ใบบัวบก
วงศ์ : APIACEAE หรือ UMBELLIFERAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Centella asiatica (L.) Urb.
ชื่อสามัญ : Gotu kola, Asiatic Pennywort, Indian Pennywort, Tiger Herbal, Water pennywort, Waternavel, Hydrocotyle
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : บัวบก, ใบบัวบก, ผักหนอก, จำปาเครือ, กะบังนอก, เอขาเด๊าะ, ปะหนะเอขาเด๊าะ, ผักหนอก, ผักแว่น, แว่นโคก, ผักแว่น, เตียกำเช่า, ฮมคัก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นพืชล้มลุกอายุหลายปี มีลำต้นเป็นไหล(stolen) เลื้อยไปตามพื้นดินหรืออยู่ด้านล่างหน้าผิวดิน ไหลมีลักษณะทรงกลม ไหลอ่อนมีสีขาว ไหลแก่มีสีน้ำตาล ขนาดประมาณ 0.2 - 0.4 มิลลิเมตร ยาวได้มากกว่า 1 เมตร ไหลมีลักษณะเป็นข้อปล้อง บริเวณข้อเป็นจุดแทงออกของก้านใบ ส่วนด้านล่างของข้อมีรากแขนงแทงลึกลงดิน และแต่ละข้อแตกแขนงแยกไหลไปเรื่อยๆ ทำให้ต้นบัวบกขึ้นปกคลุมพื้นที่โดยรอบได้อย่างหนาทึบ
ใบ : ออกเป็นใบเดี่ยว และออกเป็นกระจุกจำนวนหลายใบบริเวณข้อ แต่ละข้อมีใบ 2 - 10 ใบ ใบประกอบด้วยก้านใบที่แทงตั้งตรงจากข้อ ก้านใบสูงประมาณ 10 - 15 เซนติเมตร มีลักษณะทรงกลม สีเขียวอ่อน ถัดมาเป็นแผ่นใบที่เชื่อมติดกับก้านใบบริเวณตรงกลางของใบ ฐานใบโค้งเว้าเข้าหากัน แผ่นใบมีรูปทรงกลมหรือมีรูปร่างคล้ายไต ขอบใบหยัก เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2 - 4 เซนติเมตร แผ่นใบด้านใบเรียบ สีเขียวสด แผ่นใบด้านล่างมีขนสั้นๆปกคลุม และมีสีเขียวจางกว่าด้านบน ขอบใบหยักเป็นคลื่น
ดอก : ออกเป็นช่อที่ซอกใบของข้อ ช่อดอกมีรูปทรงช่อคล้ายร่ม อาจมีช่อเดี่ยวหรือมีประมาณ 2 - 5 ช่อ แต่ละช่อมีประมาณ 3 - 4 ดอก มีก้านช่อดอกยาวทรงกลม ขนาดเล็ก ประมาณ 0.5 - 5 เซนติเมตร ส่วนกลีบดอกมีสีขาว ตรงกลางมีเกสรตัวผู้ขนาดสั้น
ผล : ผลมีขนาดเล็ก มีลักษณะกลมแบน ยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร เปลือกเมล็ดแข็ง มีสีเขียวหรือม่วงน้ำตาล
การขยายพันธุ์ : ปลูกด้วยเมล็ดหรือนำไหลใต้ดินมาปักชำ แต่วิธีที่นิยม คือ ขุดนำไหลที่มีใบติดมาชำปลูกตามจุดที่ต้องการ สามารถเริ่มเก็บใบได้ หลังปลูกแล้วประมาณ 60-90 วัน
สรรพคุณ
- 1. บัวบกเป็นพืชที่มีแคลเซียมในระดับปานกลางถึงสูง แต่มีระดับสารออกซาเลตที่เป็นอันตรายต่อร่างกายในปริมาณต่ำ
- 2. ใบบัวบกช่วยคืนความอ่อนเยาว์ ย้อนอายุและวัย
- 3. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
- 4. ช่วยเสริมสร้างและกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน
- 5. มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยต่อต้านการเสื่อมของเซลล์ต่าง ๆในร่างกาย
- 6. ช่วยบำรุงและรักษาสายตา ฟื้นฟูรอบดวงตา เพราะบัวบกมีวิตามินเอสูง
- 7. ช่วยรักษาอาการตาอักเสบบวมแดง ด้วยการใช้ใบบัวบกล้างน้ำสะอาด คั้นเอาแต่น้ำนำมาหยดที่ตา 3 - 4 ครั้งต่อวัน
- 8. ช่วยบำรุงประสาทและสมองเหมือนใบแปะก๊วย
- 9. ช่วยทำให้ความจำดีขึ้นและทำให้มีปฏิภาณไหวพริบเพิ่มมากขึ้น
- 10. ช่วยเพิ่มความจำในผู้สูงอายุ
- 11. เชื่อว่าใบบัวบกมีส่วนช่วยเพิ่มไอคิว ความฉลาด และความสามารถในการเรียนรู้
- 12. ใบบัวบกมีสรรพคุณช่วยชะลออาการของโรคสมองเสื่อมในผู้สูงอายุ สตรีวัยทอง โรคอัลไซเมอร์หรืออาการหลงลืมระยะสั้นได้
- 13. ช่วยเพิ่มสมาธิ แก้สมาธิสั้น
- 14. ช่วยเพิ่มความสามารถในการตัดสินใจเฉพาะหน้า
- 15. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ ปวดศีรษะข้างเดียว
- 16. ช่วยแก้อาการวิงเวียนศีรษะ
- 17. ช่วยผ่อนคลายความเครียด
- 18. ช่วยเสริมการทำงานของกาบา (GABA) ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทที่ช่วยรักษาสมดุลของจิตใจ จึงช่วยผ่อนคลายและทำให้หลับง่ายขึ้น
- 19. ช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ได้ดียิ่งขึ้น
- 20. ช่วยกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อใหม่
- 21. ใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
- 22. ช่วยบำรุงโลหิตในร่างกาย
- 23. ช่วยบำรุงหัวใจ
- 24. ช่วยฟื้นฟูสุขภาพจากโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ
- 25. ช่วยทำให้จิตใจสดชื่น อารมณ์แจ่มใส
- 26. ช่วยทำให้หน้าตาสดใสเหมือนเป็นวัยรุ่น
- 27. ใช้เป็นยาอายุวัฒนะ
- 28. ช่วยบำรุงเสียง
- 29. ช่วยรักษาอาการเจ็บคอ ด้วยการใช้บัวบกสดประมาณ 1 กำมือ นำมาตำคั้นเอาน้ำแล้วเติมน้ำส้มสายชู 1 - 3 ช้อนแกง แล้วจิบกินบ่อย ๆ
- 30. ช่วยแก้กระหายน้ำ
- 31. ใบบัวบกมีสรรพคุณช่วยแก้อาการร้อนใน ตัวร้อน
- 32. ใบบัวบกมีสารยับยั้งหรือชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยต่อต้านโรคมะเร็ง
- 33. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดในผู้ป่วยโรคเบาหวานได้ดี
- 34. ช่วยรักษาโรคดีซ่านจากภาวะร้อนชื้น ด้วยการใช้บัวบก 30 กรัม น้ำตาลทรายกรวด 30 กรัม ต้มน้ำดื่ม
- 35. ช่วยรักษาโรคโลหิตจาง
- 36. ช่วยรักษาอาหารหืด
- 37. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการใช้ต้นสด 1 กำมือต้มกับน้ำแล้วนำมาดื่ม หรือจะใช้บัวบกสด ๆ ทั้งต้นประมาณ 30 กรัมนำมาค้นเอาน้ำ เติมน้ำตาลเล็กน้อยแล้วดื่มกินประมาณ 5 - 7 วัน
