหลือง, ติ้วเหลือง, แต้ว, ผักติ้ว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : จัดเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบขนาดกลาง มีความสูงของต้นเฉลี่ยประมาณ 3 - 12 เมตร และอาจสูงได้ถึง 35 เมตร เรือนยอดเป็นทรงพุ่มกลม โคนต้นมีหนาม กิ่งก้านเรียว ส่วนกิ่งอ่อนมีขนนุ่มอยู่ทั่วไป เปลือกลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง แตกล่อนเป็นสะเก็ด ส่วนเปลือกด้านในเป็นสีน้ำตาลแกมเหลือง ลำต้นมีน้ำยางสีเหลืองปนแดงซึมออกมาเมื่อถูกตัดหรือเกิดแผล
ใบ : เป็นใบเดี่ยวออกเรียงข้ามกัน ลักษณะของใบเป็นรูปวงรีแกมรูปไข่กลับ หรือเป็นรูปขอบขนาน ปลายใบมนหรือแหลม โคนใบสอบเรียบ ส่วนขอบใบโค้งเรียบ ใบมีขนาดกว้างประมาณ 2.5 - 4.5 เซนติเมตร และยาวประมาณ 3 - 13 เซนติเมตร ผิวใบทั้งสองด้านมีขนละเอียด ใบเมื่ออ่อนจะเป็นสีชมพูอ่อนถึงสีแดง เรียบและเป็นมันวาว โดยในช่วงฤดูหนาวจะเห็นเรือนพุ่มทั้งหมดเป็นสีชมพูอ่อน ใบแก่เป็นสีเขียวสด เรียบ เกลี้ยง หลังใบบนเป็นมัน ส่วนท้องใบมีต่อมกระจายอยู่ทั่วไป ใบแก่เป็นสีแดงหรือสีแสด มีเส้นข้างใบประมาณ 7 - 10 คู่ โดยจะโค้งจรดกันใกล้ขอบใบ และมีก้านใบยาวประมาณ 0.6 - 1.6 เซนติเมตร
ดอก : ออกดอกเป็นช่อแบบกระจุกตามกิ่งเหนือรอยแผลของใบ กลีบดอกเป็นสีขาวอมสีชมพูอ่อนถึงสีแดง กลีบดอกมีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ออกตามซากใบ หลุดร่วงได้ง่าย ดอกมีอยู่ 5 กลีบ เมื่อดอกบานจะขยายออกประมาณ 1.2 เซนติเมตร ก้านดอกเรียวเล็กและมีกาบเล็ก ๆ ที่ฐานกลีบด้านใน ดอกมีเกสรตัวผู้สีเหลือง สั้น ๆ อยู่จำนวนมาก ก้านเกสรเชื่อมติดกันเป็นกลุ่ม 3 กลุ่ม ส่วนเกสรตัวเมีย ก้านเกสรเป็นสีเขียวอ่อนมี 3 อัน และมีรังไข่อยู่เหนือวงกลีบ ดอกมีกลีบเลี้ยง 5 กลีบ สีเขียวอ่อนปนสีแดง โดยจะออกดอกในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนพฤษภาคม
ผล : เป็นแบบแห้งและแตกได้ ลักษณะของผลเป็นรูปไข่แกมรูปกระสวย ผิวผลมีนวลสีขาว ผลเมื่อแก่จะเป็นสีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลดำ ลักษณะของผลเป็นแบบแคปซูล ปลายแหลม ผิวเรียบและแข็ง มีขนาดกว้างประมาณ 0.4 - 0.6 เซนติเมตร และยาวประมาณ 1.3 - 1.8 เซนติเมตร และจะแตกออกเป็น 3 แฉกเมื่อแก่ ภายในผลมีเมล็ดสีน้ำตาล ส่วนที่ฐานดอกมีกลีบเลี้ยงยังคงอยู่
การขยายพันธุ์ : ตอนกิ่ง สกัดรากไปชำหรือจะให้โตไวทันใจสวยเพียงชั่วข้ามคืนก็ไปหาซื้อต้นที่เขาขุดล้อมมาขาย ไซซ์มาตรฐานจัดสวน 1.50 - 2.50 เมตร ลงไว้ริมรั้วบ้านได้เลย โรค แมลง ก็ไม่อยากมากวนใจ เพราะเป็นไม้ป่า ทนทาน แข็งแรงบึกบึนอยู่แล้ว ฝนจะตก จะแล้งยังไงก็ไม่กลัว ใส่ปุ๋ยคอกเดือนละครั้งก็เหลือจะพอ ปลูกได้ทั้งกลางแจ้งและในร่ม หามุมให้เหมาะๆ แล้วกัน ยิ่งเด็ดยอดบ่อยๆ ยิ่งแตกไว
สรรพคุณ
- 1. ช่วยบำรุงโลหิต ฟอกโลหิต (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
- 2. เปลือกต้นนำมาต้มกับน้ำกินแก้ธาตุพิการ (เปลือกต้น)
- 3. ช่วยแก้ประดง (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
- 4. ผักติ้วเป็นผักที่มีวิตามินเอสูง จึงมีสรรพคุณช่วยป้องกันไม่ให้เด็กเป็นตาบอดกลางคืน และโรคตาไก่
- 5. ช่วยขับลม (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
- 6. รากและใบ ใช้ต้มกับน้ำกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง (รากและใบ)
