ผลต่างระหว่างรุ่นของ "มะเกี๋ยง"
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) (สร้างหน้าด้วย "right '''วงศ์''' : MYRTACEAE <br> '''ชื่อวิทยาศาสตร์''' : ''Cleistocalyx nervosum var....") |
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) |
||
(ไม่แสดง 1 รุ่นระหว่างกลางโดยผู้ใช้คนเดียวกัน) | |||
แถว 43: | แถว 43: | ||
:::10. ต้นมะเกี๋ยงตามป่าหรือหัวไร่ปลายนาเป็นประโยชน์ต่อสัตว์ป่าในด้านเป็นแหล่งอาหารสำคัญ<br><br> | :::10. ต้นมะเกี๋ยงตามป่าหรือหัวไร่ปลายนาเป็นประโยชน์ต่อสัตว์ป่าในด้านเป็นแหล่งอาหารสำคัญ<br><br> | ||
'''คำแนะนำ''' <br> | '''คำแนะนำ''' <br> | ||
− | :::1. สำหรับการรับประทานผลสุกแบบสดๆ ของมะเกี๋ยง หรือรับประทานในรูปแบบอาหารน่าจะมีประโยชน์และความปลอดภัยมากกว่าการบริโภคแบบแปรรูปอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม หากรับประทานมากจนเกินไปอาจทำให้ท้องเสีย หรือท้องเดินได้ เพราะผลสุกของมะเกี๋ยงมีรสเปรี้ยวผสมอยู่ ส่วนการรับประทานเพื่อหวังผลในการรักษาป้องกันโรค ควรรับประทานแต่พอดี ไม่ควรใช้เกินขนาดที่ระบุไว้ในตำรายาต่างๆ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพาะอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ | + | :::1. สำหรับการรับประทานผลสุกแบบสดๆ ของมะเกี๋ยง หรือรับประทานในรูปแบบอาหารน่าจะมีประโยชน์และความปลอดภัยมากกว่าการบริโภคแบบแปรรูปอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม หากรับประทานมากจนเกินไปอาจทำให้ท้องเสีย หรือท้องเดินได้ เพราะผลสุกของมะเกี๋ยงมีรสเปรี้ยวผสมอยู่ ส่วนการรับประทานเพื่อหวังผลในการรักษาป้องกันโรค ควรรับประทานแต่พอดี ไม่ควรใช้เกินขนาดที่ระบุไว้ในตำรายาต่างๆ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพาะอาจส่งผลต่อสุขภาพได้ <br><br> |
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br> | ||
+ | [[File:youtu.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=8vjukC7dEJ0|link=https://www.youtube.com/watch?v=8vjukC7dEJ0]] | ||
+ | >>> [https://www.youtube.com/watch?v=8vjukC7dEJ0 มะเกี๋ยง] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:sunrose1.png]] [[ไฟล์:sunrose2.png]] [[ไฟล์:sunrose3.png]] [[ไฟล์:sunrose4.png]] </center> | <center>[[ไฟล์:sunrose1.png]] [[ไฟล์:sunrose2.png]] [[ไฟล์:sunrose3.png]] [[ไฟล์:sunrose4.png]] </center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 21:42, 8 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : MYRTACEAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Cleistocalyx nervosum var. paniala
ชื่อสามัญ : Sunrose Willow, Creeping Water Primrose
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : หว้าน้ำ, หว้าส้ม
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลางถึงใหญ่ ลำต้นสูงประมาณ 10 - 15 เมตร หรือมากกว่า ขนาดลำต้นเมื่อมีอายุมากจะมีขนาดเส้นรอบวงได้ถึง 1.5 เมตร ลำต้นแตกกิ่งมาก เปลือกลำต้นมีสีเทาหรือน้ำตาลอมเทา เปลือกแก่ด้านนอกหลุดล่อนออกเป็นแผ่น เมื่อใช้มีดสับเปลือกด้านในจะมีสีน้ำตาลอมชมพู แต่เมื่อแห้งจะมีสีน้ำตาล ส่วนเนื้อไม้ค่อนข้างแข็ง มีสีขาวนวลหรือเหลืองอ่อน และมีเสี้ยนค่อนข้างมาก
