มะเม่า

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Antidesma.png

วงศ์ : PHYLLANTHACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Antidesma puncticulatum Miq.
ชื่อสามัญ : -
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : หมากเม้า, บ่าเหม้า, หมากเม่า, มะเม่า, ต้นเม่า, เม่า, เม่าเสี้ยน, หมากเม่าหลวง, มะเม่าหลวง, มัดเซ, มะเม่าไฟ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้ยืนต้นที่มีอายุยืนยาว แตกกิ่งก้านมาก กิ่งแขนงแตกเป็นพุ่มทรงกลม สูงประมาณ 5 - 10 เมตร เมื่อโตเต็มที่จะมีขนาดถึง 4 คนโอบ และมีเนื้อไม้แข็ง มักขึ้นตามป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง หรือตามหัวไร่ปลายนาทั่วทุกภาคของประเทศไทย โดยจังหวัดกาญจนบุรีจะมีต้นมะเม่าในป่าเป็นจำนวนมาก และมะเม่ายังเป็นผลไม้ท้องถิ่นของภาคอีสาน ในเทือกเขาภูพานของจังหวัดสกลนครอีกด้วย
ใบ : จัดเป็นพืชใบเลี้ยงคู่ที่ออกเป็นใบเดี่ยว เรียงเยื้องสลับบนกิ่ง ใบมีลักษณะป้อม และรี ปลายใบแหลม แผ่นใบเรียบ และเป็นมันเล็กน้อย แผ่นใบมีสีเขียวสด
ดอก : ออกเป็นช่อยาวบริเวณปลายกิ่ง คล้ายช่อดอกพริกไทย บนช่อมีดอกขนาดเล็กจำนวนมาก ดอกมีลักษณะสีครีม ดอกเพศผู้มีทั้งแยกอยู่คนละต้นกับดอกเพศเมีย และอยู่ต้นเดียวกันกับดอกเพศเมีย เมื่อดอกมีการผสมเกสรแล้วดอกจะร่วง คงเหลือเฉพาะผลขนาดเล็ก ดอกออกในช่วงเดือนมีนาคม-พฤษภาคม และผลจะทยอยสุกต่อเนื่องตั้งแต่เดือนสิงหาคม-กันยายน
ผล : มีรูปร่างกลม มีขนาดผลประมาณผลพริกไท รวมกลุ่มออกบนช่อ ยาว 10 - 15 ซม. ย้อยลงมาตามกิ่งก้าน ผลดิบสีเขียว มีรสเปรี้ยวอมฝาด และค่อยเปลี่ยนเป็นเหลืองอมแดง มีรสเปรี้ยวจัด เมื่อสุกผลเปลี่ยนเป็นสีแดง มีรสเปรี้ยวอมหวานเล็กน้อย และเป็นสีดำเมื่อสุกจัด มีรสหวานอมเปรี้ยว เปลือกผล และเนื้อผลค่อนข้างบาง ภายในเป็นเมล็ด แข็งเล็กน้อย แต่สามารถเคี้ยวรับประทานได้
การขยายพันธุ์ : มะเม่าตามธรรมชาติจะขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ดังนั้น การปลูกมะเม่าในปัจจุบันจึงยังนิยมวิธีขยายพันธุ์ด้วยเมล็ดเป็นสำคัญ แต่ก็เริ่มนิยมขยายพันธุ์ด้วยอื่นมากขึ้นเพื่อให้ได้ต้นที่มีขนาดเล็ก และให้ผลดกเหมือนต้นแม่ เช่น การตอนกิ่ง และการเสียบยอด

