ดูโค้ดสำหรับ ปลาไหลเผือก
←
ปลาไหลเผือก
ข้ามไป:
การนำทาง
,
ค้นหา
คุณไม่มีสิทธิแก้ไขหน้านี้ ด้วยเหตุต่อไปนี้:
ปฏิบัติการที่คุณขอนี้สงวนไว้เฉพาะผู้ใช้ในกลุ่ม:
ผู้ใช้
หน้านี้ถูกล็อกเพื่อป้องกันการแก้ไขหรือปฏิบัติการอื่น
คุณสามารถดูและคัดลอกโค้ดของหน้านี้:
[[ไฟล์:eurycoma.png|right]] '''วงศ์''' : SIMAROUBACEAE <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Eurycoma longifolia Jack'' <br> '''ชื่อสามัญ''' : - <br> '''ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ''' : คะนาง, ชะนาง, กรุงบาดาล, ไหลเผือก, ตรึงบาดาล, ตุงสอ, ตรึงบาดาล, เพียก, หยิกบ่อถอง, แฮพันชั้น, หยิกบ่อถอง, หยิกไม่ถึง, เอียนด่อน, ปลาไหลเผือก, ไหลเผือก, เพียก, ตุวุวอมิง, ตุวเบ๊าะมิง, หมุนขึ้น, ตงกัตอาลี" <br><br> '''ลักษณะทางพฤกษศาสตร์'''<br> '''ต้น''' : จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ต้นขนาดเล็ก ลำต้นตั้งตรง มีความสูงตั้งแต่ 1 - 10 เมตร เปลือกต้นเป็นสีน้ำตาล แตกกิ่งก้านน้อย กิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาล ก้านใบออกจากลำต้นตรงส่วนปลายของลำต้น เรียงกันหนาแน่นช่วงปลายกิ่ง กิ่งก้านสั้นเป็นกระจุกที่ปลายยอดของลำต้น เป็นไม้ลงราก รากมีลักษณะกลมโตสีเขียวและยาว <br> '''ใบ''' : เป็นใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ ออกเรียงเวียนจากลำต้น ใบประกอบมีความยาวได้กว่า 35 เซนติเมตร มีใบย่อยประมาณ 8 - 13 คู่ ออกเรียงตรงข้ามหรือเกือบตรงข้าม ลักษณะของใบเป็นรูปใบหอกแกมรูปไข่กลับหรือเป็นรูปขอบขนานแกมรูปไข่เรียวยาว ใบย่อยมีขนาดกว้างประมาณ 1 - 3 เซติเมตรและยาวประมาณ 5 - 10 เมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีเส้นแขนงใบข้างละประมาณ 8 - 12 เส้น เส้นใบเห็นได้ไม่ชัดเจน เส้นกลางใบนูนเล็กน้อยด้านบนและนูนเด่นด้านล่าง แผ่นใบหนาคล้ายแผ่นหนัง ผิวใบด้านเรียบเป็นมัน ส่วนด้านล่างใบมีขนอยู่ประปราย ไม่มีก้านใบย่อย ส่วนก้านช่อยาวประมาณ 7 - 15 เซนติเมตร <br> '''ดอก''' : ออกดอกเป็นช่อแบบแยกแขนง โดยจะออกเป็นกระจุกที่ซอกใบและปลายกิ่ง เป็นช่อพวงใหญ่ มีความยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ดอกเป็นแบบแยกเพศอยู่บนต้นเดียวกันหรือเป็นแบบแยกเพศแต่อยู่ต่างต้นกัน ที่ดอกจะมีขนสั้นและขนละเอียดเป็นต่อมกระจาย ทั้งบริเวณก้านช่อดอก ก้านดอก ใบประดับ และกลีบเลี้ยงมีขนขึ้นประปรายและมีขนต่อมเป็นกระจุก ดอกมีกลีบดอก 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปใบหอกหรือรูปขอบขนานแกมรูปไข่ และเป็นสีม่วงปนแดง