ขี้เหล็ก
วงศ์ : FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Senna siamea (Lam.) H.S.Irwin & Barneby
ชื่อสามัญ : Siamese senna, Siamese cassia, Cassod tree, Thai copperpod
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ขี้เหล็กแก่น, ขี้เหล็กบ้าน, ผักจี้ลี้ แมะขี้แหละพะโด, ยะหา, ขี้เหล็กใหญ่, ขี้เหล็กหลวง, ขี้เหล็กจิหรี่
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้ยืนต้นสูงประมาณ 8 - 15 เมตร ลำต้นมักคดงอ เปลือกมีสีเทาถึงน้ำตาลดำแตกเป็นร่องตื้น ๆ ตามยาว แตกกิ่งก้านเป็นพุ่มแคบ ส่วนลักษณะของผลขี้เหล็ก มีลักษณะเป็นฝักแบนกว้าง 1.4 เซนติเมตร ยาว 15 - 23 เซนติเมตร มีความหนา มีสีน้ำตาล มีเมล็ดหลายเมล็ด
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก เรียงสลับกัน ใบเป็นสีเขียวเข้ม มีใบย่อยรูปรี 5 - 12 คู่ กว้างประมาณ 1.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 4 เซนติเมตร ที่ปลายสุดเป็นใบเดี่ยว ปลายใบเว้าตื้น โคนใบมน ขอบและแผ่นใบเรียบ
ดอก : จะออกดอกเป็นช่อแยกแขนงที่ปลายกิ่ง มีดอกสีเหลือง กลีบเลี้ยงกลมมี 3 - 4 กลีบ ปลายมน กลีบดอกมี 5 กลีบ ปลายมน โคนเรียว หลุดร่วงง่าย ก้านดอกจะยาว 1 - 1.5 เซนติเมตร และมีเกสรตัวผู้หลายเกสร และในบรรดาผักผลไม้ไทยทั้งหลาย
ผล : เมล็ดรูปไข่ยาวแบนสีน้ำตาลอ่อนเรียงตามขวางมี 20 - 30 เมล็ด
การขยายพันธุ์ : เพาะเมล็ดจนงอกใบจริง 3 - 5 ใบ แล้วย้ายปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ ก่อนปลูกควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักรองกันหลุมก่อน รดน้ำให้ชุ่มทันที
สรรพคุณ
- 1. ดอก รักษาโรคเส้นประสาท นอนไม่หลับ ทำให้หลับสบาย รักษาโรคหืด รักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ รักษารังแค ขับพยาธิ
- 2. ราก รักษาไข้ รักษาโรคเหน็บชา ทาแก้เส้นอัมพฤกษ์ให้หย่อน แก้ฟกช้ำ แก้ไข้บำรุงธาตุ ไข้ผิดสำแดง
- 3. ลำต้นและกิ่ง เป็นยาระบาย รักษาโรคผิวหนัง แก้โรคกระษัย แก้นิ่ว ขับปัสสาวะ ขับระดูขาว
- 4. ทั้งต้น แก้กระษัย ดับพิษไข้ แก้พิษเสมหะ รักษาโรคหนองใน รักษาอาการตัวเหลือง เป็นยาระบาย บำรุงน้ำดี ทำให้เส้นเอ็นหย่อน
- 5. เปลือกต้น รักษาโรคริดสีดวงทวาร โรคหิด แก้กระษัยใช้เป็นยาระบาย
- 6. กระพี้ รสขมเฝื่อน แก้ร้อนกระสับกระส่าย บำรุงโลหิต คุมกำเนิด
- 7. ใบ รักษาโรคบิด รักษาโรคเบาหวาน แก้ร้อนใน รักษาฝีมะม่วง รักษาโรคเหน็บชา ลดความดันโลหิตสูง ขับพยาธิ เป็นยาระบาย รักษาอาการ นอนไม่หลับ
- 8. ฝัก แก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ แก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้ระส่ำระสายในท้อง
- 9. เปลือกฝัก แก้เส้นเอ็นพิการ
- 10. ใบแก่ ใช้ทำปุ๋ยหมัก
ประโยชน์
- 1. ใบขี้เหล็กมีแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูง ช่วยเสริมสร้างกระดูกและฟันให้แข็งแรง (ใบ)
- 2. ดอกขี้เหล็กมีวิตามินที่ช่วยบำรุงและรักษาสายตา (ดอก)
- 3. ช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานโรค ป้องกันหวัด ช่วยทำให้แผลหายเร็วขึ้น (ดอก)
- 4. ช่วยบำรุงธาตุ (ราก)
