โหระพา
วงศ์ : LAMIACEAE หรือ LABIATAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Ocimum basilicum L.
ชื่อสามัญ : Sweet basil, Thai basil
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ห่อกวยซวย, ห่อวอซุม, อิ่มคิมขาว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นพืชล้มลุก มีระบบรากแก้ว และรากฝอย ลำต้นมีความสูงประมาณ 40 - 60 ซม. ลำต้นเป็นสี่เหลี่ยม แก่นด้านในเป็นไม้เนื้ออ่อน ผิวลำต้นอ่อนหรือกิ่งอ่อนมีสีม่วงแดง ลำต้นแตกกิ่งตั้งแต่ระดับต่ำของลำต้นจนแลดูเป็นทรงพุ่ม กิ่งแตกออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน
ใบ : เป็นใบเดี่ยว แทงออกบริเวณข้อของกิ่ง ใบมีรูปไข่ คล้ายใบกะเพรา ใบมีสีเขียวเข้มหรือม่วงแดงหรือเขียวอมม่วง กว้างประมาณ 3 - 4 ซม. ยาวประมาณ 6 ซม. โคนใบมน ใบปลายแหลม แผ่นใบเรียบ และค่อนข้างเป็นมัน ขอบใบหยักเป็นฟันเลื่อย มีเส้นใบมองเห็นชัดเจน ใบไม่มีขน ใบมีน้ำมันหอมระเหยทำให้มีกลิ่นหอม
ดอก : ออกเป็นช่อที่ปลายยอด แต่ละช่อออกดอกเรียงเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีประมาณ 6 - 8 ดอก ดอกมีสีขาวอมแดงม่วง ภายในมีเกสรตัวผู้ 4 อัน
ผล : เมล็ดใน 1 ดอก จะมีประมาณ 3 - 4 เมล็ด เมล็ดมีลักษณะคล้ายหยดน้ำตา มีสีน้ำตาลเข้ม ขนาดเมล็ดประมาณ 1 มิลลิเมตร เมล็ดโหระพามีเมือกหุ้มเมล็ด หากนำมาแช่น้ำเมือกจะพองตัวออกคล้ายเมล็ดแมงลัก
การขยายพันธุ์ : การหว่านเมล็ด การย้ายพันธุ์กล้าหลังการหว่านเมล็ด และการปักชำกิ่ง แต่วิธีที่นิยมจะเป็นการหว่านเมล็ด และการย้ายพันธุ์กล้า
สรรพคุณ
- 1. ใบสดโหระพาใช้เป็นน้ำมันหอมระเหย
- 2. ช่วยป้องกันความเสียหายในร่างกายของเราจากการทำลายของอนุมูลอิสระ
- 3. ช่วยกระตุ้นการสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกาย
- 4. มีส่วนในการช่วยป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด
- 5. มีฤทธิ์ในการช่วยลดคอเลสเตอรอลและแผ่นคราบพลัคในกระแสเลือด
- 6. มีส่วนช่วยป้องกันการเกิดโรคมะเร็ง
- 7. ช่วยขับหัวสิวและต้านการเจริญเติบโตของเชื้อสิว
- 8. ช่วยในการเจริญอาหาร
- 9. ใช้เป็นยาพอกเพื่อดูดซับสารพิษออกจากผิวหนังได้
- 10. ช่วยเพิ่มปริมาณน้ำนมสำหรับมารดาที่ให้นมบุตร ด้วยการนำใบมาต้มกับน้ำนมราชสีห์รับประทาน
- 11. มีความเชื่อว่าเป็นยาบำรุงสุขภาพทางเพศได้อีกด้วย
- 12. ช่วยรักษาอาการปวดศีรษะด้วยการใช้ยอดอ่อนต้มกับน้ำ แล้วนำมาดื่มเป็นชา หรือกินเป็นผักสด
- 13. แก้อาการวิงเวียนศีรษะด้วยการนำใบมาต้มดื่ม
- 14. น้ำมันโหระพามีคุณสมบัติช่วยให้จิตใจสงบ มีสมาธิ และช่วยลดอาการซึมเศร้า
- 15. ช่วยรักษาโรคตาแดง ต้อตา มีขี้ตามาก
- 16. ช่วยแก้หวัดและช่วยในการขับเหงื่อ ด้วยการนำใบและต้นสดมาต้มเข้าด้วยกันแล้วเอาน้ำมาดื่ม
- 17. ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียน ด้วยการนำใบโหระพามาคั้นเอาน้ำสดให้ได้ประมาณ 1 ช้อนโต๊ะ ผสมกับน้ำอ้อย 2 ช้อนผสมกับน้ำอุ่น แล้วนำมาดื่มวันละ 2 ครั้ง
- 18. ใช้รักษาอาการเหงือกอักเสบเป็นหนอง ด้วยการนำใบโหระพาแห้งมาบดให้เป็นผงแล้วนำมาทาในบริเวณที่อักเสบ
- 19. ใช้แก้อาการสะอึก ด้วยการนำใบโหระพาสดพร้อมขิงสดแช่ในน้ำเดือดแล้วนำมาดื่มในขณะที่ยังร้อน
- 20. ใช้เป็นยาขับปัสสาวะ ด้วยการนำเมล็ดแก่มาแช่น้ำให้พองเต็มที่ แล้วนำมารับประทานกับขนมหวานโดยผสมกับน้ำหวานและน้ำแข็ง
- 21. ใช้เป็นยาระบาย ด้วยการนำเมล็ดแห้งประมาณ 3 - 5 กรัมมาต้มน้ำดื่ม
- 22. ช่วยในการรักษาแผลในกระเพาะอาหาร เพราะไปช่วยยับยั้งฤทธิ์ของยาแอสไพรินซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร
- 23. ช่วยในการขับลม แก้ท้องอืด ท้องเฟ้อ
- 24. เมล็ดโหระพาเมื่อแช่น้ำจะพองตัวเป็นเมือก นำมากินแก้อาการบิด
- 25. น้ำมันโหระพามีคุณสมบัติแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง
- 26. น้ำมันหอมระเหยของใบจะช่วยในการย่อยอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ได้เป็นอย่างดี
- 27. ถ้าเด็กปวดท้อง ให้ใช้ใบโหระพา 20 ใบชงน้ำร้อนแล้วนำมาชงนมให้เด็กดื่มแทนยาขับลม
- 28. ใช้แก้อาการประจำเดือนมาไม่ปกติ
- 29. นำมาใช้เป็นยาบรรเทาอาการผึ้งต่อย
- 30. ช่วยรักษาอาการผดผื่นคัน มีน้ำเหลือง ด้วยการนำมาใบตำแล้วพอก
- 31. ช่วยแก้เด็กเป็นแผล หรือมีหนองเรื้อรัง ด้วยการใช้รากของโหระพามาเผาเป็นเถ้าแล้วนำมาพอกบริเวณบาดแผล
- 32. ช่วยแก้อาการฟกช้ำจากการกระทบกระแทก หกล้ม งูกัด ด้วยการนำมาใบตำแล้วพอก
- 33. เมล็ดเมื่อนำมาแช่น้ำจะพองเป็นเมือก นำมาใช้เป็นยาระบาย เพราะไปช่วยเพิ่มจำนวนกากอาหาร
- 34. น้ำมันโหระพาช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เชื้อรา และเชื้อไวรัส
- 35. น้ำมันโหระพาช่วยคลายการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ
- 36. ช่วยรักษาอาการข้ออักเสบ แผลอักเสบด้วยการนำมาตำแล้วพอกหรือประคบ
- 37. น้ำมันโหระพาสามารถใช้ฆ่ายุง ไร และแมลงได้ ด้วยการนำต้น ใบ ราก มาตำรวมกันให้ละเอียดแล้วใส่เหล้าขาวเล็กน้อยคนให้เข้ากัน แล้วนำไปตั้งไฟแค่พอร้อน ทิ้งไว้ให้อุ่นแล้วนำมาพอกที่เข่าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที วันละ 2 ครั้ง อาการจะค่อย ๆ ดีขึ้น
- 38. ช่วยในการบำบัดรักษาโรคเข่าเสื่อม
- 39. มีฤทธิ์ในการต่อต้านการอักเสบ
- 40. ใบโหระพามีกลิ่นเฉพาะใช้เป็นผักสด นำมาใช้เป็นอาหาร แต่งกลิ่นอาหาร และใช้เป็นเครื่องปรุงรสในอาหาร
- 41. น้ำมันโหระพาก็นำมาใช้ในการแต่งกลิ่นซอสมะเขือเทศ ผักดอง ลูกอม ไส้กรอก ขนมผิง หรือแม้กระทั่งเครื่องดื่ม
- 42. นำมาใช้ในการแต่งกลิ่นเครื่องสำอางบางชนิด
- 43. นำมาแปรรูปเป็นสมุนไพรไทยในรูปของโหระพาแห้ง และนำมาทำเป็นน้ำมันโหระพาช่วยลดความเครียด ลดบวม
ประโยชน์
- 1. ใบสดนิยมนำมารับประทานเป็นผักคู่กับอาหารจำพวกลาบ ซุปหน่อไม้ และก๋วยเตี๋ยว
- 2. ใบนิยมใช้ประกอบอาหารเพื่อให้มีกลิ่นหอม เช่น แกงผัด ผัดเผ็ด เป็นต้น
- 3. ใบนำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย
- 4. น้ำมันโหระพาถูกนำมาใช้มากในอุตสาหกรรมอาหาร เช่น ใช้แต่งกลิ่นลูกกวาด น้ำสลัด และเครื่องดื่ม
- 5. น้ำมันโหระพาใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง อาทิ สบู่ และน้ำหอม เป็นต้น
คำแนะนำ
- 1. น้ำมันหอมระเหยของโหระพาไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เพราะจะทำให้เกิดการแพ้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ เพราะฉะนั้นควรเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยโหระพากับหญิงตั้งครรภ์อย่างเด็ดขาด
- 1. น้ำมันหอมระเหยของโหระพาไม่เหมาะกับการนำมาใช้ในหญิงตั้งครรภ์ เพราะจะทำให้เกิดการแพ้ ซึ่งอาจเป็นอันตรายได้ เพราะฉะนั้นควรเลี่ยงการใช้น้ำมันหอมระเหยโหระพากับหญิงตั้งครรภ์อย่างเด็ดขาด
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> โหระพา <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/02/ดอกโหระพา.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/02/โหระพา.jpg
https://img.kapook.com/u/2019/sireeporn/Health-1/P2.jpg
http://botanykus.weebly.com/uploads/6/1/0/0/6100104/6485148641-ec08fa94c5-b_2_orig.jpg
https://s359.kapook.com/pagebuilder/1532d39e-d70f-48ab-a5df-c5ce45ce3e5b.jpg