ใบ : ออกเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันเป็นคู่บนกิ่งย่อย จำนวน 4 - 6 คู่ ในแต่ละกิ่งย่อย ใบมีรูปรีถึงรูปหอก ขนาดใบกว้าง 8 - 10 เซนติเมตร ยาว 15 - 25 เซนติเมตร แผ่นใบ และขอบใบเรียบ ใบมีลักษณะเป็นคลื่น และเป็นมันเล็กน้อย แผ่นใบด้านบนมีสีเขียวเข้ม ส่วนด้านล่างมีสีเขียวอ่อน ก้านใบยาว 1.5 - 3 เซนติเมตร มีเส้นกลางใบด้านบนเป็นร่องตื้น ส่วนเส้นกลางใบด้านล่างนูนขึ้น มีเส้นแขนงใบแยกออกซ้ายขวาสลับกัน ข้างละ 7 - 15 เส้น ภายในใบมีจุดสีเหลืองกระจายไปทั่ว ใบอ่อน มีสีเขียวอมแดง ใบแก่มีสีเขียว
ดอก : เป็นดอกสมบูรณ์เพศ แทงออกเป็นช่อ บริเวณปลายกิ่ง แต่ละกิ่งมีจำนวน 5 - 15 ช่อดอก ช่อดอกยาว 5 - 10 เซนติเมตร ช่อดอกมีดอกประมาณ 20 - 80 ดอก ดอกมีสีขาวอมเหลือง มีกลีบเลี้ยง 4 กลีบ และมีกลีบดอก 4 กลีบ ขนาด 0.35 - 0.45 เซนติเมตรมีเกสรตัวผู้ประมาณ 150 - 300 อัน มีรังไข่อยู่บริเวณฐานดอก ดอกมะเกี๋ยงจะเริ่มออกดอกในช่วงเดือนกุมภาพันธ์-มีนาคม ซึ่งเป็นช่วงหลังที่มีการแตกใบใหม่ และดอกจะบานหลังจากแทงตาดอกประมาณ 2 เดือน
ผล : มีลักษณะเป็นรูปไข่คล้ายผลหว้า แต่เล็ก และป้อมกว่าเล็กน้อย ผลมีเปลือกบาง ผลอ่อนมีสีเขียวอมเหลือง และค่อยๆเปลี่ยนเป็นสีเหลืองอมชมพู ต่อมาเป็นสีแดงเมื่อห่าม เมื่อสุกเป็นสีแดงม่วง และสุกมากเป็นสีดำ ขนาดผลประมาณ 1 - 2 เซนติเมตร ยาวประมาณ 1.5 - 2.5 เซนติเมตร เนื้อผลมีสีขาว หนาประมาณ 3 - 5 มิลลิเมตร เมื่อรับประทานจะให้รสเปรี้ยวอมฟาดเล็กน้อย และมีกลิ่นหอม ตรงกลางผลมีเมล็ด 1 เมล็ด ผลมะเกี๋ยงเริ่มสุก หลังดอกบาน ประมาณเกือบ 3 เดือน และสามารถเก็บผลได้ในช่วงเดือนมิถุนายน-กันยายน มีผลต่อช่อประมาณ 5 - 10 ผล และจะเริ่มติดผลได้เมื่อต้นมีอายุประมาณ 3 - 5 ปี
การขยายพันธุ์ : ได้โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง แต่ในปัจจุบันนิยมใช้วิธีเพาะเมล็ดมากกว่า เพราะมะเกี๋ยงเป็นไม้ยืนต้นที่มีความสูงกว่า 10 เมตร ผู้ที่ปลูกจึงต้องการให้ต้นมะเกี๋ยงมีรากแก้วที่ยึดเกาะแน่นไม่ล้มง่าย ส่วนวิธีการปลูกก็สามารถทำได้ เช่นเดียวกับการปลูกไม้ยืนต้นชนิดอื่นๆ
สรรพคุณ
- 1. สารในกลุ่มต่างของผลมะเกี๋ยงออกฤทธิ์จับกับสารกระตุ้นการเกิดมะเร็ง ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งได้
- 2. สารสกัดจากผลมะเกี๋ยงช่วยในการลดริ้วรอย ลดฝ้า และจุดด่างดำ การใช้ง่ายๆด้วยการนำผลมะเกี๋ยงมาฝานเป็นแผ่นใช้ทาบริเวณจุดด่างดำเป็นประจำ
- 3. ผลมะเกี๋ยงมีสารต้านอนุมูลอิสระจำนวนมาก ช่วยลดการเสื่อมของเซลล์ ช่วยชะลอความแก่
- 4. ผลมะเกี๋ยงมีแคลเซียมสูง ช่วยป้องกันโรคกระดูกพรุน และช่วยให้ฟันแข็งแรง
- 5. แคลเซียมช่วยควบคุมการหดตัว ลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อ
- 6. แคลเซียมช่วยการทำงานของหัวใจให้เป็นปกติ
- 7. วิตามินเอ ช่วยบำรุงสายตา
- 8. วิตามินบี 1 ช่วยบำรุงประสาท และป้องกันโรคเหน็บชา
- 9. วิตามินบี 2 ช่วยป้องกันโรคปากนกกระจอก
