ดูโค้ดสำหรับ หอมใหญ่
←
หอมใหญ่
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
[[ไฟล์:onion.png|right]] >>> [https://www.youtube.com/watch?v=fTTpR2vRru4&t=46s หอมใหญ่] <<< <br> '''วงศ์''' : AMARYLLIDACEAE <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Allium cepa L.'' <br> '''ชื่อสามัญ''' : Onion <br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ''' : หัวหอม, หอมหัวใหญ่, หัวหอมใหญ่, หอมฝรั่ง, หอมหัว <br><br> '''ลักษณะทางพฤกษศาสตร์'''<br> '''ต้น''' : จัดเป็นพืชล้มลุก มีความสูงประมาณ 30 - 40 เซนติเมตร มีหัวอยู่ใต้ดินคล้ายหัวหอม ลักษณะกลมป้อม มีเปลือกนอกบาง ๆ สีม่วงแดงหุ้มอยู่ แต่เมื่อแห้งแล้วจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลำต้นใต้ดินหรือที่เรียกว่าหัวนั้น ภายในจะมีกลีบสีขาวอวบหุ้มซ้อนกันอยู่เป็นชั้น ๆ ทำให้มีลักษณะเป็นหัวเช่นเดียวกับกระเทียมและหอมแดง <br> '''ใบ''' : ประกอบด้วยกาบใบที่อยู่บริเวณเหนือหัวหอม เรียกส่วนนี้ว่า คอหอม กาบนี้มีลักษณะเป็นแผ่นสีขาว อัดกันแน่นเป็นทรงกระบอกยาว ถัดมาเป็นส่วนของใบหอม ใบมีลักษณะเรียวยาว เป็นรูปครึ่งวงกลมจนถึงทรงกลม ผิวใบสีเขียวเข้ม ด้านในกลวง <br> '''ดอก''' : ออกดอกเป็นช่อ แทงขึ้นมาจากลำต้นใต้ดิน กลีบดอกมีสีขาว <br> '''ผล''' : หอมหัวใหญ่มีผลขนาดเล็ก เป็นทรงกลม เมื่อเมล็ดแห้ง และแตกจะเห็นเมล็ดอยู่ภายในประมาณ 3-6 เมล็ด<br> '''การขยายพันธุ์''' : การหว่านเมล็ด และหยอดเมล็ด เป็นการปลูกด้วยวิธีการหว่านเมล็ดลงแปลงปลูก หรือ หยอดเมล็ดในแถวในระยะที่ห่างกัน และดูแลรักษาจนกระทั่งเก็บเกี่ยว <br> <br> '''สรรพคุณ''' <br> :::1. หัวหอมใหญ่มีวิตามินซีสูง และยังมีสารอื่น ๆ เช่น สารเคอร์ซีทิน ที่ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระในร่างกายและช่วยป้องกันโรคต่าง ๆ ได้เป็นอย่างดี :::2. ช่วยป้องกันและยับยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็งต่าง ๆ ได้ เนื่องจากหอมใหญ่มีสารต้านอนุมูลอิสระสูงมาก :::3. หัวหอมมีคุณสมบัติช่วยทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ทำให้รู้สึกง่วง ช่วยในการนอนหลับได้สบาย :::4. การรับประทานหัวหอมสดเป็นประจำจะช่วยทำให้มีความจำที่ดีขึ้น หรือจะรับประทานร่วมกับอาหารชนิดอื่น ๆ ก็ได้ :::5. ช่วยทำให้เจริญอาหาร :::6. ช่วยทำให้พลังลงสู่ด้านล่าง ช่วยให้พลังการไหลเวียนในอวัยวะภายในร่างกายคล่องตัว :::7. ช่วยแก้ธาตุในร่างกายไม่เป็นปกติ :::8. ช่วยกำจัดสารตะกั่วและโลหะหนักที่ปนเปื้อนมากับอาหารและสะสมในร่างกาย :::9. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ :::10. ช่วยป้องกันและลดความเสี่ยงของอัมพาตได้เป็นอย่างดี :::11. หัวหอมมีฤทธิ์ช่วยรักษาโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โดยช่วยลดปริมาณของไขมันในเส้นเลือดและช่วยในการขยายหลอดเลือด ช่วยทำให้เลือดไม่แข็งตัวไปแล้วไปอุดตันในหลอดเลือดได้ง่าย :::12. สารไซโคลอัลลิอินในหัวหอมใหญ่ช่วยในการสลายลิ่มเลือด ป้องกันไม่ให้ลิ่มเลือดอุดตันหรือยับยั้งการรวมตัวกันของเกล็ดเลือด ปกป้องหลอดเลือดเลี้ยงสมองเกิดการอุดตันและช่วยกระจายเลือดลม การรับประทานเป็นประจำในระยะยาวจะช่วยทำให้หลอดเลือดสะอาด และลดการแข็งตัวของหลอดเลือด :::13. หอมหัวใหญ่ลดความอ้วน โดยน้ำคั้นจากหัวหอมมีสรรพคุณช่วยลดคอเลสเตอรอล ลดไขมันในเส้นเลือด :::14. ช่วยลดการเป็นพิษต่อเซลล์ไขมันในเลือดชนิดเลว ช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL) และช่วยเพิ่มไขมันดี(HDL)ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย โดยหัวหอมสดแค่เพียงครึ่งหัวก็สามารถช่วยเพิ่มระดับไขมันดีได้ถึงร้อยละ 30 ในผู้ป่วยโรคหัวใจหรือผู้มีปัญหาเรื่องคอเลสเตอรอล :::15. ช่วยลดความดันโลหิต แก้ความดันโลหิตสูง :::16. สารอัลลิลโพรพิลไดซัลไฟด์ (Allyl propy disuldhide หรือ APDS) ในหอมใหญ่ มีคุณสมบัติช่วยลดน้ำตาลในเลือด ช่วยป้องกันและรักษาโรคเบาหวาน :::17. หัวหอมใหญ่มีสารฟลาโวนอยด์ ไกลโคไซด์ (Flavonoid glycosides) ที่มีคุณสมบัติช่วยป้องกันไขมันไม่ให้มาเกาะตามผนังหลอดเลือด ถ้าหากเกาะมาก ๆ จะเกิดภาวะเส้นโลหิตอุดตัน หรือทำให้เกิดโรคหัวใจขาดเลือดได้ :::18. แคลเซียมในหอมใหญ่จะช่วยในการสังเคราะห์เอนไซม์ที่เป็นตัวช่วยต่อสู้กับสิ่งมีชีวิตแปลกปลอม และช่วยเม็ดเลือดขาวในการทำลายและย่อยสลายไวรัส :::19. หอมหัวใหญ่สามารถช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุนได้ดีกว่ายารักษาโรคกระดูกพรุนอย่างแคลซิโทนิน (Calcitonin) แต่นักวิจัยระบุว่าอาจจะต้องกินหอมใหญ่วันละ 200-300 กรัมจึงจะได้ผล จึงเหมาะอย่างมากสำหรับใช้กับสตรีในช่วงวัยหมดประจำเดือน :::20. ช่วยรักษาไข้หวัด แก้หวัดคัดจมูก และช่วยลดน้ำมูก ด้วยการนำหัวหอมขนาดพอดีที่ปอกเปลือกแล้วมาทุบให้แหลก แล้วใส่ลงไปในแก้วที่ใส่น้ำร้อนรอไว้ จากนั้นให้ใช้ผ้าขาวบางมาปิดหุ้มปากแก้วไว้ แล้ววางไว้ใกล้ ๆ ตัวในตำแหน่งที่ไอของความร้อนจะลอยเข้าสู่จมูกได้ ซึ่งในช่วงที่น้ำกำลังร้อนจะมีไอน้ำที่ผสมกับกลิ่นหัวหอมลอยขึ้นมา ก็ให้พยายามสูดไอนั้นเข้าไป จะช่วยแก้อาการดังกล่าวได้ :::21. ช่วยรักษาโรคภูมิแพ้ หอบหืด :::22. สารอัลลิลิกไดซัลไฟด์ในหอมใหญ่ช่วยขับเสมหะได้ :::23. ธาตุแมกนีเซียมในหอมใหญ่มีคุณสมบัติช่วยทำลายเซลล์มะเร็งและช่วยกำจัดไวรัส :::24. ช่วยป้องกันมะเร็งลำไส้ :::25. ช่วยป้องกันมะเร็งตับ :::26. ช่วยแก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ :::27. ช่วยแก้ท้องร่วง :::28. ช่วยขับพยาธิ :::29. ช่วยในการขับปัสสาวะ (สารอัลลิลิกไดซัลไฟด์) :::30. ช่วยแก้ลมพิษ :::31. ลดอาการปวดอักเสบ :::32. หอมหัวใหญ่มีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อโรค :::33. น้ำมันหอมหัวใหญ่มีฤทธิ์ช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียบางประเภทได้ :::34. น้ำคั้นจากหัวหอมช่วยรักษาผิวหนังที่ถูกน้ำร้อนลวกได้ :::35. ช่วยแก้บวม แก้ปวด อาการบวมจากพิษ โดยใช้เป็นยาทาภายนอก :::36. หัวหอมใช้นำมาตำพอกแก้แผลช้ำบวม แก้ฝีได้ :::37. หัวหอมนำมาตำให้แหลกใช้ผสมกับเหล้าโรง แล้วนำมาพอกหรือทาบริเวณที่ถูกแมลงสัตว์กัดต่อย จะช่วยลดอาการเจ็บปวดได้เป็นอย่างดี :::38. น้ำคั้นจากหัวหอมสามารถนำมาใช้ทาภายนอกเพื่อช่วยบรรเทาอาการปวดตามข้อได้ <br><br> '''ประโยชน์''' <br> :::1. หัวใช้รับประทานเป็นผัก หรือนำมาใช้ปรุงอาหาร หรือใช้เป็นเครื่องเทศเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวในอาหารได้เป็นอย่างดี :::2. ช่วยทำให้กระดูกอ่อนนุ่ม เมื่อนำมาใช้ต้มกับกระดูกสัตว์ :::3. น้ำมันหอมระเหยจากหัวหอมสามารถนำมาใช้ทาสิวอักเสบเพื่อช่วยลดการอักเสบได้ :::4. ช่วยรักษาฝ้า ตามตำราฝรั่งใช้หอมหัวใหญ่นำมาดองกับไวน์แล้วแช่ทิ้งไว้สักเดือน แล้วใช้น้ำที่แช่มาทาเพื่อรักษาฝ้า เห็นว่าได้ผล :::5. ประโยชน์ของหัวหอมกับการนำมาสกัดทำเป็นเครื่องสำอางบางชนิด เช่น ยาสระผม ยาบำรุงเส้นผม เนื่องจากมีสารเพกติน กลูโดคินิน และไกลโคไซด์ ที่จะช่วยขจัดรังแคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราต่าง ๆ ได้ :::6. เมนูหอมใหญ่ เช่น ผัดหัวหอมใหญ่ ไข่เจียวหอมใหญ่ หัวหอมใหญ่ทอด เนื้อผัดหอมหัวใหญ่ หมูผัดพริกสดใส่หอมใหญ่ ข้าวไก่อบหอมใหญ่ ซุปหอมหัวใหญ่ ยำเห็ดหอมใหญ่ เป็นต้น <br><br> '''คำแนะนำ''' <br> :::1. หอมหัวใหญ่มีฤทธิ์อุ่น ให้รสเผ็ดร้อน ไม่มีพิษ เข้าเส้นลมปราณ ปอด และกระเพาะอาหาร โดยหอมใหญ่ดิบจะมีฤทธิ์สุขุม ส่วนหอมใหญ่สุกจะมีฤทธิ์อุ่น :::2. แม้หัวหอมใหญ่จะเป็นผักที่มีกลิ่นฉุนมาก จนทำให้คนส่วนใหญ่ไม่อยากรับประทาน หรือหันไปรับประทานแบบชุบแป้งทอด การเจียว หรือการใช้ในการปรุงแต่งอาหารอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตามถ้าอยากจะรับประทานแบบให้ได้ประโยชน์ต่อสุขภาพจริง ๆ แนะนำว่าให้รับประทานแบบสด ๆ จะดีที่สุด :::3. การรับประทานหัวหอมใหญ่แบบสด (หรือรับประทานร่วมกับอาหารอื่น ๆ) เพียงวันละครึ่งหัวถึงหนึ่งหัวเป็นเวลา 2 เดือน ก็จะเห็นผลต่อสุขภาพโดยภาพรวมได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่เป็นโรคเบาหวานหรือผู้ที่มีระดับคอเลสเตอรอลสูง :::4. '''วิธีการเลือกซื้อหัวหอมใหญ่''' ให้มีคุณภาพดีต้องสังเกตดังนี้ มีผิวแห้งและเรียบ หัวมีน้ำหนักมาก เนื้อแน่น ไม่มีส่วนที่นิ่มหรือมีรอยช้ำ ซึ่งจะช่วยทำให้เก็บหอมใหญ่ไว้ได้นานขึ้นนั่นเอง :::5. '''วิธีซอยหอมไม่ให้แสบตา''' หัวหอมใหญ่มีหลายวิธี เช่น เมื่อปอกเปลือกเสร็จแล้วให้ใช้มีดจิ้มให้รอบหัว แล้วนำลงแช่ในน้ำเปล่าไว้สักครู่ หลังจากนั้นค่อยนำไปหั่น หรืออีกวิธีก็ให้นำหัวหอมใหญ่ไปแช่เย็นประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะนำมาหั่น ทั้งสองวิธีดังกล่าวนี้สามารถช่วยลดอณูซึ่งประกอบไปด้วยซัลเฟอร์หรือกำมะถันไม่ให้เกิดการฟุ้งกระจาย ทำให้ปฏิกิริยาต่าง ๆ ช้าลงได้ จึงช่วยป้องกันและลดการระคายเคืองและอาการแสบร้อนในตาได้ :::6. '''วิธีการเก็บรักษาหอมหัวใหญ่''' วิธีการยืดอายุและการเก็บหอมหัวใหญ่ ก็มีหลายวิธี เช่น การนำหอมใหญ่มาใส่ในถุงกระดาษสีน้ำตาลแล้วพับปิดปากถุง หรืออีกวิธีให้ใช้กระดาษนำมาห่อหัวหอมใหญ่เป็นลูก ๆ และใส่ถุงพลาสติกอีกชั้นหนึ่ง หรืออีกวิธีก็คือให้ใช้กระดาษฟอยล์ในการห่อหัวหอมใหญ่ ก่อนการนำมาแช่ในตู้เย็น ก็จะช่วยทำให้คงความสดความกรอบ และทำให้ผิวหัวหอมไม่ช้ำอีกด้วย :::7. '''สมุนไพรหอมใหญ่''' แม้ว่าสรรพคุณหัวหอมใหญ่จะมีอยู่มากมาย แต่เนื่องจากหอมใหญ่เป็นสมุนไพรที่มีฤทธิ์อุ่นและมีรสเผ็ด การนำมาใช้ในแต่ละบุคคล ควรคำนึงถึงสภาพร่างกายและโรคของผู้ป่วยด้วย ซึ่งฤทธิ์ดังกล่าวสามารถช่วยขับความเย็น ทำให้หยางทะลุทะลวงไปยังส่วนต่าง ๆ ช่วยกำจัดพิษและปัจจัยที่กระทบจากภายนอกเนื่องจากความเย็นได้ดี แต่ไม่มีฤทธิ์ในการบำรุงหยางในร่างกาย เมื่อใช้ไปนาน ๆ อาจจะทำให้ร่างกายเสียพลังได้ง่าย เช่น ในกรณีผู้ป่วยหอบหืดที่มีพลังอ่อนแออยู่แล้ว แทนที่จะมีอาการหอบดีขึ้น แต่กลับจะทำให้อาการหอบหืดกำเริบมากขึ้นกว่าเดิม เป็นต้น ดังนั้นจึงควรรู้ถึงข้อดีและข้อเสียเพื่อนำไปปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมด้วย จึงจะเกิดประโยชน์ต่อร่างกายอย่างสูงสุด :::8. การรับประทานหัวหอมใหญ่ในปริมาณมากหรือรับประทานติดต่อกันนานเกินไป อาจจะทำลายจิตประสาท ทำให้จิตฟุ้งซ่าน ลืมง่าย ความจำเสื่อม มีอาการตามัว พลังและเลือดถูกทำลาย ทำให้เส้นเลือดไหลเวียนได้ไม่ดี ทำให้โรคต่าง ๆ ที่เป็นอยู่หายช้าและเรื้อรัง และยังไปทำลายสมรรถภาพทางเพศ :::9. เมื่อคุณมีอาการปวดศีรษะเนื่องจากความเครียดหรือจากการพักผ่อนไม่เพียงพอ มีคำแนะนำว่าไม่ควรจะรับประทานหัวหอมใหญ่ :::10. อย่างไรก็ตามไม่ควรรับประทานหัวหอมใหญ่สดในขณะที่ท้องว่าง เพราะอาจะทำให้เกิดอาการระคายเคือง ทำให้เยื่อบุในกระเพาะเกิดการอักเสบได้ :::11. สำหรับผู้ที่ถูกสัตว์มีพิษมีเขี้ยวกัด ไม่ควรรับประทานหอมใหญ่ เพราะการรับประทานหัวหอมใหญ่จะทำให้มีอาการรุนแรงขึ้น ทำให้พิษแพร่กระจายอย่างรวดเร็ว :::12. สิ่งที่คุณควรรู้อีกเรื่องนั้นก็คือ หอมใหญ่เป็นหนึ่งในอาหารที่มีกลิ่นแรงและทำให้เกิดกลิ่นปาก :::13. สำหรับผู้ที่มีกลิ่นตัวแรงอยู่แล้ว การรับประทานหัวหอมใหญ่มากเกินไปอาจจะทำให้มีกลิ่นตัวแรงยิ่งขึ้น :::14. ว่ากันว่าในช่วงเดือนสี่(ฤดูใบไม้ผลิ)ไม่ควรรับประทานหอมหัวใหญ่ เพราะจะทำให้อาการหอบหืดรุนแรงมากขึ้น ---- <center>[[ไฟล์:onion1.png]] [[ไฟล์:onion2.png]] [[ไฟล์:onion3.png]] [[ไฟล์:onion4.png]] </center> ---- '''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> https://health.mthai.com/app/uploads/2019/08/onion.jpg<br> https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/Onion.jpg<br> https://static1-velaeasy.readyplanet.com/www.disthai.com/images/editor/Allium-cepa-onion.jpg<br> https://medthai.com/images/2013/10/ดอกหอมใหญ่.jpg<br> https://www.fitterminal.com/wp-content/uploads/2018/12/onions-1397037_640-1024x585.jpg<br>
กลับไป
หอมใหญ่
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
พื้นที่ศึกษา
กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบแดง
กระชาย
กระโดน
กระถิน
กระทกรก
กระเทียม
กล้วยน้ำว้า
กะเพรา
กุยช่าย
ขมิ้นชัน
ข่า
ข้าวกล้อง
ข้าวโพดอ่อน
ขี้เหล็ก
ขึ้นฉ่าย
คำฝอย
แคบ้าน
งา
จักรนารายณ์
เจตมูลเพลิงแดง
ชะพลู
ชะมวง
ชะเอมเทศ
ชา
เดือย
ตะไคร้
ตำลึง
ถั่วพู
ถั่วเหลือง
ทับทิม
ทานตะวัน
เทียนเกล็ดหอย
น้ำเต้า
ใบบัวบก
บอระเพ็ด
บุก
ปลาไหลเผือก
ปัญจขันธ์
ผักกระเฉด
ผักกระโฉม
ผักกูด
ผักขม
ผักชีลาว
ผักเชียงดา
ผักติ้ว
ผักบุ้ง
ผักปลัง
ผักไผ่
ผักหวาน
ผักหวานป่า
ผักเหลียง
ผักฮ้วน
พริก
พริกไทย
พลูคาว
แพงพวยฝรั่ง
ฟักข้าว
ฟักแม้ว
ฟ้าทะลายโจร
มะกรูด
มะกล่ำตาหนู
มะกอก
มะเกี๋ยง
มะขามป้อม
มะเขือเปราะ
มะเดื่อ
มะนาว
มะม่วงหิมพานต์
มะเม่า
มะระ
มะระขี้นก
มะรุม
มะละกอ
มังคุด
แมงลัก
ยอ
ย่านางแดง
รางจืด
ลูกซัด
ลูกสำรอง
ว่านหางจระเข้
ส้มแขก
สมอไทย
สะเดา
สะตอ
เสาวรส
โสน
หญ้าปักกิ่ง
หญ้าหวาน
หม่อน
หอมแดง
หอมใหญ่
โหระพา
อบเชย
อัญชัน
อินทนิลน้ำ
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า