ผลต่างระหว่างรุ่นของ "ฟักแม้ว"

จาก ระบบฐานข้อมูลพืชสมุนไพรไทย อำเภอพนม จังหวัดสุราษฎร์ธานี
(สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''' : CUCURBITACEAE <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Sechium edule (Jacq) S...")
 
(ล็อก "ฟักแม้ว" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลร...)
(ไม่แตกต่าง)

รุ่นปรับปรุงเมื่อ 21:13, 30 มกราคม 2563

Chayote.png

วงศ์ : CUCURBITACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sechium edule (Jacq) Swartz.
ชื่อสามัญ : Chayote
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : มะระแม้ว, มะระหวาน, มะเขือเครือ, มะเขือฝรั่ง, มะระญี่ปุ่น, ฟักญี่ปุ่น, มะเขือนายก, บ่าเขือเครือ, ฟักม้ง, แตงกะเหรี่ยง

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : มีถิ่นกำเนิดในทางตอนใต้ของประเทศเม็กซิโกและแถบอเมริกากลาง ซึ่งในปัจจุบันมีการเพาะปลูกอยู่ทั่วโลก โดยสันนิษฐานกันว่ามีการนำเข้ามาปลูกในไทยโดยหมอสอนศาสนา และให้ชาวบ้านปลูกครั้งแรกที่จังหวัดแพร่ แต่ในปัจจุบันจะเพาะปลูกฟักแม้วกันมากในจังหวัดเลย เพชรบูรณ์ และจังหวัดทางภาคเหนืออย่างเชียงราย โดยจัดเป็นเถาไม้เลื้อย ลักษณะทั่วไปจะคล้ายกับพืชที่อยู่ในตระกูลแตง แต่มีลักษณะหลายอย่างที่แตกต่างกัน เช่น ลักษณะของลำต้น ใบ ยอด และมือจับ คล้ายต้นแตงกวาผสมฟักเขียว มีระบบรากสะสมขนาดใหญ่ ลำต้นฟักแม้วมีลักษณะเป็นเหลี่ยม เจริญเป็นเถา มีความยาวประมาณ 15-30 ฟุต มีเถาแขนง 3-5 เถา มีมือเกาะเจริญที่ข้อ
ใบ : ขอบใบมีลักษณะเป็นเหลี่ยม 3-5 เหลี่ยม มีความยาวประมาณ 8-15 เซนติเมตร ลักษณะคล้ายใบตำลึงแต่มีขนาดใหญ่กว่า ใบมีขนระคายทั้งด้านบนและด้านล่าง
ดอก : มีสีขาวปนเขียว ดอกจะเกิดตามข้อระหว่างต้นกับก้านใบ ออกดอกเป็นช่อ ดอกเป็นประเภทไม่สมบูรณ์เพศ หรือดอกตัวผู้และดอกตัวเมียจะอยู่คนละดอก แต่อยู่ในต้นเดียวกัน
ผล : เป็นผลเดี่ยว ลักษณะเป็นทรงกลมยาว ผลมีสีเขียวอ่อน รูปร่างคล้ายลูกแพร์ ผลมีความยาวประมาณ 7-20 เซนติเมตรและกว้างประมาณ 5-15 เซนติเมตร หนึ่งผลมีน้ำหนักราว 200-400 กรัม รสเย็น เนื้อผลมีรสหวาน รสคล้ายกับฝรั่งปนแตงกวา
การขยายพันธุ์ : นำผลแก่วางใส่พื้นดินที่จะปลูกหรือขุดดินลงเล็กน้อยให้ผลแก่โผล่ขึ้นจากพื้นดิน ให้แต่ละหลุมห่างกันใช้ระยะปลูก 2 x 3 เมตร หรือ 3 x 3 เมตร ทำเสาปักให้รอบหรือจะต้องทำค้างให้เถายึดเกาะ โดยความสูงขึ้นอยู่กับสภาพพื้นที่และจะต้องสูงพอที่จะเดินเข้าไปเก็บผลได้

