ผลต่างระหว่างรุ่นของ "โสน"
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) ล (ล็อก "โสน" ([แก้ไข=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (ไม่มีกำหนด) [เปลี่ยนชื่อ=อนุญาตเฉพาะผู้ดูแลระบบ] (...) |
Herb (พูดคุย | เรื่องที่เขียน) |
||
แถว 29: | แถว 29: | ||
:::7. ในปัจจุบันได้มีการนำใบและดอกโสนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ '''ชาดอกโสน''' และ'''ชาจากยอดใบโสน''' เนื่องจากดอกโสนมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เมื่อนำมาทำชา ก็ได้ชาที่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ให้รสชาติอ่อนนุ่ม โดยสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง หรือนำไปพัฒนาและผลิตเป็นสินค้าประจำท้องถิ่นก็ได้ โดยชาดอกโสน สามารทำได้โดยการนำดอกโสนไปอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วนำมาบรรจุซองในปริมาณ 3 กรัมต่อซอง (ถ้าบดละเอียดจะใช้ 2 กรัมต่อซอง) ส่วนยอดใบโสนนั้นพบว่ามีวิตามินเอสูง ชาที่ได้จะมีกลิ่นหอมเข้มกว่าชาดอกโสน วิธีการทำก็คือให้นำใบมาคั่วไฟกลางครั้งละ 50 กรัม ประมาณ 20 นาที แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง บรรจุในซองขนาด 3 กรัมต่อซอง <br><br> | :::7. ในปัจจุบันได้มีการนำใบและดอกโสนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ '''ชาดอกโสน''' และ'''ชาจากยอดใบโสน''' เนื่องจากดอกโสนมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เมื่อนำมาทำชา ก็ได้ชาที่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ให้รสชาติอ่อนนุ่ม โดยสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง หรือนำไปพัฒนาและผลิตเป็นสินค้าประจำท้องถิ่นก็ได้ โดยชาดอกโสน สามารทำได้โดยการนำดอกโสนไปอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วนำมาบรรจุซองในปริมาณ 3 กรัมต่อซอง (ถ้าบดละเอียดจะใช้ 2 กรัมต่อซอง) ส่วนยอดใบโสนนั้นพบว่ามีวิตามินเอสูง ชาที่ได้จะมีกลิ่นหอมเข้มกว่าชาดอกโสน วิธีการทำก็คือให้นำใบมาคั่วไฟกลางครั้งละ 50 กรัม ประมาณ 20 นาที แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง บรรจุในซองขนาด 3 กรัมต่อซอง <br><br> | ||
'''คำแนะนำ''' <br> | '''คำแนะนำ''' <br> | ||
− | :::1. ดอกและยอดอ่อน สามารถรับประทานเป็นผักสดหรือลวกรับประทานกับน้ำพริก หรือใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้ม ผัดน้ำมัน หรือใช้ทำเป็นขนม ที่เรียกว่า ขนมดอกโสน | + | :::1. ดอกและยอดอ่อน สามารถรับประทานเป็นผักสดหรือลวกรับประทานกับน้ำพริก หรือใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้ม ผัดน้ำมัน หรือใช้ทำเป็นขนม ที่เรียกว่า ขนมดอกโสน <br><br> |
+ | '''ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม'''<br> | ||
+ | [[File:youtu.png|left|https://www.youtube.com/watch?v=3qnAMTh0yqA|link=https://www.youtube.com/watch?v=3qnAMTh0yqA]] | ||
+ | >>> [https://www.youtube.com/watch?v=3qnAMTh0yqA โสน] <<< <br><br> | ||
---- | ---- | ||
<center>[[ไฟล์:sesbania1.png]] [[ไฟล์:sesbania2.png]] [[ไฟล์:sesbania3.png]] [[ไฟล์:sesbania4.png]] </center> | <center>[[ไฟล์:sesbania1.png]] [[ไฟล์:sesbania2.png]] [[ไฟล์:sesbania3.png]] [[ไฟล์:sesbania4.png]] </center> |
รุ่นปัจจุบัน เมื่อ 08:33, 9 กุมภาพันธ์ 2563
วงศ์ : FABACEAE หรือ LEGUMINOSAE
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Sesbania javanica Miq.