- 10. วิตามินอีช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรคหัวใจ
- 11. วิตามินอีช่วยป้องกันโรคต้อกระจก
- 12. วิตามินอีช่วยป้องกันโรคข้ออักเสบ ชะลอการแก่ก่อนวัย
- 13. วิตามินอีป้องกันโรคพาร์กินสัน
- 14. วิตามินอีช่วยกระตุ้นการทำงานของระบบเซลล์ประสาท
- 15. วิตามินอีช่วยให้เลือดแข็งตัว
- 16. วิตามินซีเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกันให้ทำงานผิดปกติ
- 17. วิตามินซีช่วยป้องกันการเป็นโรคลักปิดลักเปิด
- 18. นำเปลือกมาต้มน้ำดื่มแก้อาการท้องเสีย
- 19. น้ำต้มจากเปลือกใช้อาบแก้โรคผิวหนัง
- 20. นำเปลือกที่ถากจากต้นใหม่ๆทาแผล ช่วยรักษาแผลให้หายเร็ว
ประโยชน์
- 1. ผลมะเกี๋ยงใช้รับประทานเป็นผลไม้ ให้รสเปรี้ยวอมหวาน
- 2. ผลดิบมะเกี๋ยงนำมาใส่อาหารประเภทต้มยำ ให้รสเปรี้ยวจัดจ้าน
- 3. ผลมะเกี๋ยงใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร
- 4. ผลมะเกี๋ยงใช้สกัดทำสีผสมอาหาร ซึ่งให้สีม่วงแดง
- 5. ใบมะเกี๋ยงนำมาต้มเป็นน้ำย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้ม
- 6. เปลือกมะเกี๋ยงนำมาต้มน้ำย้อมผ้า ให้สีน้ำตาลอมแดง
- 7. เมล็ดมะเกี๋ยงใช้สกัดน้ำมันสำหรับใช้ประกอบอาหารหรือใช้เป็นส่วนผสมเครื่องสำอาง และน้ำหอม
- 8. เนื้อไม้มะเกี๋ยงมีลักษณะค่อนข้างแข็ง ใช้แปรรูปเป็นไม้ปูพื้น ไม้ชายคา ไม่วงกบ รวมถึงแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ต่างๆ
- 9. กิ่งนำมาทำเป็นฟืน
- 10. ต้นมะเกี๋ยงตามป่าหรือหัวไร่ปลายนาเป็นประโยชน์ต่อสัตว์ป่าในด้านเป็นแหล่งอาหารสำคัญ
คำแนะนำ
- 1. สำหรับการรับประทานผลสุกแบบสดๆ ของมะเกี๋ยง หรือรับประทานในรูปแบบอาหารน่าจะมีประโยชน์และความปลอดภัยมากกว่าการบริโภคแบบแปรรูปอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม หากรับประทานมากจนเกินไปอาจทำให้ท้องเสีย หรือท้องเดินได้ เพราะผลสุกของมะเกี๋ยงมีรสเปรี้ยวผสมอยู่ ส่วนการรับประทานเพื่อหวังผลในการรักษาป้องกันโรค ควรรับประทานแต่พอดี ไม่ควรใช้เกินขนาดที่ระบุไว้ในตำรายาต่างๆ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพาะอาจส่งผลต่อสุขภาพได้
- 1. สำหรับการรับประทานผลสุกแบบสดๆ ของมะเกี๋ยง หรือรับประทานในรูปแบบอาหารน่าจะมีประโยชน์และความปลอดภัยมากกว่าการบริโภคแบบแปรรูปอื่น ๆ แต่อย่างไรก็ตาม หากรับประทานมากจนเกินไปอาจทำให้ท้องเสีย หรือท้องเดินได้ เพราะผลสุกของมะเกี๋ยงมีรสเปรี้ยวผสมอยู่ ส่วนการรับประทานเพื่อหวังผลในการรักษาป้องกันโรค ควรรับประทานแต่พอดี ไม่ควรใช้เกินขนาดที่ระบุไว้ในตำรายาต่างๆ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานานจนเกินไปเพาะอาจส่งผลต่อสุขภาพได้
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> มะเกี๋ยง <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/06/มะเก๋ยง.png
https://f.ptcdn.info/311/043/000/o8cjpfmtvQ116wTPbE5-o.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/06/ใบมะเกี๋ยง.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/06/ดอกมะเกี๋ยง.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/06/ผลมะเกี๋ยง.jpg