- 38. ช่วยรักษาโรคลมชัก
- 39. ช่วยรักษาโรคหลอดลมอักเสบ
- 40. ช่วยรักษาอาการเต้านมอักเสบเป็นหนองในระยะแรก ด้วยการใช้บัวบกและเปลือกของลูกหมาก 1 ผล นำมาต้มกับเหล้าดื่ม
- 41. ช่วยแก้คนเป็นบ้า
- 42. ช่วยรักษาโรคที่เกี่ยวกับเลือด
- 43. ช่วยลดความดันเลือด เพิ่มความยืดหยุ่นให้หลอดเลือด และช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือด
- 44. ช่วยรักษาโรคที่มีสมุฏฐานจากเสมหะ
- 45. ช่วยแก้อาการอ่อนเพลีย เมื่อยล้า
- 46. ช่วยแก้ไข้
- 47. ช่วยห้ามเลือดกำเดา เพราะทำให้เลือดเดิน แต่เลือดจะไม่ออกจากเส้นเลือดและยังทำให้เลือดเย็นอีกด้วย
- 48. ช่วยแก้อาการช้ำใน บาดเจ็บจากการกระทบกระแทก
- 49. เป็นพืชที่ย่อยได้ง่าย
- 50. ช่วยทำให้เจริญอาหาร รับประทานอาหารได้มากขึ้น
- 51. ช่วยแก้อาการท้องเสีย
- 52. สารสกัดจากใบบัวบกมีฤทธิ์ป้องกันและยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ได้เป็นอย่างดี
- 53. ช่วยแก้อาการเริ่มที่จะเป็นบิด
- 54. ช่วยรักษาโรคบิดหรือมีมูกเลือดปนเมื่อขับถ่าย
- 55. ช่วยรักษากระเพาะอาหารเป็นแผล
- 56. ใช้เป็นยาระบาย ช่วยระบายท้อง แก้ลม
- 57. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ
- 58. แก้อาการปัสสาวะติดขัด ด้วยการใช้ใบบัวบกประมาณ 50 กรัม นำมาตำแล้วพอกบริเวณสะดือ เมื่อถ่ายปัสสาวะคล่องดีแล้วค่อยเอาออก
- 59. ช่วยขับความร้อนชื้นทางเดินปัสสาวะ ป้องกันการเกิดนิ่ว
- 60. ช่วยรักษาโรคนิ่วทางเดินปัสสาวะด้วยการใช้บัวบก 50 กรัมต้มกับน้ำซาวข้าวครั้งที่ 2 แล้วนำมาดื่ม
- 61. ช่วยรักษาอาการมีหนองออกจากปัสสาวะ
- 62. ช่วยแก้อาการน้ำดีในร่างกายมากเกินไป
- 63. ช่วยรักษาโรคม้ามโต
- 64. ช่วยรักษาอาการติดเชื้อของไวรัสตับอักเสบ
- 65. แก้อาการปวดข้อรูมาตอยด์
- 66. ใช้เป็นยาห้ามเลือด ใส่แผลสด ด้วยการใช้ใบสดประมาณ 20 ใบนำมาล้างให้สะอาด ตำพอกแผลสด
- 67. ช่วยรักษาแผลให้หายเร็วยิ่งขึ้น ช่วยเร่งการสร้างเนื้อเยื่อ
- 68. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ ด้วยการใช้ใบบัวบกมาทุบให้แหลกแล้วนำมาโปะบริเวณที่ฟกช้ำ หรือจะใช้ใบบัวบกประมาณ 40 กรัม ต้มกับเหล้าแดงประมาณ 250 cc. ประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วนำมาดื่ม
- 69. ใช้บัวบกตำนำมาพอกรักษาความร้อนบวมของโรคไฟลามทุ่ง หรือใช้รักษาอาการด้วยการใช้น้ำคั้นบัวบกนำมาผสมกับแป้งข้าวเหนียวทำเป็นแป้งเหลว พอกบริเวณที่เป็น
- 70. ช่วยรักษาพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