ชื่อสามัญ : Sesbania, Sesbanea pea, Sesbania flowers
ชื่อพื้นเมืองหรือชื่ออื่น ๆ : ผักฮองแฮง, โสนกินดอก, โสนหิน, โสนดอกเหลือง, สี่ปรีหลา
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น : จัดเป็นไม้พุ่มหรือไม้ล้มลุกขนาดเล็ก มีอายุ 1 ปี มีความสูงของต้นได้ประมาณ 1 - 4 เมตร เปลือกลำต้นเรียบ เป็นเหลี่ยมหรือมีร่องละเอียดตามความยาวของลำต้น เนื้อไม้อ่อนและกลวง
ใบ : เป็นใบประกอบแบบขนนก ออกเรียงสลับบนลำต้น แต่ละช่อใบจะมีใบย่อยประมาณ 10 - 30 คู่ ลักษณะของใบย่อยเป็นรูปกลมหรือรูปรีแกมขอบขนาน ปลายใบมน โคนใบมน ส่วนขอบใบเรียบ ใบมีขนาดกว้างยาวประมาณ
2 - 4 มิลลิเมตร และกว้างประมาณ 1.2 - 2.5 มิลลิเมตร แผ่นใบเป็นสีเขียว หลังใบและท้องใบเรียบ ที่โคนก้านใบมีหนามแหลมยาว 2 อัน
ดอก : ออกดอกเป็นช่อเชิงลดหรือเป็นช่อกระจุก โดยจะออกตามซอกใบ ซอกกิ่ง และปลายกิ่ง ช่อดอกยาวได้ประมาณ 10 เซนติเมตร มีดอกย่อยประมาณ 5 - 12 ดอกต่อช่อ ดอกย่อยเป็นสีเหลือง ยาวประมาณ 2.5 เซนติเมตร มีกลีบดอก 5 กลีบ บางครั้งกลีบด้านนอกมีจุดกระสีน้ำตาลหรือสีม่วงแดงกระจายทั่วไป กลีบเลี้ยงดอกเป็นสีเขียว โคนกลีบเชื่อมติดกัน ดอกโสนจะออกดอกมากในช่วงปลายฤดูฝนประมาณช่วงเดือนกันยายนถึงเดือนตุลาคม
ผล : มีลักษณะเป็นฝักกลมยาวขนาดเล็ก ฝักอ่อนเป็นสีเขียว เมื่อแก่จะกลายเป็นสีม่วงและสีน้ำตาล พอฝักแก่จะแตกออกเองตามขวางของฝัก ฝักมีขนาดกว้างประมาณ 4 มิลลิเมตร และยาวประมาณ 18 - 20 เซนติเมตร ภายในมีเมล็ดขนาดเล็กหลายเมล็ดเรียงอยู่ภายใน เมล็ดมีลักษณะเป็นรูปทรงกลม เป็นมันเงาสีน้ำตาล มีขนาดประมาณ 0.05 เซนติเมตร เมื่อต้นโสนออกดอกและติดเมล็ดแล้วต้นโสนจะค่อย ๆ แห้งเหี่ยวและตายไปในที่สุด
การขยายพันธุ์ : ด้วยการปลูกเมล็ด เพราะโสนเป็นพืชปีเดียว และมีลำต้น และกิ่งเป็นไม้เนื้ออ่อนจึงขยายพันธุ์ด้วยวิธีอื่นยาก ทั้งนี้ การปลูกที่ได้ผล ควรเริ่มปลูกตั้งแต่ต้นฤดูฝน
สรรพคุณ
- 1. ดอกโสนมีรสจืด มัน เย็น มีสรรพคุณเป็นยาแก้พิษร้อน ถอนพิษไข้ (ดอก)
- 2. รากโสนมีรสจืด มีสรรพคุณเป็นยาแก้ร้อนในกระหายน้ำ (ราก)
- 3. ดอกมีสรรพคุณเป็นยาสมานลำไส้ (ดอก)
- 4. ใช้แก้อาการปวดมวนท้อง (ดอก)
- 5. ต้นโสนมีรสจืด แพทย์แผนโบราณจะนำต้นมาเผาให้เกรียม แล้วนำมาแช่น้ำให้เป็นด่าง ใช้ดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ (ต้น)
- 6. ใบใช้ตำเป็นยาพอกแผล ส่วนดอกก็สามารถนำมาปรุงเป็นยาพอกแผลได้เช่นกัน (ใบ)
- 7. ใบโสนมีรสจืดเย็น นำมาตำผสมกับดินประสิวและดินสอพอง ใช้เป็นยาพอกแก้ปวดฝี ช่วยถอนพิษ (ใบ)
