สะตอ
วงศ์ : MIMOSOIDEAE หรือ MIMOSACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Parkia speciosa Hassk.
ชื่อสามัญ : Bitter bean, Twisted cluster bean, Stink bean
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : สะตอ, ปะตา, ปัตเต๊าะ, ปาไต, ตอ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีลำต้นสูงได้มากถึง 30 เมตร โคนต้นเป็นพูพอน รูปทรงลำต้นเพราตรง เปลือกลำต้นมีสีน้ำตาล ผิวเปลือกแตกสะเก็ดขนาดเล็กหรือเป็นร่องตื้นๆขนาดเล็ก ลำต้นแตกกิ่งค่อนข้างน้อยจึงแลดูเป็นทรงพุ่มโปร่ง กิ่งแตกมากบริเวณเรือนยอด
ใบ : เป็นใบแบบขนนกสองชั้น คือ มีก้านใบหลักยาวประมาณ 30 - 50 เซนติเมตร ที่ประกอบด้วยก้านใบย่อย 14 - 24 คู่ แต่ละก้านใบย่อยยาวประมาณ 2.2 - 6 เซนติเมตร มีใบย่อยเรียงตรงข้ามกัน 30 - 38 คู่ ใบย่อยมีลักษณะเป็นขอบขนาน สีเขียวสดถึงเขียวเข้มตามอายุใบ แผ่นใบเรียบ ปลายใบมน มีติ่งเล็กตรงกลางของปลายใบ
ดอก : ออกดอกเป็นช่อ ยาว 30 - 50 เซนติเมตร ขนาดช่อ 0.5 - 1 เซนติเมตร ส่วนดอกจะยาว 5 - 7 เซนติเมตร ขนาดดอก 2 - 4 เซนติเมตร ดอกประกอบด้วยกลีบดอกที่มีลักษณะเป็นหลอดเรียงติดกันในแนวตั้ง โคนดอกเป็นเกสรตัวผู้ ส่วนถัดมาเป็นเกสรชนิดสมบูรณ์เพศ ดอกจะเริ่มออกประมาณเดือนเมษายน และอีกประมาณ 70 วัน ก็สามารถเก็บฝักได้ และจะให้ฝักต่อเนื่องจนถึงอายุ 15 - 20 ปี
ผล : ฝัก ที่มีลักษณะแบน มีทั้งชนิดที่เป็นฝักบิดเป็นเกลียว และชนิดที่แบนตรง ฝักยาวประมาณ 25 - 45 เซนติเมตร กว้างประมาณ 4 - 5 เซนติเมตร เปลือกฝักอ่อนมีสีเขียว และค่อยเปลี่ยนเป็นสีดำเมื่อแก่ ตรงกลางฝักเป็นที่อยู่ของเมล็ดที่เรียงซ้อนกันเป็นตุ่มนูน เมล็ดมีลักษณะคล้ายหัวแม่มือ หรือรูปรีค่อนข้างกลม ขนาดเมล็ดทั่วไป กว้างประมาณ 2.2 - 2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5 - 2 เซนติเมตร เมล็ดอ่อนมีสีเขียว ให้รสหวานมัน และมีกลิ่นฉุน และเมื่อแก่จะเริ่มเหลือง และดำในที่สุด ทั้งนี้ สะตอจะให้ฝักมากในช่วงเดือนกรกฎาคม-สิงหาคม
การขยายพันธุ์ : การเพาะเมล็ด โดยมีลักษณะการปลูกที่นิยมปลูกแซมกับพืชอื่น เช่น ปลูกแซมในสวนปาล์ม สวนยาง เป็นต้น ส่วนระยะปลูกระหว่างต้นในแนวแถวเดียวกันที่ 10 - 12 x 10 - 12 เมตร และหากปลูกหลายแถวจะมีระยะระหว่างแถวเท่ากันในระยะเท่ากัน ซึ่ง 1 ไร่ จะปลูกได้ประมาณ 11 - 16 ต้น
สรรพคุณ
- 1. สะตอมีส่วนช่วยบำรุงสายตา
- 2. ช่วยทำให้เจริญอาหาร
- 3. ช่วยป้องกันหลอดเลือดอุดตัน
- 4. ช่วยลดความดันโลหิต
- 5. ช่วยทำให้เม็ดเลือดแดงเกาะกลุ่มกันได้ดีขึ้น
- 6. มีผลต่อการแบ่งตัวของเซลล์
- 7. ช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือด
- 8. เชื่อว่าการรับประทานเป็นประจำจะช่วยป้องกันการเกิดโรคเบาหวานได้
- 9. ช่วยขับลมในลำไส้
- 10. ช่วยกระตุ้นการบีบตัวของลำไส้
- 11. ช่วยในการขับปัสสาวะ
- 12. สะตอมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ช่วยในการขับถ่าย
- 13. แก้ปัสสาวะพิการ
- 14. ช่วยแก้ไตพิการ
- 15. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย
- 16. ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา
ประโยชน์
- 1. ใช้ประกอบอาหาร เช่น สะตอผัดกุ้ง แกงป่าใส่สะตอ สะตอผัดกะปิกุ้งสด เป็นต้น
- 2. ใช้แปรรูปเป็นสะตอดองได้อีกด้วย ส่วนยอดสะตอนำมารับประทานเป็นผักเหนาะ
- 3. ใบของสะตอใช้ทำเป็นปุ๋ยบำรุงดิน
- 4. ลำต้นของสะตอใช้ทำเฟอร์นิเจอร์ตกแต่งบ้าน
คำแนะนำ
- 1. เนื่องจากสะตอมีกรดยูริกสูง สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์หรือผู้ที่มีกรดยูริกในร่างกายสูงเกินค่ามาตรฐานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสะตอ เพราะอาจจะทำให้โรคเกาต์กำเริบได้ และกรดยูริกในร่างกายที่สูงก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่ว โรคไตอักเสบ และมีอาการหูอื้ออีกด้วย
- 1. เนื่องจากสะตอมีกรดยูริกสูง สำหรับผู้ที่เป็นโรคเกาต์หรือผู้ที่มีกรดยูริกในร่างกายสูงเกินค่ามาตรฐานควรหลีกเลี่ยงการรับประทานสะตอ เพราะอาจจะทำให้โรคเกาต์กำเริบได้ และกรดยูริกในร่างกายที่สูงก็ยังมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคนิ่ว โรคไตอักเสบ และมีอาการหูอื้ออีกด้วย
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> สะตอ <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://www.cpbrandsite.com/contents/tips_tricks/xljnkogimbzifkfsstxyjh6nnkvjaod7ikgrrdiv.jpg
https://img4.tnews.co.th/userfiles/images/Still0603_00002.jpg
https://www.nanagarden.com/picture/product/400/245190.jpg
https://oer.learn.in.th/file_upload/cover/70824.jpg
https://health.mthai.com/app/uploads/2019/06/Bitter-bean.jpg