- 7. ใช้รากผสมกับรากปลาไหลและหัวแห้วหมู นำมาต้มกับน้ำดื่มวันละ 3 ครั้งเป็นยาขับปัสสาวะ แก้อาการปัสสาวะขัด (ราก)
- 8. แก่นและลำต้น ใช่แช่กับน้ำดื่ม ช่วยแก้ปะดงเลือด หรืออาการเลือดไหลไม่หยุด (แก่นและลำต้น)
- 9. ต้นและยางจากเปลือกต้น ใช้ทาแก้อาการคัน (ยาง)
- 10. เปลือกและใบ นำมาตำผสมกับน้ำมันมะพร้าว ใช้ทารักษาโรคผิวหนังบางชนิด (เปลือกและใบ)
- 11. น้ำยางจากต้น ใช้ทารักษารอยแตกของส้นเท้าได้ (ยาง)
- 12. ช่วยแก้อาการปวดตามข้อ แก้ไขข้อพิการ (ยอด, ใบอ่อน, ดอก, เถา)
- 13. มีงานวิจัยเรื่องการทดลองสารที่พบจากใบผิวติ้วขน โดยพบว่ามีฤทธิ์ในการต้านมะเร็งตับได้ และยังไม่ทำลายเซลล์ปกติอีกด้วย แต่งานวิจัยดังกล่าวยังไม่เสร็จสิ้นพอที่จะเอาไปใช้ต่อยอดในเชิงพาณิชย์ได้ จึงสรุปได้แต่เพียงว่า การรับประทานผักติ้วเป็นประจำจะช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็งตับได้ (ใบ)
ประโยชน์
- 1. ยอดอ่อน ใบอ่อน และดอกอ่อนของติ้วขาวหรือผักติ้วใช้รับประทานเป็นผักสดร่วมกับลาบ ก้อย น้ำตก แจ่ว ซุปหน่อไม้ น้ำพริก น้ำพริกปลาร้า ขนมจีน หมี่กะทิ เมี่ยงญวน แหนมเนืองเวียดนาม หรือจะนำไปประกอบอาหาร เช่น ใส่ต้มหรือแกงต่าง ๆ เพื่อใช้ปรุงรสเปรี้ยวแทนการใช้มะนาว เช่น แกงเห็ด แกงปลา
- 2. ดอกอ่อน ใช้ทำซุปหรือยำได้ แต่จะนิยมใช้ติ้วขาวมากกว่าติ้วขน เพราะติ้วขาวมีรสชาติขมและฝาดน้อยกว่าติ้วขน
- 3. สารสกัดด้วยน้ำของติ้วขนมีฤทธิ์ช่วยกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้กับปลานิล โดยปลานิลที่เลี้ยงด้วยอาหารที่ผสมด้วยสารสกัดติ้วขน (อัตราส่วน 1.5% (w/w)) จะมีภูมิคุ้มกันแบบไม่จำเพาะ (Nonspecific immune response) สูงขึ้น
- 4. สารสกัดจากผักติ้ว (ยอดอ่อน) ที่เข้ากระบวนการสกัดผสมกับเอทานอล (และขั้นตอนอีกหลายขั้นตอน) จนได้สารจากผักติ้วที่ชื่อว่า "คอลโรจินิกเอซิก" สามารถนำไปใช้ยับยั้งกลิ่นหืนของอาหารได้เป็นอย่างดี (งานวิจัยของนิสิตโครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์)
- 5. ไม้ติ้วขาวสามารถนำมาใช้ในการก่อสร้าง ทำโครงสร้างบ้าน สร้างขื่อบ้าน ทำกระดานพื้น สร้างรั้ว ทำเสาเข็ม ทำด้ามเครื่องมือ จอบ เสียม เครื่องตกแต่งภายในเรือน กระสวยทอผ้า ทำหีบใส่ของ ฯลฯ
คำแนะนำ
- 1. ผักทุกชนิดจะอุดมไปด้วยสารอาหารที่คล้าย ๆ กัน ดังนั้นเวลาที่เราจะทานผักแล้ว เราไม่ควรจะทานแค่ผักอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะการทานซ้ำอยู่อย่างเดียว ก็อาจทำให้เราได้รับสารอาหารนั้นต่อสุขภาพมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้
- 1. ผักทุกชนิดจะอุดมไปด้วยสารอาหารที่คล้าย ๆ กัน ดังนั้นเวลาที่เราจะทานผักแล้ว เราไม่ควรจะทานแค่ผักอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะการทานซ้ำอยู่อย่างเดียว ก็อาจทำให้เราได้รับสารอาหารนั้นต่อสุขภาพมากเกินไป ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพร่างกายได้
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> ผักติ้ว <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2015/11/ติ้วขาว.jpg
http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-185135-4.jpg
https://img.kapook.com/u/patcharin/Food/Vegetable/ETC/paktiew1.jpg
https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2018/09/1463935331-1.jpg
http://www.qsbg.org/database/botanic_book%20full%20option/Picture/jackth/DSC_1110.JPG