- 71. ช่วยรักษาโรคผิวหนังต่าง ๆ เช่น โรคเรื้อน โรคสะเก็ดเงิน หิด หัด เป็นต้น
- 72. ช่วยระงับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดหนอง
- 73. ช่วยลดอาการอักเสบของแผลได้เป็นอย่างดีและใช้ทารักษาแผลอักเสบจากการผ่าตัดได้อีกด้วย
- 74. ช่วยรักษาผิวหนังเป็นด่างขาว
- 75. ใช้เป็นยาถอนพิษ ช่วยลดอาการปวดแสบปวดร้อนจากแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก ด้วยการใช้ทั้งต้นสดของบัวบกประมาณ 3 ต้นนำมาล้างน้ำให้สะอาด ตำให้แหลกแล้วนำมาพอกแผลไฟไหม้
- 76. บัวบกมีการนำมาผลิตเป็นแคปซูลวางจำหน่าย มีสรรพคุณในการช่วยบำรุงสมองเป็นหลัก (Brain tonic)
- 77. ปัจจุบันมีการนำไปทำเป็นยาเป็นแผนปัจจุบันในรูปแบบผงใช้โรยแผล และในรูปแบบเม็ดรับประทานเพื่อรักษาแผลผ่าตัด แผลสด ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก หรือฝีหนองได้ และยังช่วยป้องกันการเกิดแผลเป็นอีกด้วย
- 78. ช่วยแก้อาการก้างปลาติดคอ ด้วยการนำบัวบกไปต้มน้ำ แล้วค่อย ๆ กลืนน้ำลงคอ
- 79. ใบและเถาบัวบกใช้รับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริกกะปิคั่ว หมี่กรอบ ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย ลาบ ก้อย แกงเผ็ด ยำใบบัวบก ซุปหน่อไม้ เป็นต้น
- 80. น้ำคั้นจากใบบัวบกนำมาทำเป็นน้ำมันบัวบกใช้ชโลมศีรษะ มีสรรพคุณช่วยบำรุงหนังศีรษะและเส้นผม ช่วยทำให้เส้นผมดกดำ แก้ปัญหาผมร่วง ผมหงอกก่อนวัย
- 81. น้ำใบบัวบกเป็นเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับหน้าร้อนเป็นอย่างมาก เพราะมีฤทธิ์เป็นยาเย็นดับร้อนในร่างกายได้สารพัด
- 82. สารสกัดจากใบบัวบก มีคุณสมบัติช่วยลดการระคายเคืองผิวและปลอดภัยต่อร่างกาย
- 83. สารสกัดจากใบบัวบกมีการนำมาใช้เพื่อเป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง
- 84. มีการนำสารสกัดจากใบบัวบกมาใช้ทำเป็นวัสดุปิดแผล
- 85. ลบรอยตีนกาตื้น ๆ ด้วยน้ำใบบัวบก ด้วยการนำบัวบกมาล้างน้ำให้สะอาด นำไปปั่นจนละเอียด แล้วนำน้ำที่ได้มาใช้สำลีชุบน้ำทาทั่วบริเวณหางตาหรือทั่วใบหน้า ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก โดยควรทาทุกวันก่อนนอน
- 86. มีการนำสารสกัดจากใบบัวบกมาผลิตเป็นสบู่ใบบัวบก ซึ่งผู้ผลิตอ้างว่าช่วยรักษาสิว ทำให้ผิวหน้าขาวกระจ่างใส ผิวหน้าเต่งตึงได้
ประโยชน์
- 1. รับประทานสดคู่กับอาหารต่างๆ อาทิ ลาบ ซุบหน่อไม้ ก๋วยเตี๋ยว และผัดไทย เป็นต้น
- 2. ใบบัวบกล้างน้ำให้สะอาด ก่อนใช้ปั่นผสมกับน้ำตาลดื่ม หรือนำไปต้มน้ำดื่ม หรือที่เรียกว่า น้ำใบบัวบก
- 3. ใช้เป็นส่วนประกอบของอาหารคาว ช่วยในกระปรับปรุงรส และช่วยดับกลิ่นคาวเนื้อ คาวปลา
