อัญชัน

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
Blue-pea.png

วงศ์ : FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Clitoria ternatea L.
ชื่อสามัญ : Butterfly pea, Blue pea, Blue vine, Pigeon wings
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : แดงชัน, เอื้องชัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้เลื้อยเนื้ออ่อน อายุสั้น ใช้ยอดเลื้อยพัน ลำต้นมีขนปกคลุม
ใบ : ใบประกอบแบบขนนก เรียงตรงข้ามยาว 6 - 12 เซนติเมตร มีใบย่อยรูปไข่ 5 - 7 ใบ กว้าง 2 - 3 เซนติเมตร ยาว 3 - 5 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ผิวใบด้านล่างมีขนหนาปกคลุม
ดอก : ดอกสีขาว ฟ้า และม่วง ดอกออกเดี่ยว ๆ รูปทรงคล้ายฝาหอยเชลล์ออกเป็นคู่ตามซอกใบ กลีบดอก 5 กลีบ ดอกบานเต็มที่ยาว 2.5 - 3.5 เซนติเมตรกลีบคลุมรูปกลม ปลายเว้าเป็นแอ่ง ตรงกลางมีสีเหลือง มีทั้งดอกซ้อนและดอกลา ดอกชั้นเดียวกลีบขั้นนอกมีขนาดใหญ่กลางกลีบสีเหลือง ส่วนกลีบชั้นในขนาดเล็กแต่ดอกซ้อนกลีบดอกมีขนาดเท่ากัน ซ้อนเวียนเป็นเกลียว ออกดอกเกือบตลอดปี
ผล : ผลแห้งแตก เป็นฝักแบน กว้าง 1 - 1.5 เซนติเมตร ยาว 5 - 8 เซนติเมตร เมล็ดรูปไต สีดำ มี 5 - 10 เมล็ด
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด โดยนำเมล็ดพันธุ์มาปลูกลงในแปลงที่เตรียมไว้ ระยะห่างประมาณ 20 × 30 ซม. เมื่อลำต้นโตขึ้นเริ่มทอดยอด ให้ทำหลักให้เลื้อยขึ้นได้ เพื่อความแข็งแรงของลำต้น หรือสามารถปลูกในกระถางก็ได้

สรรพคุณ

1. น้ำอัญชันมีส่วนช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกาย
2. เครื่องดื่มน้ำอัญชันช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกายและเพิ่มพลังงานให้ร่างกาย
3. มีส่วนช่วยในการชะลอวัยและริ้วรอยแห่งวัย
4. ดอกมีส่วนช่วยในการบำรุงสมอง เพิ่มการไหลเวียนเลือด
5. ดอกอัญชันมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด
6. ช่วยป้องกันโรคเส้นเลือดสมองตีบ
7. ช่วยรักษาอาการผมร่วง (ดอก)
8. อัญชันทาคิ้ว ทาหัว ใช้เป็นยาปลูกผม ปลูกขนช่วยให้ดกดำเงางามยิ่งขึ้น (น้ำคั้นจากดอก)
9. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดเส้นเลือดอุดตัน
10. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจอุดตัน
11. ช่วยลดความเสี่ยงจากการเกิดโรคมะเร็งด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ
12. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดของผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน
13. อัญชันมีคุณสมบัติในการช่วยล้างสารพิษและของเสียออกจากร่างกาย
14. ช่วยบำรุงสายตา แก้อาการตาฟาง ตาแฉะ (น้ำคั้นจากดอกสดและใบสด)
15. ช่วยป้องกันโรคต้อกระจก ต้อหิน ตาเสื่อมจากโรคเบาหวาน (ดอก)
16. ช่วยเพิ่มความสามารถในการมองเห็นให้ดียิ่งขึ้น
17. นำรากไปถูกับน้ำฝน นำมาใช้หยอดตาและหู (ราก)
18. นำมาถูฟันแก้อาการปวดฟันและทำให้ฟันแข็งแรง (ราก)
19. ใช้เป็นยาระบาย แต่อาจทำให้คลื่นไส้อาเจียนได้ (เมล็ด)
20. ใช้รากปรุงเป็นยาขับปัสสาวะ (ราก,ใบ)
21. แก้อาการปัสสาวะพิการ
22. ใช้แก้อาการฟกช้ำ (ดอก)
23. ช่วยป้องกันและแก้อาการเหน็บชาตามนิ้วมือนิ้วเท้า
24. นำมาทำเป็นเครื่องดื่มน้ำอัญชันเพื่อใช้ดับกระหาย
25. ดอกอัญชันตากแห้งสามารถนำมาชงดื่มแทนน้ำชาได้เหมือนกัน
26. ดอกอัญชันนำมารับประทานเป็นผัก เช่น นำมาจิ้มน้ำพริกสด ๆ หรือนำมาชุบแป้งทอดก็ได้
27. น้ำดอกอัญชันนำมาใช้ทำเป็นสีผสมอาหารโดยให้สีม่วง เช่น ขนมดอกอัญชัน ข้าวดอกอัญชัน (ดอก)
28. ช่วยปลูกผมทำให้ผมดกดำขึ้น (ดอก)
29. ใช้เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ อย่าง ครีมนวดผม ยาสระผม เป็นต้น
30. นิยมนำมาปลูกไว้ตามรั้วบ้านเพื่อความสวยงาม