- 8. ดอกใช้เป็นยาถอนพิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย (ดอก)
ประโยชน์
- 1. ดอกโสนมีรสออกหวานเล็กน้อย นิยมใช้รับประทานเป็นผักหรือนำมาใช้ประกอบหรือทำอาหารคาวหวานรับประทาน เมนูดอกโสน ที่นิยมกันมาก ได้แก่ ดอกโสนผัด ดอกโสนผัดน้ำมันหอย ดอกโสนผัดไข่ ไข่เจียวดอกโสน ดอกโสนลวกจิ้มกับน้ำพริกกะปิกินกับปลาทู ดอกโสนจิ้มน้ำพริกมะนาว ดอกโสนชุบแป้งทอดกรอบกินกับขนมจีนน้ำพริก ยำดอกโสน ดอกโสนดองน้ำเกลือ แกงส้มดอกโสนกับปลาช่อน ดอกโสนแกงใส่ไข่มดแดง หรือแกงเผ็ดอะไรก็ได้ใส่ดอกโสน แต่ถ้าใช้ประกอบอาหารหวานก็จะมีข้าวเหนียวมูนดอกโสน ขนมดอกโสน ขนมขี้หนู ขนมบัวลอย เป็นต้น
- 2. ในทางโภชนาการพบว่า ดอกโสนจะอุดมไปด้วยแคลเซียมและฟอสฟอรัสที่มีส่วนช่วยบำรุงกระดูกและสมอง มีธาตุเหล็กที่ช่วยบำรุงโลหิต มีวิตามินเอที่ช่วยต่อต้านโรคภัยไข้เจ็บต่าง ๆ มีวิตามินบี 1 วิตามินบี 2 วิตามินบี 3 และวิตามินซี อีกพอสมควร ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายอย่างมาก โดยคุณค่าทางโภชนาการของดอกโสน ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 38 กิโลแคลอรี, ไขมัน 0.5 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 5.9 กรัม, โปรตีน 2.5 กรัม, ใยอาหาร 2.2 กรัม, ความชื้น 87.7 กรัม, วิตามินเอ 3,338 หน่วยสากล, วิตามินบี 1 0.13 มิลลิกรัม, วิตามินบี 2 0.26 มิลลิกรัม, วิตามินซี 51 มิลลิกรัม แคลเซียม 62 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 2.1 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 62 มิลลิกรัม
- 3. จากงานวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล ที่พบว่า ดอกโสนมีสารเควอเซทิน ไกลโคไซด์ (Quercetin 3 - 2 (G)-rhamnosylrutinoside) ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญและเป็นสารฟลาโวนอยด์ที่สำคัญ โดยมีฤทธิ์ต้านการก่อกลายพันธุ์ในเซลล์เพาะเลี้ยงในห้องทดลอง จากการศึกษาฤทธิ์ทางชีวภาพของสารชนิดนี้พบว่า เควอเซทินมีฤทธิ์กระตุ้นให้เซลล์มะเร็งตายด้วยกระบวนการอะพ็อปโทซิส (apoptosis) ช่วยหยุดยั้งการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ช่วยระงับการอักเสบ และช่วยป้องกันอันตรายของเซลล์ปกติต่อความเครียดจากกระบวนการต้านอนุมูลอิสระ
- 4. นอกจากนี้ยังนำมาใช้แต่งสีอาหารได้อีกด้วย โดยจะให้สีเหลือง ซึ่งเป็นสารแคโรทีนอยด์ (caiotenoid) โดยวิธีการเตรียมสีเหลืองจากดอกโสน ก็ให้นำดอกโสนสดที่ล้างสะอาดแล้วมาบดหรือโม่ผสมกับแป้งที่จะใช้ทำขนม จะทำให้ได้แป้งสีเหลืองที่มีกลิ่นหอม แล้วจึงนำแป้งที่ได้ไปใช้ทำขนมต่าง ๆ
