ผลต่างระหว่างรุ่นของ "หญ้าหวาน"
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) ล (ล็อก "หญ้าหวาน" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแล...) |
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) |
||
แถว 33: | แถว 33: | ||
:::5. ผู้บริโภคหญ้าหวานบางรายอาจเกิดอาการท้องอืด คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือชาตามร่างกายได้ | :::5. ผู้บริโภคหญ้าหวานบางรายอาจเกิดอาการท้องอืด คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือชาตามร่างกายได้ | ||
:::6. มีข้อกังวลว่าหญ้าหวานดิบอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อไต ระบบสืบพันธุ์ ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงทำปฏิกิริยากับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำเกินไป | :::6. มีข้อกังวลว่าหญ้าหวานดิบอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อไต ระบบสืบพันธุ์ ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงทำปฏิกิริยากับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำเกินไป | ||
− | :::7. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของหญ้าหวานและน้ำตาลแอลกอฮอล์อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารในผู้บริโภคบางรายได้ เช่น ท้องอืด ท้องร่วง เป็นต้น | + | :::7. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของหญ้าหวานและน้ำตาลแอลกอฮอล์อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารในผู้บริโภคบางรายได้ เช่น ท้องอืด ท้องร่วง เป็นต้น <br><br> |
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br> | ||
+ | [[File:youtu.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=E5y2bb6uNlo|link=https://www.youtube.com/watch?v=E5y2bb6uNlo]] | ||
+ | >>> [https://www.youtube.com/watch?v=E5y2bb6uNlo หญ้าหวาน] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:stevia1.png]] [[ไฟล์:stevia2.png]] [[ไฟล์:stevia3.png]] [[ไฟล์:stevia4.png]] </center> | <center>[[ไฟล์:stevia1.png]] [[ไฟล์:stevia2.png]] [[ไฟล์:stevia3.png]] [[ไฟล์:stevia4.png]] </center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 08:49, 9 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : ASTERACEAE หรือ COMPOSITAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stevia rebaudiana (Bertoni) Bertoni
ชื่อสามัญ : Stevia
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : -
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นพืชล้มลุกอายุประมาณ 3 ปี ลักษณะเป็นพุ่มเตี้ย มีความสูงประมาณ 30 - 90 เซนติเมตร มีลำต้นแข็งและกลม ลักษณะทั่วไปคล้ายต้นโหระพา
ใบ : เป็นใบเดี่ยว ลักษณะของใบคล้ายรูปหอกหัวกลับ ขอบใบหยักคล้ายฟันเลื่อย มีรสหวานมาก ใช้แทนน้ำตาลได้
ดอก : ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง ดอกมีสีขาว ดอกเล็ก กลีบเป็นรูปไข่สีขาวเล็กมาก มีเกสรตัวผู้เป็นสีขาวงอไปมา ยื่นออกมาเล็กน้อย
ผล : เป็นผลแห้งขนาดเล็ก ไม่ปริแตก ภายในมีเมล็ดเดี่ยวจำนวนมาก เมล็ดสีดำ มีขนปุยปกคลุม
การขยายพันธุ์ : การใช้เมล็ดและการใช้กิ่งชำปลูก
สรรพคุณ
- 1. สมุนไพรหญ้าหวานช่วยเพิ่มกำลังวังชา
- 2. ช่วยให้เลือดไปเลี้ยงสมองมากขึ้น
- 3. ช่วยในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
- 4. ช่วยลดไขมันในเลือดสูง
- 5. ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง และโรคอ้วน
- 6. ช่วยบำรุงตับ
- 7. ช่วยสมานแผลทั้งภายในและภายนอก
ประโยชน์
- 1. ช่วยเพิ่มการรับประทานอาหารและช่วยลดความขมในอาหารได้
- 2. ใช้เป็นสารให้ความหวานแทนน้ำตาล โดยไม่ทำให้น้ำตาลในเลือดสูง
