ตะไคร้
วงศ์ : POACEAE หรือ GRAMINEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cymbopogon citratus (DC.) Stapf
ชื่อสามัญ : Lemongrass
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : ประเภทพืชล้มลุก ตระกูลหญ้าที่เจริญเติบโตง่าย ต้นจะมีลักษณะเป็นพุ่มโดยรวมสูงประมาณ 4 - 6 ฟุต ในไทยเองบางครั้งพบตะไคร้สูงเป็นเมตร แต่ลำต้นที่แท้จริงสูง 5 - 6 เซนติเมตร เท่านั้น ตะไคร้บริเวณโคนจะออกสีขาวนวล เรียกว่า “หัว”
ใบ : ใบเป็นใบเดี่ยว ลักษณะเรียวยาว ปลายใบแคบแหลม และมีขนหนาม เส้นใบขนานกับก้านใบ แตกออกเป็นกอ ยาว 30 - 60 เซนติเมตร กว้างประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร ผิวใบด้านบนระคายมือเล็กน้อย ส่วนด้านล่างและบริเวณขอบใบจะเรียบ ตัวใบจะอุดมไปด้วยน้ำมันหอมระเหย
ดอก : ไม่มีดอก
ผล : ไม่มีผล
การขยายพันธุ์ : ปลูกได้การปักชำต้นเหง้า โดยตัดใบออกให้เหลือตอนโคนประมาณหนึ่งคืบ นำมาปักชำไว้สักหนึ่งสัปดาห์ก็จะมีรากงอกออกมา แล้วนำไปลงแปลงดินที่เตรียมไว้ หรืออาจใช้วิธีเอาโคนปักลงไปที่ดินซึ่งเตรียมไว้เลย ให้ห่างประมาณหนึ่งศอก
สรรพคุณ
- 1. มีส่วนช่วยในการขับเหงื่อ
- 2. เป็นยาบำรุงธาตุไฟให้เจริญ (ต้นตะไคร้)
- 3. มีสรรพคุณเป็นยาบำรุงธาตุ ช่วยในการเจริญอาหาร
- 4. ช่วยแก้อาการเบื่ออาหาร (ต้น)
- 5. สารสกัดจากตะไคร้มีส่วนช่วยในการป้องกันโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
- 6. แก้และบรรเทาอาการหวัด อาการไอ
- 7. ช่วยรักษาอาการไข้ (ใบสด)
- 8. ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ (ราก)
- 9. น้ำมันหอมระเหยของใบตะไคร้สามารถบรรเทาอาการปวดได้
- 10. ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ
- 11. ช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง (ใบสด)
- 12. ใช้เป็นยาแก้อาเจียนหากนำไปใช้ร่วมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ (หัวตะไคร้)
- 13. ช่วยแก้อาการกษัยเส้นและแก้ลมใบ (หัวตะไคร้)
- 14. รักษาโรคหอบหืดด้วยการใช้ต้นตะไคร้
- 15. ช่วยแก้อาการเสียดแน่นแสบบริเวณหน้าอก (ราก)
- 16. ใช้เป็นยาแก้อาการปวดท้องและอาการท้องเสีย (ราก)
- 17. ช่วยแก้และบรรเทาอาการปวดท้อง
- 18. ช่วยรักษาอาการท้องอืดท้องเฟ้อ (หัวตะไคร้)
- 19. ช่วยในการขับน้ำดีมาช่วยในการย่อยอาหาร
- 20. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้มีส่วนช่วยลดการบีบตัวของลำไส้ได้
- 21. มีฤทธิ์ช่วยในการขับปัสสาวะ
- 22. ช่วยแก้อาการปัสสาวะพิการและรักษาโรคนิ่ว (หัวตะไคร้)
- 23. ช่วยแก้อาการขัดเบา (หัวตะไคร้)
- 24. ใช้เป็นยาแก้ขับลม (ต้น)
- 25. ช่วยรักษาอหิวาตกโรค
- 26. ช่วยแก้ลมอัมพาต (หัวตะไคร้)
- 27. ใช้เป็นยารักษาเกลื้อน (หัวตะไคร้)
- 28. น้ำมันหอมระเหยจากตะไคร้ สามารถช่วยต่อต้านเชื้อราบนผิวหนังได้เป็นอย่างดี
- 29. ช่วยแก้โรคหนองใน หากนำไปผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น ๆ
ประโยชน์
- 1. นำมาใช้ทำเป็นน้ำตะไคร้หอม น้ำตะไคร้ใบเตย ช่วยดับร้อนแก้กระหายได้เป็นอย่างดี
- 2. ช่วยในการบำรุงและรักษาสายตา
- 3. มีส่วนช่วยในการบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
- 4. มีส่วนช่วยในการบำรุงสมองและเพิ่มสมาธิ
- 5. สามารถนำมาใช้ทำเป็นยานวดได้
- 6. ช่วยแก้ปัญหาผมแตกปลาย (ต้น)
- 7. มีฤทธิ์เป็นยาช่วยในการนอนหลับ
- 8. การปลูกตะไคร้ร่วมกับผักชนิดอื่น ๆ จะช่วยป้องกันแมลงได้เป็นอย่างดี
- 9. นำมาใช้เป็นส่วนประกอบของสารระงับกลิ่นต่าง ๆ
- 10. ต้นตะไคร้ช่วยดับกลิ่นคาวหรือกลิ่นคาวของปลาได้เป็นอย่างดี
- 11. กลิ่นหอมของตะไคร้สามารถช่วยไล่ยุงและกำจัดยุงได้เป็นอย่างดี
- 12. เป็นส่วนประกอบของผลิตภัณฑ์จำพวกยากันยุงชนิดต่าง ๆ เช่น ยากันยุงตะไคร้หอม
- 13. สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ได้หลายชนิด เช่น เครื่องปรุงอบแห้ง ตะไคร้แห้งสำหรับชงดื่ม นำมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย เป็นต้น
- 14. มักนิยมนำมาใช้ในการประกอบอาหารหลายชนิด เช่น ต้มยำ และอาหารไทยอื่น ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติ
คำแนะนำ
- 1. ผู้ที่ตั้งครรภ์ ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคตะไคร้ เนื่องจากตะไคร้อาจกระตุ้นการไหลเวียนของเลือดในการเกิดประจำเดือน ซึ่งอาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแท้งได้
- 2. ผู้ที่กำลังให้นมบุตร ในปัจจุบันยังคงไม่มีหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับความปลอดภัยจากการบริโภคตะไคร้ในระหว่างที่ให้นมบุตร ผู้ที่กำลังให้นมบุตรจึงควรหลีกเลี่ยงการบริโภคตะไคร้ เพื่อป้องกันอันตรายต่อสุขภาพทั้งต่อตนเองและทารกที่อาจได้รับสารต่าง ๆ ผ่านทางน้ำนมด้วย
- 3. ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการบริโภคตะไคร้ หรืออาหารใด ๆ ก่อนเสมอ ว่าอาจส่งผลต่ออาการป่วยของตนหรือไม่
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> ตะไคร้ <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/07/Lemongrass-1.jpg
https://i.ytimg.com/vi/FQqt_49N_gE/maxresdefault.jpg
https://farmerspace.co/wp-content/uploads/2018/02/ตะไคร้1.jpg
https://www.aroka108.com/wp-content/uploads/2015/03/trakrai-01.jpg
https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/lemongrass-on-a-wooden-background.jpg