กล้วยน้ำว้า
วงศ์ : MUSACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sapientum L.
ชื่อสามัญ : Cultivated banana
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : กล้วยน้ำว้าเหลือง, กล้วยใต้, กล้วยอ่อง, กล้วยมะลิอ่อ, กล้วยอ่อง, กล้วยตานีอ่อง
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นพืชล้มลุก ลำต้นใต้ดินอวบน้ำ สูงประมาณ 2 - 5 เมตร
ใบ : ใบ เป็นใบเดี่ยว การเกาะติดของใบบนลำต้นแบบเวียนถี่ชิดอัดแน่นที่ลำต้น ใบรูปขอบขนาน ขนาดใหญ่ประมาณ 40 x 200 เซนติเมตร ปลายและโคนใบมน ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ผิวใบด้านบนสีเขียวเข้มด้านใต้สีอ่อนกว่าและมีสิ่งเกาะติดคล้ายผงแป้งสีขาว ก้านใบ แบ่งเป็นสองส่วน ส่วนแรกเกาะติดกับลำต้นมีลักษณะแบนโค้งอวบน้ำสีเขียวบนน้ำตาลแดง (ส่วนนี้เห็นคล้ายลำต้น) ส่วนที่สองทรงกลมส่วนกลางเป็นร่องโค้งลึกตามทรงก้านสีเขียวอ่อนยาวเรียวไปจนสุดปลายแผ่นใบ
ดอก : ดอก ออกเป็นช่อ ที่ปลายยอดปลายช่อโค้งห้อยลง มีกาบประดับขนาดใหญ่ที่โคนกลุ่มดอกย่อยทุกๆ กลุ่ม กาบมีเนื้อหนาสีแดงเข้ม เมื่อรังไข่เจริญเป็นผลกาบประดับจะหลุดร่วงไป
ผล : ผล เป็นผลสด รูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5 เซนติเมตร ยาว 10 เซนติเมตร เมล็ด ทรงกลมสีดำผิวเป็นคลื่น ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 0.50 เซนติเมตร
การขยายพันธุ์ : การใช้เมล็ด, การใช้หน่อ, การเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
สรรพคุณ
- 1. ช่วยลดกลิ่นปากได้ดีในระดับหนึ่ง แต่ทั้งนี้ควรรับประทานหลังตื่นนอนตอนเช้าทันทีแล้วค่อยแปรงฟัน และถ้าเป็นกล้วยน้ำว้าจะยิ่งช่วยลดกลิ่นปากได้ดีขึ้น
- 2. กล้วยช่วยควบคุมอุณหภูมิในร่างกายให้เป็นปกติ
- 3. กล้วยอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุต่าง ๆ ที่สำคัญและจำเป็นต่อร่างกาย เช่น ธาตุเหล็ก ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม คาร์โบไฮเดรต โปรตีน วิตามินเอ วิตามินบี 6 วิตามินบี 12 และวิตามินซี
- 4. ช่วยเพิ่มพลังให้แก่สมองของคุณ เพราะมีสารที่ช่วยทำให้มีเกิดสมาธิและมีการตื่นตัวตลอดเวลา
- 5. กล้วยก็มีสารต่อต้านอนุมูลอิสระเหมือนกันนะ ที่ช่วยในการชะลอความแก่ตัวของร่างกายนั่นเอง
- 6. กล้วยมีส่วนช่วยในการลดความอ้วนได้ เพราะช่วยปรับระดับน้ำตาลในเลือด ช่วยให้ลดอาการอยากกินของจุกจิกลงได้พอสมควร
- 7. สำหรับผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ กล้วยคือคำตอบสำหรับคุณ
- 8. อาการหงุดหงิดยามเช้า กล้วยก็ช่วยคุณได้เหมือนกัน
- 9. ช่วยลดอาการหงุดหงิดของผู้หญิงในช่วงประจำเดือนมา
- 10. ช่วยลดอาการเมาค้างได้ดีระดับหนึ่ง เพราะจะช่วยชดเชยน้ำตาลที่ร่างกายขาดไปในขณะดื่มแอลกอฮอล์
- 11. เป็นตัวช่วยสำหรับผู้ที่ต้องการเลิกสูบบุหรี่ เพราะในกล้วยมีวิตามินเอ ซี บี 6 บี 12 โพรแทสเซียม และแมกนีเซียมที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวได้เร็วขึ้นจากการเลิกนิโคติน
- 12. ช่วยรักษาอาการท้องผูก เพราะกล้วยมีเส้นใยและกากอาหารซึ่งจะช่วยให้ขับถ่ายได้อย่างปกติ
- 13. ช่วยบรรเทาอาการของริดสีดวงทวารหรือในขณะขับถ่ายจะมีเลือดออกมา
- 14. ช่วยลดอาการเสียดท้อง ลดกรดในกระเพาะ การกินกล้วยจะทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายจากอาการนี้ได้
- 15. ช่วยรักษาโรคโลหิตจางได้ เพราะในกล้วยมีธาตุเหล็กสูง ซึ่งจะช่วยในการผลิตฮีโมโกลบินในเลือด เพื่อรักษาภาวะโลหิตจางหรือผู้ที่อยู่ในสภาวะขาดกำลัง