มีขนาดกว้างประมาณ 2 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 4 - 5 มิลลิเมตร กลีบดอกจะแยกออกจากกันอย่างอิสระ ดอกมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 6 - 7 มิลลิเมตร ดอกมีเกสรเพศผู้ประมาณ 5 - 6 ก้าน มีความยาวประมาณ 1.5 - 2.5 มิลลิเมตร อยู่ติดสลับกับกลีบดอก โคนก้านชูอับเรณูมีรยางค์และมีขน ส่วนเกสรเพศผู้ที่เป็นหมันในดอกเพศเมียจะมีขนาดเล็ก ยาวประมาณ 0.5 มิลลิเมตร ส่วนดอกเพศเมีย รังไข่จะอยู่เหนือวงกลีบ มี 5 - 6 คาร์เพล แยกออกจากกัน ในแต่ละอันจะมีช่อง 1 ช่อง มีออวุล 1 เม็ด ก้านเกสรเพศเมียจะเรียวยาว เชื่อมกันหรือแนบชิดติดเหนือรังไข่ประมาณ 1 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร ส่วนยอดเกสรเป็นรูปโล่ มีแฉกประมาณ 5 - 6 แฉกชี้ขึ้น ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ส่วนใบประดับจะมีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยมขนาดเล็ก ยาวประมาณ 1 มิลลิเมตร ร่วงได้ง่าย ส่วนกลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม มีขนาดกว้างประมาณ 1 มิลลิเมตรและยาวประมาณ 2 มิลลิเมตร หลอดกลีบเลี้ยงสั้น ที่โคนเชื่อมติดกันเล็กน้อย และก้านยอดยาวประมาณ 7 มิลลิเมตร โดยจะออกดอกในช่วงเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนเดือนมกราคม <br> '''ผล''' : ออกผลเป็นพวง หนึ่งพวงจะมีผลประมาณ 5 ผลย่อย ลักษณะของผลย่อยเป็นรูปทรงกลม ทรงรี หรือเป็นรูปไข่ มีขนาดกว้างประมาณ 0.8 - 1.2 เซนติเมตรและยาวประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร เปลือกนอกบาง กลางผลมีร่องตื้น ๆ ตามยาว ส่วนผนังผลชั้นในมีลักษณะแข็ง ผลเมื่อแก่จะเป็นสีแดงถึงสีม่วงดำ และก้านผลยาวประมาณ 3 มิลลิเมตร ภายในผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ลักษณะของเมล็ดปลาไหลเผือกเป็นรูปรี <br> '''การขยายพันธุ์''' : ขยายพันธุ์ด้วยวิธีการใช้เมล็ด และวิธีการตอนกิ่ง <br> <br> '''สรรพคุณ''' <br> :::1. รากใช้เป็นยาบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย คนเดินป่านิยมกันนัก เพราะจะช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง อดทน ช่วยคลายอาการปวดเมื่อย ป้องกันและรักษาไข้ป่าในระหว่างการเดินทาง (ราก) ส่วนทางภาคใต้จะใช้ทั้งแก่นและรากนำมาต้มกับน้ำกินวันละ 3 - 4 ครั้ง และช่วงก่อนนอนเป็นยาโด๊ปชั้นยอดที่ช่วยบำรุงกำลังและบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ทำให้เลือดไหลเวียนดี (แก่นและราก) :::2. ใช้เป็นยาบำรุงโลหิต (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของราก) :::3. ช่วยรักษาความดันโลหิตสูง (ราก) :::4. รากมีรสขม เบื่อเมาเล็กน้อย ใช้เป็นยาถ่ายพิษต่าง ๆ ทุกชนิด ถ่ายฝีในท้อง ถ่ายพิษไข้ พิษเสมหะ และโลหิต (ราก) รากปลาไหลเผือก ใช้ผสมกับรากย่านางแดงและพญายา นำมาฝนกับน้ำกินเป็นยาขับพิษ (ราก) :::5. รากใช้ต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ไข้ทุกชนิด แก้ไข้เรื้อรัง เป็นยาลดไข้ แก้ไข้มาลาเรีย ไข้จับสั่น ตัดไข้ทุกชนิด ตามตำรับยาจะใช้รากแห้งหนักประมาณ 8-15 กรัมหรือครั้งละ 1 กำมือ นำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหาร วันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น (ราก) การใช้เป็นยาตัดไข้ ให้ใช้รากแห้งนำมาหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ประมาณ 1 กำมือ แล้วนำมาต้มกับน้ำดื่มก่อนอาหาร เช้าและเย็น (ราก) ส่วนทางภาคใต้จะใช้รากต้มกินเพื่อป้องกันและรักษาไข้ป่า (ราก) :::6. เปลือกลำต้นนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้ไข้จับสั่น แก้ไข้สันนิบาต แก้ไข้พิษ ไข้ทรพิษ แก้ไข้เหือดหัด ไข้กาฬนกนางแอ่น (เปลือกต้น) :::7. ช่วยขับเหงื่อ (ราก) :::8. สำหรับผู้ป่วยโรคเอดส์มักจะติดเชื้อได้ง่ายและเป็นไข้อยู่บ่อย ๆ ก็อาจจะใช้รากของต้นปลาไหลเผือกนำมาต้มกินก็ได้ (ราก) :::9. ช่วยแก้วัณโรค วัณโรคระยะบวมขึ้น แก้กาฬโรค (ราก) :::10. ใช้รากปลาไหลเผือก รากโลดทะนงแดง และพญาไฟ นำมาฝนกับน้ำกินเป็นยาทำให้อาเจียน ใช้เลิกเหล้า (ราก) :::11. รากใช้ภายนอกเป็นยาพอกแก้อาการปวดศีรษะ (ราก) :::12. ช่วยแก้ต่อมทอนซิลอักเสบ แก้อาการเจ็บคอ (ราก) :::13. ช่วยรักษาโรคคอพอก ด้วยการใช้ตำรับยาสามราก (ดูด้านล่าง) นำมาฝนกับน้ำมะนาว ใส่เกลือทะเล เติมน้ำใส่ขวดไว้ใช้กินต่างน้ำประมาณ 2 เดือน อาการคอพอกก็จะค่อย ๆ ยุบไป จนหายเป็นปกติ (ราก) :::14. ตำรายาไทยใช้รากเป็นยาแก้ลม (ราก) :::15. ช่วยแก้พิษสำแดง (ไม่ระบุส่วนที่ใช้ แต่เข้าใจว่าคือส่วนของราก) :::16. รากใช้ฝนกับน้ำกินหรือฝนกับน้ำปูนใสกินเป็นยาแก้อาการปวดท้อง แก้อาการปวดท้องอย่างแรงจากโรคกระเพาะหรือกระเพาะอาหารอักเสบเฉียบพลัน (ราก) ช่วยแก้ท้องมาน ท้องร่วง (ราก) :::17. ช่วยแก้อาการท้องผูก (ราก) :::18. ช่วยแก้ฝีในท้อง ฝีในอก (วัณโรค) ด้วยการใช้ปลาไหลเผือกนำมาเคี้ยวกินได้เลย หรือจะนำมาต้มกินก่อนอาหารเช้าและเย็นก็ได้ (ราก) :::19. รากใช้เป็นยาขับพยาธิ (ราก) :::20. รากใช้ผสมกับรากผักติ้วและหญ้าแห้วหมู นำมาต้มกับน้ำดื่มเป็นยาแก้ปัสสาวะขัด (ราก) :::21. เปลือกลำต้นนำมาต้มเอาน้ำกินเป็นยาแก้เบาพิการ (เปลือกต้น) :::22. ในประเทศมาเลเซียจะใช้รากเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศและเป็นยาบำรุงหลังการคลอดบุตร (ราก) :::23. ช่วยขับถ่ายน้ำเหลือง (ราก) :::24. รากใช้ภายนอกเป็นยาพอกปิดบาดแผลพุพอง (ราก) :::25. ใช้แก้ฝี แผลพุพอง แผลเรื้อรัง ให้ใช้รากผสมกับน้ำปูนใสแล้วนำมาใช้ทา (ราก) :::26. ต้นและรากนำมาต้มกับน้ำหรือแช่ในน้ำ ใช้อาบแก้ผื่นคันที่เกิดจากการแพ้อากาศหรือจากการแพ้สารเคมี (ต้นและราก) :::27. ใช้รักษาผิวหนังที่เกิดจากการติดเชื้อ (ราก) :::28. ช่วยบรรเทาอาการผื่นคันบริเวณผิวหนัง (ราก) :::29. รากใช้เป็นยาแก้พิษทุกชนิด พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย พิษฝีทั้งภายนอกและภายใน (ราก) :::30. ทางภาคใต้จะใช้รากต้มกินเป็นยาแก้อาการปวดเมื่อย แก้ปวดทั่วไป ปวดข้อ ปวดตามร่างกาย แก้บวม แก้บิด (ราก)[7],[12] แก้โรคปวดเอว (ราก) :::31. ช่วยรักษาโรคอัมพาต (ราก) :::32. รากปลาไหลเผือกจัดอยู่ในตำรับ '''"ยาประสะเหมือดคน"''' ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้ แก้ร้อนใน และเป็นส่วนประกอบในตำรับ '''"ยาจันทน์ลีลา"''' หรือ '''"ยาจันทลีลา"''' (โกฐสอ, โกฐเขมา, โกฐจุฬาลัมพา, จันทน์แดง, จันทน์เทศ, เถาบอระเพ็ด, ลูกกระดอม, รากปลาไหลเผือกอย่างละ 4 ส่วน และพิมเสนอีก 1 ส่วน นำมาบดเป็นผง ทำเป็นยาเม็ดขนาด 500 มิลลิกรัม ใช้กินเวลามีไข้ครั้งละ 2 - 4 เม็ด ทุก ๆ 4 ชั่วโมง) เป็นตำรับที่มีสรรพคุณเป็นยาแก้ไข้ตัวร้อน แก้หวัด แก้ไข้เปลี่ยนฤดู และยังอยู่ในตำรับ '''"ยาแก้ไข้ห้าราก"''' อีกด้วย (ราก) :::33. รากปลาไหลเผือกจัดอยู่ในตำรับ '''"ยาสามราก"''' ซึ่งประกอบไปด้วยพญารากเดี่ยว (รากปลาไหลเผือก), รากโลดทะนง และรากฮังฮ้อน (พญารากไฟ) โดยเป็นตำรับยาที่มีสรรพคุณทำให้อาเจียนและถ่าย ใช้เป็นยาล้างพิษสารเสพติด ใช้บำบัดผู้ป่วยที่ติดยาเสพติด ช่วยแก้อาการลงแดงจากยาเสพติดได้ (ตามข้อมูลระบุว่าให้ใช้รากทั้งสามนำมาฝนกับน้ำมะนาวกินก่อนอาหาร เช้าและเย็น หรืออาจต้มกับน้ำดื่มก็ได้) (ราก) :::34. รากใช้ผสมในตำรับ '''"ยาจันทลิ้นลา"''' ซึ่งเป็นตำรับยาแก้ไข้ รักษาอาการชัก (ราก) :::35. นอกจากนี้รากปลาไหลเผือกยังมีสรรพคุณอื่น ๆ อีก เช่น คุณสมบัติการต้านโรคของอาการภูมิแพ้ต่าง ๆ ต้านเซลล์มะเร็ง ต้านเชื้อไวรัส ฆ่าเชื้อมาลาเรีย และความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นที่นิยมกันมากในมาเลเซีย <br><br> '''ประโยชน์''' <br> :::1. ในสมัยก่อนมีความเชื่อว่าปลาไหลเผือกเป็นของศักดิ์สิทธิ์ นักรบในสมัยโบราณนิยมกันนัก เพราะเชื่อว่าจะทำให้หนังเหนียว