สรรพคุณ

1. ผลมะเม่าสุกจะมีสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันมะเร็ง ช่วยขจัดสารพิษออกจากร่างกาย และยังช่วยชะลอความแก่ชราได้อีกด้วย
2. รสฝาดของผลมะเม่าสุก จะมีสารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) ซึ่งมีคุณสมบัติในการช่วยยับยั้งไม่ให้ผนังหลอดเลือดเสื่อมหรือเปราะง่าย
3. รสขมของมะเม่าจะมีสารแทนนิน (Tannin) ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยทำให้เกล็ดเลือดจับตัวกันน้อยลง จึงมีส่วนช่วยป้องกันโรคหัวใจล้มเหลวได้
4. ทั้งห้าส่วนของมะเม่าใช้ต้มดื่มเป็นประจำเป็นยาอายุวัฒนะได้ (ผล, ราก, ต้น, ใบ, ดอก)
5. น้ำมะเม่าสกัดเข้มข้นใช้เป็นอาหารบำรุงสุขภาพได้ดีเหมือนน้ำลูกพรุนสกัดเข้มข้น มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ
6. มะเม่ามีศักยภาพในการช่วยกระตุ้นภูมิคุ้มกันและยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อ HIV อีกด้วย
7. ช่วยบำรุงสายตา (ผลสุก)
8. ช่วยแก้กษัย (ต้น, ราก)
9. ช่วยขับโลหิต (ต้น, ราก)
10. มะเม่ามีสรรพคุณช่วยฟอกโลหิต (ผลสุก)
11. มีสรรพคุณทางยาช่วยขับเสมหะ (ผลสุก)
12. ผลมีสรรพคุณเป็นยาระบาย (ผลสุก)
13. ช่วยขับปัสสาวะ (ต้น, ราก)
14. ช่วยแก้มดลูกพิการ (ต้น, ราก)
15. ช่วยแก้มดลูกอักเสบช้ำบวม (ต้น, ราก)
16. ช่วยแก้อาการตกขาวของสตรี (ต้น, ราก)
17. ช่วยขับน้ำคาวปลา (ต้น, ราก)
18. ช่วยบำรุงไต (ต้น, ราก)
19. ช่วยแก้เส้นเอ็นพิการ (ต้น, ราก)
20. ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ต้น, ราก)
21. ใบมะเม่านำไปอังไฟแล้วนำมาประคบใช้รักษาอาการฟกช้ำดำเขียวได้ (ใบ)
22. ใบสดนำมาตำใช้พอกรักษาแผลฝีหนองได้ (ใบ)

ประโยชน์

1. ผลสุกใช้รับประทานเป็นผลไม้ได้ หรือจะนำมาทำเป็นส้มตำมะเม่าก็ได้เช่นกัน
2. ยอดอ่อนของมะเม่าใช้รับประทานเป็นผักสดได้ (ยอดอ่อน)
3. สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายอย่าง เช่น แยม น้ำผลไม้ หรือนำไปทำเป็นไวน์เกรดคุณภาพสูง เป็นต้น
4. น้ำหมากเม่าหรือน้ำคั้นที่มาจากผลมะเม่าสุกสามารถนำไปทำสีผสมอาหารได้ โดยจะให้สีม่วงเข้ม แถมยังปลอดภัยต่อผู้บริโภคอีกด้วย
5. เนื้อไม้ของต้นมะเม่าสามารถนำมาใช้ทำเป็นที่อยู่อาศัยหรือทำเป็นเฟอร์นิเจอร์ได้
6. พระสงฆ์ในแถบเทือกเขาภูพานใช้เป็นน้ำปาณะมาตั้งแต่สมัยโบราณกาล
7. ประโยชน์ของมะเม่าอย่างอื่นก็เช่น การปลูกเป็นไม้ประดับหรือใช้ปลูกเพื่อเป็นร่มไม้ เป็นต้น

คำแนะนำ

1. เป็นผลไม้ที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่หลากหลาย โดยผลมะเม่าสุกจะมีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายหลายชนิด เช่น มีกรดอะมิโนที่ร่างกายต้องการมากถึง 18 ชนิดจากทั้งหมด 20 ชนิด นอกจากนี้ยังมีแคลเซียม เหล็ก สังกะสี และวิตามินต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกาย ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระได้เป็นอย่างดี และยังมีสรรพคุณเป็นยาสมุนไพรที่ช่วยรักษาอาการต่าง ๆ อีกด้วย

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=Pnjej4rxx8I

>>> มะเม่า <<<


Antidesma1.png Antidesma2.png Antidesma3.png Antidesma4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/08/หมากเม่าหลวง.jpg
http://www.dnp.go.th/botany/image/Web_dict/Antidesma_bunius1.jpg
http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-166890-2.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/05/ดอกหมากเม่า.jpg
https://static.naewna.com/uploads/files2017/images/J7025099-1.jpg