- 16. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูงหรือเส้นเลือดฝอยแตกได้
- 17. ช่วยลดโอกาสเสี่ยงของการเกิดเส้นโลหิตแตกได้
- 18. สำหรับผู้ที่เป็นโรคกระเพาะหรือกระเพาะอักเสบ การรับประทานกล้วยบ่อย ๆ ถือเป็นสิ่งที่ดีมาก เพราะกล้วยมีสภาพเป็นกลาง มีความนิ่มและเส้นใยสูง
- 19. ช่วยรักษาแผลในลำไส้เรื้อรัง เพราะกล้วยมีสภาพเป็นกลาง ทำให้ไม่เกิดการระคายเคืองในผนังลำไส้และกระเพาะอาหารด้วย
- 20. ช่วยรักษาโรคซึมเศร้า ภาวะความเครียด เพราะกล้วยมีโปรตีนชนิดหนึ่งที่เรียกว่า Tryptophan ซึ่งช่วยในการผลิตสาร Serotonin หรือฮอร์โมนแห่งความสุข จึงมีส่วนช่วยในการผ่อนคลายอารมณ์ได้ดียิ่งขึ้น
- 21. ช่วยลดอัตราการเกิดตะคริวบริเวณมือ เท้า และน่องได้
- 22. ช่วยบรรเทาอาการแพ้ท้องของมารดาลงได้
- 23. กล้วยมีสรรพคุณช่วยบรรเทาอาการนิ่วในไตได้ในระดับหนึ่ง
ประโยชน์
- 1. กล้วยก็สามารถนำมาทำเป็นมาส์กหน้าได้เหมือนกันนะ โดยจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่นให้แก่ผิว ช่วยลดความหยาบกร้านของผิว วิธีง่าย ๆ เพียงแค่ใช้กล้วยสุกหนึ่งผลมาบดให้ละเอียด แล้วเติมน้ำผึ้ง 2 ช้อนโต๊ะ จากนั้นคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมาพอกหน้าทิ้งไว้ประมาณ 15 นาทีแล้วล้างออก
- 2. เปลือกกล้วยสามารถแก้ผื่นคันที่เกิดจากยุงกัดได้ ด้วยการลองใช้ด้านในของเปลือกกล้วยทาบริเวณที่ถูกยุงกัด อาการคันจะลดลงไปได้ระดับหนึ่ง
- 3. เปลือกด้านในของกล้วยช่วยในการรักษาโรคหูดบนผิวหนังได้ โดยใช้เปลือกกล้วยวางบนลงบริเวณหูดแล้วใช้เทปกาวแปะไว้
- 4. เปลือกกล้วยด้านในช่วยฆ่าเชื้อที่เกิดจากบาดแผลได้เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามเมื่อแปะที่บาดแผลแล้วก็ควรจะเปลี่ยนเปลือกใหม่ทุก ๆ 2 ชั่วโมงด้วย
- 5. ยางกล้วยสามารถนำมาใช้ในการห้ามเลือดได้
- 6. ก้านใบตอง ช่วยลดอาการบวมของฝี แต่ก่อนใช้ต้องตำให้แหลกเสียก่อน
- 7. ใบอ่อนของกล้วย หากนำไปอังไฟให้นิ่ม ก็ใช้ประคบแก้อาหารเคล็ดขัดยอกได้
- 8. หัวปลีนำมารับประทานเพื่อช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งบำรุงและขับน้ำนมสำหรับมารดาหลังคลอดบุตร
- 9. ผลดิบนำมาบดให้ละเอียดทั้งลูกผสมกับน้ำสะอาด รับประทานเพื่อแก้อาการท้องเสีย
- 10. ใบตอง อีกส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์กันอย่างมาก เช่น ทำกระทง ห่อขนม ห่ออาหาร ทำบายศรี บวงสรวงต่าง ๆ
คำแนะนำ
- 1. การรับประทานกล้วยน้ำว้าในปริมาณมาก โดยเฉพาะกล้วยที่ยังอยู่ในช่วงห่าม อาจทำให้เกิดการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นท้อง เพราะมีแทนนินมาก
- 2. กล้วยน้ำว้าสุก มีฤทธิ์ช่วยในการระบาย และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบขับถ่าย หากรับประทานติดต่อกันในปริมาณมาก อาจส่งผลให้เกิดการท้องเสีย
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> กล้วยน้ำว้า <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://farmerspace.co/wp-content/uploads/2018/08/Banana-08.jpg
https://kasetlover.com/wp-content/uploads/2019/07/01-1.jpg
http://www.biogang.net/upload_img/biodiversity/biodiversity-208923-1.jpg
https://i.pinimg.com/originals/46/e6/11/46e611336347749aca18e6c3f6520203.jpg
https://spcdn.springnews.co.th/wp-content/uploads/2018/05/bananas-1212949_960_720.jpg