อยู่ยงคงกระพัน และช่วยบำรุงพละกำลังได้อย่างดีเยี่ยม :::2. รากปลาไหลเผือกมีสรรพคุณในการล้างพิษ จึงถูกนำมาใช้เป็นยาล้างพิษยาเสพติด เพื่อช่วยบำบัดผู้ติดยาเสพติด แก้อาการลงแดงจากยาเสพติด โดยจะใช้อยู่ในรูปของตำรับ '''"ยาสามราก"''' อันประกอบไปด้วยรากปลาไหลเผือก รากโลดทะนงแดง และต้นฮังฮ้อน ซึ่งล้วนแล้วแต่เป็นสมุนไพรถอนพิษทั้งสิ้น :::3. ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำเร็จของผงรากปลาไหลที่บรรจุในแคปซูล (ขนาด 400 มิลลิกรัม) เพื่อการบำรุงสมรรถภาพทางเพศ ซึ่งประสิทธิภาพนั้นก็ขึ้นอยู่กับอายุและร่างกายของผู้รับประทาน (แนะนำให้กินก่อนอาหารเช้า และให้กิน 2 วัน หยุด 2 วัน หรือทุก 3 วัน หรือกินวันเว้น) :::4. สารสกัดจากสมุนไพรปลาไหลเผือกได้รับการจดสิทธิบัตรเป็นของสหรัฐอเมริกาอยู่หลายสิทธิบัตร เช่น สิทธิบัตรการปรับระดับฮอร์โมนเพศชายด้วยการใช้ปลาไหลเผือก สิทธิบัตรสารเคมีที่มีฤทธิ์ในการกระตุ้นฮอร์โมนเพศชาย สิทธิบัตรในการเป็นยาทาภายนอกเพื่อเพิ่มระดับของฮอร์โมนเพศชายและฮอร์โมนเร่งการเจริญเติบโต สิทธิบัตรในการเป็นส่วนประกอบและวิธีการในการเพิ่มกล้ามเนื้อ เพิ่มความแข็ง เพิ่มสมรรถภาพของนักกีฬา การลดไขมันและนำไปสู่การลดน้ำหนัก สิทธิบัตรในการเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศในรูปของแคปซูลและยาเม็ด และสิทธิบัตรในการเป็นส่วนประกอบของสารสกัดจากพืชที่ใช้รักษาอาการหัวล้านในเพศชาย :::5. จากการต่อยอดจากผลงานวิจัยจนเกิดการจดสิทธิบัตรอีกหลายฉบับ จึงทำให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์ออกจำหน่ายทั้งภายในและต่างประเทศ โดยจะเป็นสินค้าที่อยู่ในรูปของอาหารเสริมและเครื่องดื่มเป็นหลัก ซึ่งจะใช้ปลาไหลเผือกเป็นส่วนประกอบหลัก ในการผลิตสินค้ามากกว่า 100 ชนิด โดยทั้งหมดจะเน้นไปที่คุณสมบัติทางด้านการเสริมสมรรถภาพทางเพศเป็นหลัก และอาจกล่าวได้เป็นไวอากราจากธรรมชาติกันเลยทีเดียว <br><br> '''คำแนะนำ''' <br> :::1. หากเพิ่งใช้สมุนไพรปลาไหลเผือกในรูปของยาผงครั้งแรก แนะนำว่าให้ใช้ในปริมาณที่น้อยกว่าที่แนะนำก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณการใช้ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงที่อาจตามมา :::2. เนื่องจากรากปลาไหลเผือกมีเป็นสมุนไพรที่มีพิษเบื่อเมา การนำมาใช้จึงต้องระวัง เพราะสำหรับบางคนแล้วเมื่อกินเข้าไปก็อาจทำให้เกิดอาการปวดเมื่อย วิงเวียนศีรษะ หรือมีไข้อ่อน ๆ หากมีอาการดังกล่าวก็ให้หยุดรับประทานแล้วดื่มน้ำเยอะ ๆ จนกว่าอาการจะหายไป และทางที่ดีควรเริ่มกินในปริมาณน้อย ๆ ก่อน แล้วค่อย ๆ เพิ่มปริมาณตามคำแนะนำ :::3. การใช้เพื่อเป็นยาเพิ่มสมรรถภาพทางเพศนั้น ไม่ควรกินยาผงเกิน 1 กรัม (1,000 มิลลิกรัม) ต่อวัน และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นเวลานานเกินกว่า 1 เดือน แต่ให้ใช้และหยุดในระยะเวลาเท่ากัน ๆ :::4. การใช้ในปริมาณที่สูงเกินไปและติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน จะก่อให้เกิดผลข้างเคียงของแอนโดรเจน ทำให้ต่อมลูกหมากโตและทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับได้ :::5. แม้ว่าสมุนไพรหลาย ๆ ชนิด จะนำมาดองกับเหล้าเพื่อเป็นยาบำรุงกำลัง แต่สำหรับสมุนไพรชนิดนี้ไม่ควรนำมาดองกับเหล้ากิน เนื่องจากมีสารอัลคาลอยด์ที่เป็นพิษอยู่ ซึ่งเป็นสารที่สามารถละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ ---- <center>[[ไฟล์:eurycoma1.png]] [[ไฟล์:eurycoma2.png]] [[ไฟล์:eurycoma3.png]] [[ไฟล์:eurycoma4.png]] </center> ---- '''แหล่งที่มาของภาพ''' <br> https://dm.lnwfile.com/_/dm/_raw/ql/bd/6t.jpg<br> https://medthai.com/images/2014/04/ตงกัตอาลี.jpg<br> https://medthai.com/images/2014/04/ใบปลาไหลเผือก.jpg<br> http://www.bookmuey.com/images/EurycomaLongifolia00004.jpg<br> https://medthai.com/images/2014/04/ผลปลาไหลเผือก.jpg<br>
กลับไป
ปลาไหลเผือก
รายการเลือกการนำทาง
เครื่องมือส่วนตัว
สร้างบัญชี
ล็อกอิน
เนมสเปซ
หน้า
อภิปราย
สิ่งที่แตกต่าง
ดู
อ่าน
ดูโค้ด
ดูประวัติ
เพิ่มเติม
ค้นหา
การนำทาง
หน้าหลัก
พื้นที่ศึกษา
กระเจี๊ยบเขียว
กระเจี๊ยบแดง
กระชาย
กระโดน
กระถิน
กระทกรก
กระเทียม
กล้วยน้ำว้า
กะเพรา
กุยช่าย
ขมิ้นชัน
ข่า
ข้าวกล้อง
ข้าวโพดอ่อน
ขี้เหล็ก
ขึ้นฉ่าย
คำฝอย
แคบ้าน
งา
จักรนารายณ์
เจตมูลเพลิงแดง
ชะพลู
ชะมวง
ชะเอมเทศ
ชา
เดือย
ตะไคร้
ตำลึง
ถั่วพู
ถั่วเหลือง
ทับทิม
ทานตะวัน
เทียนเกล็ดหอย
น้ำเต้า
ใบบัวบก
บอระเพ็ด
บุก
ปลาไหลเผือก
ปัญจขันธ์
ผักกระเฉด
ผักกระโฉม
ผักกูด
ผักขม
ผักชีลาว
ผักเชียงดา
ผักติ้ว
ผักบุ้ง
ผักปลัง
ผักไผ่
ผักหวาน
ผักหวานป่า
ผักเหลียง
ผักฮ้วน
พริก
พริกไทย
พลูคาว
แพงพวยฝรั่ง
ฟักข้าว
ฟักแม้ว
ฟ้าทะลายโจร
มะกรูด
มะกล่ำตาหนู
มะกอก
มะเกี๋ยง
มะขามป้อม
มะเขือเปราะ
มะเดื่อ
มะนาว
มะม่วงหิมพานต์
มะเม่า
มะระ
มะระขี้นก
มะรุม
มะละกอ
มังคุด
แมงลัก
ยอ
ย่านางแดง
รางจืด
ลูกซัด
ลูกสำรอง
ว่านหางจระเข้
ส้มแขก
สมอไทย
สะเดา
สะตอ
เสาวรส
โสน
หญ้าปักกิ่ง
หญ้าหวาน
หม่อน
หอมแดง
หอมใหญ่
โหระพา
อบเชย
อัญชัน
อินทนิลน้ำ
เครื่องมือ
หน้าที่ลิงก์มา
การปรับปรุงที่เกี่ยวโยง
หน้าพิเศษ
สารสนเทศหน้า