- 5. เนื้อไม้ของต้นโสนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมได้หลายอย่าง โดยไม้โสนจะใช้ทำเป็นของเล่นเด็กมาตั้งแต่โบราณ ส่วนเยื่อไม้ที่มีลักษณะเบา บาง และเหนียว ก็นำมาประดิษฐ์ทำเป็นดอกไม้ได้อย่างประณีตและงดงาม (ดอกไม้ประดิษฐ์จากต้นโสน หรือ ดอกไม้จากต้นโสน) การใช้ไม้โสนมาประดิษฐ์เป็นดอกไม้นั้นมีสืบทอดมาตั้งแต่อดีตแล้ว และในปัจจุบันชาวอยุธยาจะใช้เนื้อไม้จากต้นโสน (ชนิดลำต้นใหญ่ คนละชนิดกับโสนกินดอก) มาประดิษฐ์เป็นดอกไม้หลายรูปแบบด้วยกัน เช่น ดอกกุหลาบ ดอกจำปา ดอกมะลิ ฯลฯ เพื่อเป็นรายได้เสริมให้กับชาวบ้านในท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง
- 6. ไม้โสนยังสามารถนำมาใช้เป็นทุ่นหรือเชื้อติดไฟได้ดี
- 7. ในปัจจุบันได้มีการนำใบและดอกโสนมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพ โดยเป็นผลิตภัณฑ์ 2 ชนิด คือ ชาดอกโสน และชาจากยอดใบโสน เนื่องจากดอกโสนมีสารต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด เมื่อนำมาทำชา ก็ได้ชาที่มีกลิ่นหอมอ่อน ๆ ให้รสชาติอ่อนนุ่ม โดยสามารถทำเองได้ง่าย ๆ ด้วยตัวเอง หรือนำไปพัฒนาและผลิตเป็นสินค้าประจำท้องถิ่นก็ได้ โดยชาดอกโสน สามารทำได้โดยการนำดอกโสนไปอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียสเป็นเวลา 2 ชั่วโมง แล้วนำมาบรรจุซองในปริมาณ 3 กรัมต่อซอง (ถ้าบดละเอียดจะใช้ 2 กรัมต่อซอง) ส่วนยอดใบโสนนั้นพบว่ามีวิตามินเอสูง ชาที่ได้จะมีกลิ่นหอมเข้มกว่าชาดอกโสน วิธีการทำก็คือให้นำใบมาคั่วไฟกลางครั้งละ 50 กรัม ประมาณ 20 นาที แล้วนำไปอบที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส เป็นเวลา 3 ชั่วโมง บรรจุในซองขนาด 3 กรัมต่อซอง
คำแนะนำ
- 1. ดอกและยอดอ่อน สามารถรับประทานเป็นผักสดหรือลวกรับประทานกับน้ำพริก หรือใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้ม ผัดน้ำมัน หรือใช้ทำเป็นขนม ที่เรียกว่า ขนมดอกโสน
- 1. ดอกและยอดอ่อน สามารถรับประทานเป็นผักสดหรือลวกรับประทานกับน้ำพริก หรือใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น แกงส้ม ผัดน้ำมัน หรือใช้ทำเป็นขนม ที่เรียกว่า ขนมดอกโสน
ลิงค์ข้อมูลเพิ่มเติม
>>> โสน <<<




แหล่งที่มาของภาพ
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/09/ดอกโสน.jpg
https://medthai.com/images/2014/10/ต้นโสน.jpg
https://medthai.com/images/2014/10/ใบโสน.jpg
https://puechkaset.com/wp-content/uploads/2016/09/โสน1.jpg
http://www.bansuanporpeang.com/files/images/user1235/7_104.JPG