- 5. แก้ธาตุพิการ แก้ไฟ ทำให้ตัวเย็น (แก่น)
- 6. ช่วยเจริญธาตุไฟ (ราก)
- 7. ช่วยแก้โรคกระษัย (ราก, ลำต้นและกิ่ง, เปลือกต้น, ทั้งต้น)
- 8. ช่วยรักษาอาการตัวเหลือง (ทั้งต้น)
- 9. ช่วยรักษาโรคเบาหวาน (ใบ, แก่น)
- 10. ช่วยลดความดันโลหิตสูง (ใบ)
- 11. ช่วยรักษาวัณโรค (แก่น)
- 12. ช่วยยับยั้งและชะลอการขยายตัวของเซลล์มะเร็ง (ดอก)
- 13. ช่วยรักษามะเร็งปอด ปอดอักเสบ มะเร็งลำไส้ มะเร็งกระเพาะอาหาร (แก่น)
- 14. ช่วยแก้อาการชักในเด็ก (ราก)
- 15. แก้ไตพิการ (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- 16. ช่วยแก้อาการแสบตา (แก่น)
- 17. ใบขี้เหล็กมีสารที่ชื่อว่า "แอนไฮโดรบาราคอล" (Anhydrobarakol) ที่มีสรรพคุณช่วยในการคลายความเครียด บรรเทาอาการจิตฟุ้งซ่าน (ใบ)
- 18. ช่วยบำรุงสมอง บำรุงประสาท แก้โรคประสาท และช่วยสงบประสาท (ดอก)
- 19. ช่วยทำให้นอนหลับสบาย แก้อาการนอนไม่หลับ ผ่อนคลายความกังวล ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไว้ดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 - 2 ช้อนชาก่อนเข้านอน (ใบ, ดอก)
- 20. ช่วยแก้ลมขึ้นเบื้องสูง เบื้องบน โลหิตขึ้นเบื้องบน ทำให้มีอาการระส่ำระสายในท้อง (ฝัก)
- 21. ช่วยรักษาหืด (ดอก)
- 22. ช่วยรักษาโรคโลหิตพิการ ผายธาตุ (ดอก)
- 23. ช่วยบำรุงโลหิต (ใบ)
- 24. ช่วยขับโลหิต (แก่น)
- 25. ช่วยขับพิษโลหิต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- 26. แก้เลือดกำเดาไหล (ต้น, ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- 27. ช่วยถ่ายพิษไข้ แก้ไข้กลับซ้ำ แก้ไข้หนาว ไข้ผิดสำแดง (ราก)
- 28. ช่วยดับพิษไข้ (เปลือกต้น, ทั้งต้น)
- 29. ช่วยแก้พิษไข้เพื่อน้ำดี พิษไข้เพื่อเสมหะ (เปลือกต้น, ฝัก)
- 30. ช่วยแก้พิษเสมหะ (ทั้งต้น)
- 31. ช่วยกำจัดเสมหะ (ใบ)
- 32. ช่วยขับมุตกิด กัดเถาดาน กัดเสมหะ และกัดเมือกในลำไส้ (เปลือกฝัก)
- 33. ขี้เหล็กมีสรรพคุณช่วยแก้ร้อนใน (ใบ)
- 34. ช่วยทำให้เจริญอาหาร (ดอก)
- 35. แก้อาการเบื่ออาหาร ด้วยการใช้ใบขี้เหล็กแห้ง 30 กรัม (หรือใบสด 50 กรัม) นำมาต้มกับน้ำไว้ดื่มก่อนนอน หรือจะใช้ใบอ่อนทำเป็นยาดองเหล้า โดยใส่เหล้าขาวพอท่วมยา แช่ทิ้งไว้ 7 วันและคนทุกวันให้น้ำยาสม่ำเสมอ เมื่อครบให้กรองเอากากยาออก จะได้น้ำยาดองเหล้าขี้เหล็ก แล้วนำมาดื่มครั้งละ 1 - 2 ช้อนชาก่อนเข้านอน (ใบแห้ง, ใบอ่อน)
- 36. ช่วยแก้อาการท้องผูก ด้วยการใช้ใบอ่อน 2 - 3 กำมือ หรือแก่นประมาณ 2 องคุลี ประมาณ 3 - 4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว (ใบอ่อน, แก่น)
- 37. ช่วยรักษาโรคบิด (ใบ)
- 38. ใช้เป็นยาถ่าย ยาระบาย ด้วยการใช้ใบอ่อน 2 - 3 กำมือ หรือแก่นประมาณ 2 องคุลี ประมาณ 3 - 4 ชิ้น นำมาต้มกับน้ำครึ่งถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ใช้ดื่มหลังตื่นนอนตอนเช้าหรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว (ดอก, ใบ, แก่น, ลำต้นและกิ่ง, เปลือกต้น, ราก, ทั้งต้น)
- 39. ช่วยรักษาโรคริดสีดวงทวาร (เปลือกต้น)
- 40. ช่วยบำรุงน้ำดี (ทั้งต้น)
- 41. ช่วยขับปัสสาวะ (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