- 3. หญ้าหวานทางเลือกของคนอ้วน ให้ความหวานเหมือนน้ำตาล แต่ไม่ให้พลังงาน รับประทานเท่าไหร่ก็ไม่อ้วน จึงช่วยในการควบคุมน้ำหนักได้เป็นอย่างดี
- 4. มีการนำหญ้าหวานไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปต่าง ๆ โดยปัจจุบันนิยมบริโภคหญ้าหวานอยู่ด้วยกัน 5 รูปแบบ โดยเรียงลำดับจากมากไปน้อย ได้แก่ ใบอบแห้ง, ใบแห้งบดสำหรับชงแบบสำเร็จรูป (ชาหญ้าหวาน), ใบสด, ใบแห้งบดสำหรับใช้แทนน้ำตาล (หญ้าหวานผง), และแบบสารสกัดจากใบแห้งด้วยน้ำ โดยจะนิยมนำมาชงเป็นชาดื่ม รองลงมาก็คือ การนำมาต้มและเคี้ยว แต่จะไม่ค่อยนิยมนำมาบริโภคในแบบผสมกับอาหารเท่าใดนัก
- 5. มีการนำสารสกัดจากหญ้าหวานมาใช้แทนน้ำตาล หรือใช้ทดแทนน้ำตาลบางส่วน เพราะสารสตีวิโอไซด์นั้นมีความทนทานต่อกรดและความร้อนได้เป็นอย่างดี จึงสามารถนำมาใช้ในอาหารและเครื่องดื่มต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย เช่น น้ำอัดลม น้ำชาเขียว ขนมเบเกอรี แยม เยลลี ไอศกรีม ลูกอม หมากฝรั่ง ซอสปรุงรส ฯลฯ (ล่าสุดได้ยินมาว่าเครื่องดื่มแบรนด์ดังอย่างโคคา โคล่า ก็ได้มีจดสิทธิบัตรและได้ทำการผลิตโดยใช้สารสกัดนี้แล้วเหมือนกัน แต่ยังไม่เห็นจำหน่ายในไทย ซึ่งถ้ามีมาเมื่อไหร่ก็ถือเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ไม่อยากดื่มน้ำตาลเป็นซอง ๆ)
- 6. ในอุตสาหกรรมอาหาร สารสกัดจากหญ้าหวานถือว่ามีข้อดีหลายอย่าง เช่น การไม่ถูกย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ เมื่อนำมาใช้กับอาหารจึงไม่ทำให้อาหารเกิดเน่าบูด ไม่ทำให้อาหารเกิดสีน้ำตาลเมื่อผ่านความร้อนสูง ๆ และที่สำคัญก็คือ จะไม่ถูกดูดซึมในระบบย่อยอาหาร จึงเหมาะอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิต และโรคหัวใจ
- 7. สารสตีวิโอไซด์ นอกจากจะใช้ในอาหารและเครื่องดื่มแล้ว ปัจจุบันยังมีการนำไปใช้แทนน้ำตาลในการผลิตยาสีฟันอีกด้วย
คำแนะนำ
- 1. สตรีมีครรภ์และผู้ที่ให้นมบุตรควรเลี่ยงบริโภคหญ้าหวาน เนื่องจากยังไม่ปรากฏข้อมูลเพียงพอที่จะยืนยันความปลอดภัยในการใช้หญ้าหวานระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร
- 2. เลี่ยงบริโภคหญ้าหวานในกรณีที่แพ้พืชตระกูลเดียวกับหญ้าหวาน เช่น ดอกเบญจมาศ ดาวเรือง เป็นต้น เนื่องจากผู้ที่แพ้พืชเหล่านี้อาจเสี่ยงมีอาการแพ้หญ้าหวานได้เช่นกัน
- 3. ผู้ป่วยเบาหวานที่รับประทานหญ้าหวานควรหมั่นตรวจวัดระดับน้ำตาลในเลือด รวมทั้งปรึกษาแพทย์ทันทีหากมีอาการผิดปกติใด ๆ เนื่องจากหญ้าหวานหรือผลิตภัณฑ์ที่มีสารสกัดจากหญ้าหวานอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำเกินไปได้
- 4. ผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตต่ำควรปรึกษาแพทย์ก่อนรับประทานหญ้าหวานหรือผลิตภัณฑ์ที่ผสมสารสกัดจากหญ้าหวาน เนื่องจากอาจทำให้ความดันโลหิตลดต่ำจนเกินไป
- 5. ผู้บริโภคหญ้าหวานบางรายอาจเกิดอาการท้องอืด คลื่นไส้ วิงเวียนศีรษะ ปวดกล้ามเนื้อ หรือชาตามร่างกายได้
- 6. มีข้อกังวลว่าหญ้าหวานดิบอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงต่อไต ระบบสืบพันธุ์ ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมถึงทำปฏิกิริยากับยาลดระดับน้ำตาลในเลือด และส่งผลให้ความดันโลหิตลดต่ำเกินไป
- 7. ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของหญ้าหวานและน้ำตาลแอลกอฮอล์อาจก่อให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหารในผู้บริโภคบางรายได้ เช่น ท้องอืด ท้องร่วง เป็นต้น
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> หญ้าหวาน <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://medthai.com/images/2013/09/ใบหญ้าหวาน.jpg
https://medthai.com/images/2013/09/ต้นหญ้าหวาน.jpg
https://medthai.com/images/2013/09/สมุนไพรหญ้าหวาน.jpg
https://medthai.com/images/2013/09/ดอกหญ้าหวาน.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2017/04/เมล็ดหญ้าหวาน.jpg