ดูโค้ดสำหรับ บอระเพ็ด
←
บอระเพ็ด
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
[[ไฟล์:tinospora.png|right]] '''วงศ์''' : MENISPERMACEAE <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Tinospora crispa (L.) Hook. f. & Thomson'' <br> '''ชื่อสามัญ''' : Tinospora cordifolia <br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ''' : เจตมูลหนาม, ตัวเจตมูลยานหรือเถาหัวดำ, หางหนู, จุ่งจิง, เครือเขาฮอ, เถาหัวด้วน, หางหนู, จุ้งจาลิงตัวแม่ <br><br> '''ลักษณะทางพฤกษศาสตร์'''<br> '''ต้น''' : บอระเพ็ดเป็นไม้เถาเนื้อแข็ง ไม่มีขน ยาวได้ถึง 15 เมตร ลำต้นมีเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 - 2 เซนติเมตร เปลือกเถาหนา 1.5 - 2.5 มิลลิเมตร ผิวบอระเพ็ดเป็นสีน้ำตาล เนื้อในมีสีเทาแกมเหลือง เถามีลักษณะกลม ผิวเปลือกเถาขรุขระเป็นปุ่มกระจายไปทั่ว และเมื่อแก่จะเห็นปุ่มปมเหล่านี้หนาแน่นและชัดเจนมาก <br> '''ใบ''' : ใบเป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ ใบบอระเพ็ดมีลักษณะเป็นรูปหัวใจ ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ ก้านใบยาว 8 - 10 เซนติเมตร <br> '''ดอก''' : จะออกตามซอกใบ ดอกแยกเพศอยู่คนละช่อ ลักษณะดอกบอระเพ็ดมีสีเขียวอมเหลือง ดอกขนาดจิ๋ว <br> '''ผล''' : ผลรูปร่างค่อนข้างกลม มีสีเหลืองหรือสีแดง <br> '''การขยายพันธุ์''' : ใช้เถาปักชำ <br> <br> '''สรรพคุณ''' <br> :::1. บอระเพ็ดช่วยบำรุงผิวพรรณให้สดใส หน้าตาสดชื่น (ใบ) :::2. มีสารต้านอนุมูลอิสระ มีส่วนช่วยในการชะลอวัย :::3. ประโยชน์ของบอระเพ็ด ช่วยให้ผมดกหนาขึ้นและอาการผมหงอก ผมร่วงก็จะลดน้อยลง ซึ่งจะได้ผลดีอย่างมากกับผู้ที่มีอาการผมหงอกก่อนวัย หากรับประทานผงบอระเพ็ดวันละ 600 mg. เป็นเวลา 1 เดือน :::4. แก้อาการคันหนังศีรษะ รังแค ชันนะตุ :::5. ใช้แก้อาการกระหายน้ำ (เถา, ต้น) :::6. ใช้เป็นยาบำรุงธาตุ บำรุงร่างกาย (ต้น, ใบ) :::7. บอระเพ็ดสรรพคุณใช้เป็นยาอายุวัฒนะ (ราก, ต้น, ใบ) ด้วยการใช้บอระเพ็ด / เมล็ดข่อย / หัวแห้วหมู / เมล็ดพริกไทย / เปลือกต้นทิ้งถ่อน / เปลือกต้นตะโกนา ในสัดส่วนเท่ากันนำมาบดเป็นผง ปั้นเป็นยาลูกกลอนเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานก่อนนอนครั้งละ 2 - 3 เม็ด หรือจะนำเถาบอระเพ็ดมาหั่นตากแห้งแล้วนำมาบดให้เป็นผงปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้ :::8. ช่วยให้สุขภาพร่างกายแข็งแรง เสริมสร้างภูมิต้านทาน (ราก) :::9. บอระเพ็ดลดความอ้วน (ใบ) :::10. ใช้รักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือด (ราก) :::11. สรรพคุณของบอระเพ็ดช่วยรักษาโรคเบาหวาน ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด ด้วยการใช้เถาสดที่โตเต็มที่ตากแห้งแล้วบดเป็นผง นำมาชงน้ำร้อนดื่มครั้งละ 1 ช้อน เช้าและเย็น (เถาสด, ทุกส่วน) :::12. มีสารลดความดันโลหิต ได้แก่ อะดีโนซีน(adenosine), ซาลโซลีนอล(salsolinol), ไฮเจนนามีน (higenamine) (ต้น) :::13. แก้โรคดีซ่าน (ทุกส่วน) :::14. ช่วยรักษาอาการโลหิตคั่งในสมอง (ใบ) :::15. ช่วยให้เจริญอาหาร (ราก, ต้น) :::16. แก้อาการร้อนใน (เถา, ต้น) :::17. สรรพคุณบอระเพ็ดช่วยดับพิษร้อนในร่างกาย (ราก) :::18. ช่วยขับเหงื่อ (เถา) :::19. ช่วยฆ่าแมลงในหู (เถา) :::20. แก้รำมะนาด (เถา) :::21. แก้ไข้เหนือ ไข้สันนิบาต ไข้พิษ ไข้จับสั่น (ราก, ต้น, ใบ) :::22. ใช้ถอนพิษไข้ (ราก) :::23. ใช้เป็นยาแก้ไข้ (เถา, ผล) ด้วยการใช้เถาสดประมาณ 30 กรัม นำมาตำคั้นเอาน้ำดื่ม หรือใช้วิธีต้มเคี่ยว (ใส่น้ำ 3 ส่วน ต้มให้เหลือ 1 ส่วน) แบ่งครั้งละ 2 - 3 ช้อนโต๊ะ ก่อนอาหารวันละ 2 - 3 ครั้งเมื่อตอนมีไข้ หรือจะนำเถาบอระเพ็ดมาตากแห้ง บดให้เป็นผง ปั้นเป็นลูกกลอนก็ได้ :::24. แก้ไข้มาลาเรียด้วยการกินบอระเพ็ดวันละ 2 องคุลีทุกวัน (เถา) :::25. แก้ไข้เพื่อโลหิต แก้เลือดพิการ (ต้น) :::26. แก้อาการแทรกซ้อนขณะเป็นไข้ทรพิษ (ต้น) :::27. ช่วยให้เสียงไพเราะ (ใบ) :::28. แก้อาการเสมหะเป็นพิษ (ผล) :::29. ช่วยรักษาฟัน (ทุกส่วน) :::30. แก้อาการปวดฟัน (เถา) :::31. แก้สะอึก (ต้น, ผล) :::32. แก้โรคกระเพาะอาหารด้วยการใช้บอระเพ็ด 5 ส่วน / มะขามเปียก 7 ส่วน / เกลือ 3 ส่วน / น้ำผึ้งพอควร นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันแล้วรับประทานก่อนอาหาร 3 เวลา :::33. แก้อาการท้องอืด ท้องเฟ้อ (ราก) :::34. รักษาโรคริดสีดวงทวาร (ทุกส่วน) :::35. รักษาโรคเกี่ยวกับทางเดินปัสสาวะ (ทุกส่วน) :::36. แก้อาการมดลูกเสีย (ราก) :::37. ช่วยบำรุงน้ำดี (เถา) :::38. ช่วยขับพยาธิ (ใบ) :::39. ช่วยฆ่าพยาธิไส้เดือน (เถา) :::40. ช่วยฆ่าพยาธิในท้อง ในฟัน และในหู (ดอก) :::41. แก้อาการปวดเมื่อยตามร่างกาย (ทุกส่วน) :::42. แก้อาการเกร็ง (ทุกส่วน) :::43. ดับพิษปวดแสบปวดร้อน (เถา) :::44. ใช้ล้างแผลที่เกิดจากโรคซิฟิลิส (เถา) :::45. ช่วยรักษาโรคผิวหนัง (เถา,ใบ) :::46. รักษาผดผื่นตามร่างกาย (ใบ) :::47. รักษาบาดทะยัก (ทุกส่วน) :::48. แก้อาการปวดฝี (ใบ) :::49. แก้พิษฝีดาษ (ต้น) :::50. แก้ฝีมดลูด ฝีมุตกิด (ทุกส่วน) :::51. นำมาแปรรูปเป็นบอระเพ็ดแคปซูล <br><br> '''ประโยชน์''' <br> :::1. '''บรรเทาอาการไข้หวัด แก้ร้อนใน''' นำเถาสดของบอระเพ็ดขนาด 30 กรัมมาตำแล้วคั้นเอาแต่น้ำ นำไปเคี่ยวกับน้ำอีก 3 ส่วนจนเหลือเพียง 1 ส่วน ดื่มก่อนอาหารครั้งละ 2 - 3 ช้อนโต๊ะ วันละ 2 ครั้งเช้าเย็น จนกว่าจะหาย :::2. '''บำรุงเส้นผมและหนังศีรษะ''' บอระเพ็ดที่บดละเอียดแล้ว สามารถนำมาผสมลงในแชมพูหรือครีมนวดผม เพื่อบรรเทาอาการคันศีรษะ และบรรเทาอาการจากโรคชันนะตุ นอกจากนี้ยังช่วยลดปัญหาผมแตกปลาย ตลอดจนผมขาดหลุดร่วงง่าย :::3. '''รักษาโรคกระเพาะอาหาร''' ให้ใช้บอระเพ็ด 5 ส่วน มะขามเปียก 7 ส่วน เกลือ 3 ส่วน และน้ำผึ้งพอสมควร นำมาคลุกให้เข้ากัน แล้วนำมารับประทานแก้โรคกระเพาะ 3 มื้อก่อนอาหาร :::4. '''รักษาฝี หนอง และแผลอักเสบ''' นำบอระเพ็ดมาโขลกหรือตำให้ละเอียด แล้วใช้พอกบริเวณรอยแผล จะช่วยบรรเทาอาการอักเสบลงได้ อีกทั้งยังช่วงลดอาการฟกช้ำตามจุดต่างๆ ของร่างกายได้เป็นอย่างดีอีกด้วย :::5. '''ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด''' นำเถาสดของบอระเพ็ดที่โตเต็มเต็มที่ไปตากให้แห้ง แล้วนำมาบด ชงกับน้ำร้อนดื่มครั้งละ 1 ช้อนโต๊ะ จะช่วยลดระดับน้ำตาลในเลือดได้ สำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวานควรปรึกษาแพทย์ก่อน :::6. '''ช่วยลดระดับความดันโลหิต''' จากการศึกษาพบว่า ในบอระเพ็ดมีสาร Adenosine สาร Higenamine และสาร Salsolinol ที่ช่วยลดระดับความดันโลหิตได้ และยังช่วยเพิ่มระดับไขมันดีในร่างกาย :::7. '''ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคสมองเสื่อม''' ในบอระเพ็ดมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด ที่มีฤทธิ์ต้านสาร AChE ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมได้ <br><br> '''คำแนะนำ''' <br> :::1. สมุนไพรบอระเพ็ดสำหรับการรับประทานในส่วนของรากอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานานอาจมีผลต่อหัวใจ เนื่องจากเป็นยารสขม สิ่งที่ต้องระวังก็คือไม่ควรใช้ติดกันต่อเนื่องเกิน 1 เดือน ถ้าหากจำเป็นต้องใช้ในเดือนถัดไปก็ควรเว้นระยะเวลา 1 - 2 สัปดาห์เป็นอย่างน้อยเพื่อให้ร่างกายสามารถปรับสภาพได้ก่อน ถ้าใช้ไปแล้วมีอาการมือเท้าเย็น แขนขาหมดเรี่ยวแรงก็ควรหยุดรับประทาน :::2. ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานจนเกินไป เพราะบอระเพ็ดเป็นพืชที่มีรสขมจัด อาจส่งผลถึงตับและไตได้ :::3. หากรับประทานไปแล้วพบว่ามีอาการมือเย็น เท้าเย็น มือเท้าไม่มีเรี่ยวแรง ตัวเหลือง ตาเหลือง ควรหยุดรับประทาน แล้วรีบไปพบแพทย์ทันที :::4. สตรีมีครรภ์ และสตรีที่อยู่ในช่วงให้นมบุตร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานบอระเพ็ด ---- <center>[[ไฟล์:tinospora1.png]] [[ไฟล์:tinospora2.png]] [[ไฟล์:tinospora3.png]] [[ไฟล์:tinospora4.png]] </center> ---- '''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> https://img.kapook.com/u/2019/sireeporn/Health-6/b2.jpg<br> https://img.kapook.com/u/2019/sireeporn/Health-6/b1.jpg<br> https://img.tnews.co.th/userfiles/images/1(11285).jpg<br> https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/07/ดอกบอระเพ็ด.jpg<br> https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/07/ลูกบอระเพ็ด.jpg<br>
กลับไป
บอระเพ็ด
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
พื้นที่ศึกษา
กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบแดง
กระชาย
กระโดน
กระถิน
กระทกรก
กระเทียม
กล้วยน้ำว้า
กะเพรา
กุยช่าย
ขมิ้นชัน
ข่า
ข้าวกล้อง
ข้าวโพดอ่อน
ขี้เหล็ก
ขึ้นฉ่าย
คำฝอย
แคบ้าน
งา
จักรนารายณ์
เจตมูลเพลิงแดง
ชะพลู
ชะมวง
ชะเอมเทศ
ชา
เดือย
ตะไคร้
ตำลึง
ถั่วพู
ถั่วเหลือง
ทับทิม
ทานตะวัน
เทียนเกล็ดหอย
น้ำเต้า
ใบบัวบก
บอระเพ็ด
บุก
ปลาไหลเผือก
ปัญจขันธ์
ผักกระเฉด
ผักกระโฉม
ผักกูด
ผักขม
ผักชีลาว
ผักเชียงดา
ผักติ้ว
ผักบุ้ง
ผักปลัง
ผักไผ่
ผักหวาน
ผักหวานป่า
ผักเหลียง
ผักฮ้วน
พริก
พริกไทย
พลูคาว
แพงพวยฝรั่ง
ฟักข้าว
ฟักแม้ว
ฟ้าทะลายโจร
มะกรูด
มะกล่ำตาหนู
มะกอก
มะเกี๋ยง
มะขามป้อม
มะเขือเปราะ
มะเดื่อ
มะนาว
มะม่วงหิมพานต์
มะเม่า
มะระ
มะระขี้นก
มะรุม
มะละกอ
มังคุด
แมงลัก
ยอ
ย่านางแดง
รางจืด
ลูกซัด
ลูกสำรอง
ว่านหางจระเข้
ส้มแขก
สมอไทย
สะเดา
สะตอ
เสาวรส
โสน
หญ้าปักกิ่ง
หญ้าหวาน
หม่อน
หอมแดง
หอมใหญ่
โหระพา
อบเชย
อัญชัน
อินทนิลน้ำ
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า