- 42. ช่วยรักษานิ่วในไต (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
- 43. ช่วยรักษาโรคหนองใน (แก่น, ทั้งต้น)
- 44. รักษาแผลกามโรค (ราก, แก่น)
- 45. ช่วยแก้หนองใส (แก่น)
- 46. ช่วยขับระดูขาว (ใบ, ลำต้น และกิ่ง)
- 47. ช่วยฟอกโลหิตในสตรี (ต้น)
- 48. ช่วยขับพยาธิ (ใบ, ดอก)
- 49. ช่วยรักษาอาการเหน็บชา (ใบ, ราก)
- 50. รากใช้ทาแก้อัมพฤกษ์ให้หย่อน (ราก)
- 51. ช่วยทำให้เส้นเอ็นหย่อน (ทั้งต้น)
- 52. แก้เส้นเอ็นพิการ (เปลือกฝัก)
- 53. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (ลำต้นและกิ่ง)
- 54. ช่วยรักษาโรคหิด (เปลือกต้น)
- 55. ช่วยรักษาฝีมะม่วง (ใบ)
- 56. ทางภาคใต้ใช้รากขี้เหล็กผสมกับสารส้ม นำมาทาแผลฝีหนอง (ราก)
- 57. ช่วยแก้อาการฟกช้ำ (ราก, ลำต้น และกิ่ง)
- 58. ประโยชน์ของขี้เหล็กช่วยแก้บวม (ไม่ระบุส่วนที่ใช้)
- 59. ช่วยรักษารังแค ด้วยการใช้ดอกขี้เหล็กผสมกับมะกรูดย่างไฟ 2 ลูก โดยต้องย่างให้มีรอยไหม้ที่ผิวมะกรูดด้วย ใช้ดอกขี้เหล็ก 2 ช้อนโต๊ะ พิมเสน 1 ช้อนชา นำมาปั่นผสมกันแล้วเติมน้ำปูนใส 100 cc. ปั่นจนเข้ากัน แล้วคั้นกรองเอาแต่น้ำ จากนั้นนำน้ำมันมะกอกเติมผสมเข้าไปประมาณ 60 - 100 cc. ผสมจนเข้ากันแล้วนำมาหมักผมทิ้งไว้ประมาณ 20 นาทีก่อนการสระผมทุกครั้ง จะช่วยรักษารังแคได้ (ดอก)
- 60. ใช้ทำปุ๋ยหมัก (ใบแก่)
- 61. ดอกและดอกอ่อนใช้รับประทานหรือทำเป็นแกงขี้เหล็กได้ (ดอก)
คำแนะนำ
- 1. การรับประทานขี้เหล็กในลักษณะที่นำใบขี้เหล็กไปตากแห้งแล้วบรรจุเป็นเม็ด อาจทำให้เกิดการเสื่อมและการตายของเซลล์ตับ หรืออาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้เกิดโรคตับได้ ซึ่งการรับประทานขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบเพสลาดหรือตั้งแต่ยอดอ่อนถึงใบขนาดกลาง และนำไปต้มให้เดือด เทน้ำทิ้งสัก 2 - 3 น้ำ แล้วค่อยนำมาปรุงอาหารหรือนำไปทำเป็นยา ซึ่งวิธีการแบบพื้นบ้านนี้จะช่วยฆ่าฤทธิ์และทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้ และยังช่วยลดความขมลงอีกด้วย
- 1. การรับประทานขี้เหล็กในลักษณะที่นำใบขี้เหล็กไปตากแห้งแล้วบรรจุเป็นเม็ด อาจทำให้เกิดการเสื่อมและการตายของเซลล์ตับ หรืออาจทำให้เกิดภาวะตับอักเสบ ทำให้เกิดโรคตับได้ ซึ่งการรับประทานขี้เหล็กอย่างปลอดภัย ต้องเลือกใบเพสลาดหรือตั้งแต่ยอดอ่อนถึงใบขนาดกลาง และนำไปต้มให้เดือด เทน้ำทิ้งสัก 2 - 3 น้ำ แล้วค่อยนำมาปรุงอาหารหรือนำไปทำเป็นยา ซึ่งวิธีการแบบพื้นบ้านนี้จะช่วยฆ่าฤทธิ์และทำลายสารที่เป็นอันตรายต่อตับได้ และยังช่วยลดความขมลงอีกด้วย
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> ขี้เหล็ก <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/07/Senna-siamea-1.jpg
https://www.nanagarden.com/Picture/Product/400/115804.jpg
http://www.xn--03camj5ak4hpc.com/wp-content/uploads/2016/02/ขี้เหล็ก.สาระเร็ว.jpg
http://www.thinsiam.com/wp-content/uploads/2015/11/gg-720x340.jpg
https://steemitimages.com/p/o1AJ9qDyyJNSpZWhUgGYc3MngFqoAMyXTX3tn6nFKXk6PvWu4?format=match&mode=fit&width=640