ประโยชน์

1. เป็นไม้ประดับแสนสวย เป็นอาหาร ยา และเครื่องสำอาง
2. นอกจากนั้นอัญชันเป็นพืชตระกูลถั่ว จึงปลูกคลุมดินเป็นปุ๋ยพืชสด บำรุงดินให้อุดมสมบูรณ์
3. ลำต้นและใบสดใช้เป็นแหล่งอาหารของสัตว์เช่น แพะ แกะ โค กระบือได้

คำแนะนำ

1. ผู้ที่มีภาวะโลหิตจาง ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอัญชัน ถึงจะยังไม่มีรายงานว่าดอกอัญชันส่งผลเสียโดยตรงกับผู้ป่วยโลหิตจางแบบใด แต่อาจเป็นเพราะมีฤทธิ์ในการละลายลิ่มเลือด ต้านการเกาะตัวของเกล็ดเลือด จึงอาจเป็นอันตรายต่อผู้ป่วยโลหิตจางได้
2. ทำให้ไตทำงานหนัก การรับประทานดอกอัญชันมากเกินไป จะทำให้ไตทำงานหนักเพื่อขับสีของดอกอัญชันออกมา ดังนั้น จึงควรรับประทานในปริมาณที่พอเหมาะ
3. ดอกอัญชันควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแบบไม่ผ่านการปรุงสุก และก่อนนำมารับประทานควรดึงบริเวณขั้วดอกออก เพราะบริเวณขั้วดอกมียางซึ่งมีฤทธิ์เป็นกรด ส่งผลต่อการระคายเคืองในลำคอ อาจจะเกิดการกัดหลอดอาหารในลำคอได้
4. หลีกเลี่ยงการรับประ ทานเมล็ดอัญชัน เพราะเมล็ดจะส่งผลระคายเคืองต่อทางเดินอาหาร ทำให้คลื่นไส้และอาเจียนได้
5. ในกลุ่มผู้แพ้เกสรดอกไม้ ควรหลีกเลี่ยงดอกอัญชัน เพราะเกสรอัญชันสามารถฟุ้งกระจายได้ง่าย และกระตุ้นอาการแพ้เกสรดอกไม้
6. หลีกเลี่ยงการทานดอกอัญชันคู่กับยาต้านการแข็งตัวของเลือด เพราะจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของยาลดลง
7. หากกำลังตั้งครรภ์ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนรับประทาน

ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม

https://www.youtube.com/watch?v=5FaShIGINh8&t=20s

>>> อัญชัน <<<


Blue-pea1.png Blue-pea2.png Blue-pea3.png Blue-pea4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://decor.mthai.com/app/uploads/2018/12/1_3_12_2018_grow_1.jpg
https://www.baanlaesuan.com/app/uploads/2017/06/อัญชัญ.jpg
https://oer.learn.in.th/file_upload/cover/153222.jpg
https://www.nanagarden.com/picture/product/400/259020.jpg
http://1.bp.blogspot.com/-7wFlPgsv-ug/UlrKfRZDZoI/AAAAAAAABq8/FLwdMaPkhOo/s1600/large_DSCN3634.jpg