สรรพคุณ

1. ช่วยบำรุงหัวใจและหลอดเลือด ด้วยการใช้ผลและใบมาดองเป็นยาไว้กิน (ผล, ใบ)
2. น้ำต้มใบและผลนำมาใช้ในการรักษาอาการเส้นเลือดแข็งตัวได้ (ผล, ใบ)
3. มะระหวานช่วยรักษาโรคความดันโลหิตสูง ด้วยการดื่มน้ำที่ต้มจากผลและใบฟักแม้ว (ผล, ใบ)
4. ช่วยป้องกันและรักษาโรคเลือดออกตามไรฟัน (ผล, ใบ)
5. ยอดฟักแม้วช่วยในการขับถ่าย ทำให้ถ่ายได้สะดวกขึ้น จึงป้องกันอาการท้องผูกได้เป็นอย่างดี (ใบ)
6. ผลและใบฟักแม้วนำมาใช้ดองเป็นยาช่วยขับปัสสาวะ (ผล, ใบ)
7. น้ำต้มใบและผลฟักแม้วช่วยสลายนิ่วในไต (ผล, ใบ)
8. ช่วยแก้อาการอักเสบด้วยการใช้ผลและใบมาดองเป็นยาไว้กิน (ผล, ใบ)

ประโยชน์

1. ฟักแม้วเป็นแหล่งของสารต้านอนุมูลอิสระมากมายที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง และช่วยชะลอการเกิดริ้วรอยแห่งวัยได้
2. ผลฟักแม้วมีโฟเลตสูง ซึ่งมีประโยชน์อย่างมากสำหรับทารกในครรภ์ เพราะช่วยป้องกันการพิการของทารกแต่กำเนิด (ผล)
3. ยอดอ่อนและผลอ่อนสามารถใช้รับประทานได้ แถมยังประกอบไปด้วยวิตามินและกรดอะมิโนที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด เช่น แคลเซียมที่มีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและฟันให้แข็งแรง
4. ผลสามารถนำมาหั่นเป็นฝอยหรือสไลซ์เป็นแผ่นใช้ผัดกับไข่ได้ หรือใช้ผัดกับน้ำมัน หรือจะนำมาตำส้มตำใช้แทนมะละกอได้ เพราะมีเนื้อกรอบหวาน
5. เมนูฟักแม้ว ยอดอ่อนฟักแม้วสามารถนำมาต้มกินกับน้ำพริก ใช้ทำต้มจืด แกงเลียง ก๋วยเตี๋ยวราดหน้า ผัดกับหมู ผัดน้ำมันหอย ลาบ ยำยอดฟักแม้ว แต่ส่วนใหญ่แล้วจะนำมาผัดน้ำมันหอย
6. รากฟักแม้วส่วนใหญ่แล้วจะประกอบด้วยแป้ง สามารถนำมาใช้ต้มหรือผัดเพื่อรับประทานได้
7. ปกติแล้วจะนิยมใช้ส่วนของผล ใบ และรากเพื่อประกอบอาหาร แต่ลำต้นและเมล็ดก็สามารถรับประทานได้เช่นกัน เพียงแต่ไม่เป็นที่นิยม
8. รากฟักแม้วสามารถนำมาใช้เป็นอาหารสัตว์ได้

คำแนะนำ

1. เคล็ดลับในการปรุงฟักแม้ว หรือมะระหวาน คือการปอกเปลือก และล้างยางออกให้หมด ก่อนนำไปปรุงให้สุกโดยผ่านความร้อนอย่างรวดเร็ว อย่าให้สุกเละจนเกินไป เพราะยิ่งต้ม ยิ่งผัดนาน ก็จะยิ่งเสียรสชาติ และสูญเสียคุณค่าทางสารอาหาร

Chayote1.png Chayote2.png Chayote3.png Chayote4.png

แหล่งที่มาของภาพ
https://health.mthai.com/app/uploads/2019/08/Chayote.jpg
https://medthai.com/images/2013/09/ต้นฟักแม้ว.jpg
https://medthai.com/images/2013/09/ใบฟักแม้ว.jpg
https://medthai.com/images/2013/09/ดอกฟักแม้ว.jpg
https://medthai.com/images/2013/09/มะระหวาน.jpg