- 4. น้ำต้มเคี่ยวจากใบบัวบกใช้เป็นส่วนผสมสำหรับทำเครื่องสำอาง และผลิตภัณฑ์ต่างๆ อาทิ สบู่ ครีมอาบน้ำ แซมพูสระผม
- 5. สารสกัดจากใบบัวบกใช้เป็นส่วนผสมของครีมทาผิว มีส่วนช่วยลดเม็ดสีเมลานินในเซลล์ผิว ทำให้ผิวขาวขึ้น
- 6. ใช้เป็นส่วนผสมหรือทำยาสมุนไพรขนานปัจจุบัน ได้แก่ ยาครีมใบบัวบก ลดอาการฟกซ้ำ ที่มีสารสกัดของใบบัวบกประมาณร้อยละ 7 ยาใช้ภายนอก สำหรับสมานแผล และรักษาแผล ยาชงใบบัวบกสำหรับดื่ม และยาแคปซูลสำหรับรับประทาน ใช้แก้ไข้ แก้ร้อนใน และแก้อาหารฟกช้ำ
- 7. น้ำต้มจากใบบัวบกใช้ชโลมผมหรือผสมกับแซมพูสำหรับสระผม ช่วยลดอาการผมร่วง ทำให้ผมดกดำ และชะลอการหงอกของเส้นผม
คำแนะนำ
- 1. การรับประทานใบบัวบกคุณควรพิจารณาพื้นฐานของร่างกาย อย่ามองแต่สรรพคุณเพียงอย่างเดียว
- 2. บัวบกไม่เหมาะกับคนที่มีภาวะเย็นพร่อง หรือขี้หนาว ท้องอืดบ่อย ๆ
- 3. การรับประทานบัวบกในปริมาณที่มากเกินไป จะทำให้ธาตุในร่างกายเสียสมดุลได้ เพราะเป็นยาเย็นจัด แต่ถ้ารับประทานในขนาดที่พอดีแล้วจะไม่มีโทษต่อร่างกายและได้ประโยชน์สูงสุด
- 4. การดื่มน้ำบัวบกติดต่อกันทุกวัน ให้ดื่มแค่วันละประมาณ 50 มิลลิลิตร
- 5. การกินเพื่อเป็นยาบำรุงต้องกินตามขนาดที่ระบุไว้ ถ้ากินใบบัวบกสด ๆ ในปริมาณน้อย เช่น วันละ 2 - 3 ใบทุกวันก็ไม่เป็นอะไร หรือจะกินน้ำคั้นบัวบกแก้ช้ำในหรือร้อนใน ติดต่อกัน 1 สัปดาห์ก็ได้
- 6. ถ้ากินเป็นผัก จิ้มครั้งละ 10 - 20 ใบต่อสัปดาห์ไม่ถือว่าเป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่ถ้ากินติดต่อกัน 10 วันอาจจะเป็นพิษต่อร่างกายได้
- 7. การเก็บใบบักบกอย่าเก็บมาเฉพาะใบ เพราะจะทำให้ได้ตัวยาสมุนไพรมาไม่ครบ ให้ถอนมาทั้งต้นและราก เพราะในส่วนของรากจะมีตัวยาสมุนไพรอยู่ด้วย
- 8. ไม่ควรนำใบบักบกไปตากแดดเพื่อทำให้แห้ง เพราะจะทำให้สูญเสียตัวยาสมุนไพรซึ่งอยู่ในน้ำมันหอมระเหยได้ โดยให้ผึ่งลมตากไว้ในที่ร่มอากาศถ่ายเทสะดวก เมื่อแห้งแล้ว ให้นำมาใส่ขวดปิดฝาให้สนิทป้องกันความชื้น
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> ใบบัวบก <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2017/04/ใบบัวบก1.jpg
https://www.technologychaoban.com/wp-content/uploads/2019/04/Centella_asiatica_3zz-1.jpg
https://www.mmc.co.th/images/Site/articles/Health_Food/Centella_Asiatica_Extract_in_Phytosome_Form.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2017/04/ดอกใบบัวบก.jpg
http://www.rakkhaoyai.com/uploads/2019/03/บัวบก๑-300x288.jpg